กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Harmonic pattern – AB=CD

  • 0 replies
  • 761 views
Harmonic pattern – AB=CD
« เมื่อ: 30, สิงหาคม 2021, 02:11:37 PM »
Harmonic pattern – AB=CD

AB=CD เป็นรูปแบบแรกของ Harmonic pattern ที่ถือว่าง่ายเพราะเป็นรูปแบบที่เมื่อมองจาก Market structure ไม่ซับซ้อน แต่ต้องมีสายตาที่เปรียบเทียบหลักการของ Fibonacci Retracement และ Fibonacci Extension เมื่อมองที่ชาร์ตให้เห็นเป็นรูปแบบคร่าวๆ ว่าได้รูปแบบ ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า รูปแบบที่ตรงกับเงื่อนเลยทีเดียวนั้นนานๆ ค่อยจะเจอ ส่วนมากจะมีขาดมีเกินบ้าง สำหรับสัดส่วนของ Fibonacci  สำคัญในการกำหนดรูปแบบคือต้องเห็นภาพรวมของรูปแบบว่าเป็นรูปแบบเกิดขึ้นก่อน แล้วกำหนดความเป็นไปได้ ตามด้วย Price Action ยืนยันที่จุด Potential Reverse Zone (PRZ ) ค่อยเปิดเทรด

รูปแบบ AB=CD เป็นอย่างไร และเกี่ยวกับ Fibonacci Retracement และ Extension อย่างไร


อธิบายด้วยรูปแบบเพื่อให้เข้าใจหลักการของ AB=CD ก่อน  อย่างแรกเลย รูปแบบเหมือนกับรูปแบบ Chart patterns อื่นๆ คือมีรูปแบบที่เป็น Bearish AB=CD และ Bullish AB=CD แต่ส่วนประกอบอื่นๆ คือ 4 จุดกลับตัวราคา เหมือนกัน หรือ AB=CD และจุดระหว่างจุดกลับตัวพวกนี้ กำหนดเป็นขา หรือ Leg คือ AB leg, BC leg, และ CD leg เช่นเดียวกัน โดยที่ AB Leg จะเป็น Impulsive move นั่นเอง สำหรับกำหนด Fibonacci Retracement [ตรงส่วนนี้ต้องเข้าใจการนิยาม Impulsive move ประกอบคือ การที่ราคาได้เบรค High หรือ Low ด้วยแท่งเทียนยาวๆ และปิดหนือกว่า หรือต่ำกว่าได้]  ส่วนต่อมา BC leg คือส่วนที่เป็น Correction หรือ Retracement  ของ Impulsive move หรือ AB เราก็จะกำหนด Fibonacci Retracement ตรงนี้ เริ่มที่จุด A ลากไปจากที่จุด B  และค่า BC leg ควรจะอยู่ที่ค่า Fibonacci Retracement ราวๆ 61.8% ตามภาพประกอบ ต้องย่อไม่สามารถเบรค Low ตรงที่จุด A สำหรับ Bearish และเบรค High ที่จุด A สำหรับ Bullish พอจบ BC แล้วราคาก็สร้าง Impulsive move อีกตัวที่เกิน Low หรือ High ที่จุด B  เมื่อกำหนดเป็นเงื่อนไขสำหรับ AB=CD pattern ก็จะดังต่อไปนี้


  • AB leg ต้องกำหนดหรือหา Impulsive move ก่อนเพื่อกำหนด Fibonacci Retracement เพื่อรอจุดกลับตัว สำหรับ Bearish AB=CD  ตรงส่วนนี้ การใช้งานตามข้อกำหนดรูปแบบคือ  Fibonacci Retracement จากจุด Low ที่จุด A ขึ้นไปที่จุด High ตรงจุด B และสำหรับ Bullish AB=CD ก็จะเป็นการใช้ Fibonacci Retracement จากจุด High ที่ A ลงมาหาจุด Low ที่ B จะเห็นว่า AB leg ที่เป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบเป็นการหา Impulsive move ก่อนนั่นเอง
  • BC leg เป็นส่วน หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็น Corrective move ของ Impulsive move หรือส่วนที่เป็น Retracement ตรงส่วนนี้เป็นส่วนที่คาดหวังการโต้ตอบจบ Corrective move ที่ประมาณ 61.8% ของ Impulsive move ที่ AB leg นั่นเอง
  • CD leg เป็นอีก Impulsive move แต่การหาค่าตรงนี้จะเป็นการใช้ Fibonacci Extension ที่กำหนดจากจุด A, B และ C ต่อเนื่องกัน แล้วกำหนดเป็นส่วนขยายต่ออกมา  ต้องรอให้จบส่วนนี้ก่อนค่อยกำหนดพื้นที่ Potential Reverse Zone (PRZ) หรือพื้นที่ที่คิดว่าราคาจะกลับตัว ที่จะเป็นโอกาสเปิดเทรดตามรูปและ AB=CD แต่การเปิดเทรด แนะให้ดูรูปแบบ Price Action ประกอบด้วย

จะเห็นว่าสำหรับรูปแบบ AB=CD มีการใช้ Fibonacci ดังนี้ ค่า Fibonacci Retracement จะอยู่ที่ 61.8% ของ BC ที่เป็นผลการ Retracement ของ Impulsive move ที่ AB leg  และการใช้ Fibonacci Extension ที่ CD leg อยู่ที่ 127.2% ของ BC leg


รูปแบบ AB=CD บอกอะไร

ก่อนอื่นเมื่อมองที่ชาร์ตเปล่า ต้องรู้ว่าภาพที่เราต้องการเห็น อาจไม่ตรงเงื่อนไขเรื่องของ Fibonacci Ratios ทั้งหมด อาจต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อมองด้วยตาคร่าวๆ ก็จะเป็นรูปแบบ Harmonic patterns เช่นอย่างชาร์ต USDJPY ที่แสดง AB=CD อธิบายด้วยหลักการ market structure และ price action สำหรับ AB=CD ดังต่อไปนี้ รูปแบบจะริ่มต้นด้วยทิศทางของ A แล้วไปสร้างจุด Swing ที่จุด B [เราเลยได้ AB leg ตรงนี้]  จากนั้นราคาย่อตัวกลับมาที่จุด C [เราเลยได้ BC ตรงนี้] และท้ายสุด ราคาไปต่อทางที่ราคาเคลื่อนตอนแรก ตรงที่จุด A และได้เอาชนะพื้นที่ที่จุด B ไป ไปสร้าง Swing ที่สองตรงที่จุด D [ตรงส่วนนี้ก็จะได้ CD leg]  การที่ราคาลงมาทำ Swing ที่สองนี้ ต้องการเห็นระยะห่างพอๆ กับที่เกิดขึ้นกับจุด AB ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ CD มีระยะห่างพอๆ กับระยะห่างของ AB  นั่นคือจุดที่คาดว่าราคาจะเปลี่ยนเทรนพร้อมๆ กัน ตรงพื้นที่ที่ BC และ CD ก็จะโต้ตอบ Fibonacci level ตามที่อธิบายไว้ด้านบน 

ดังนั้นการเทรดจะเกิดขึ้น เมื่อรูปแบบ AB=CD ยืนยันหรือเกิดขึ้นก่อน ตรงพื้นที่ D ก็จะกลายเป็นพื้นที่หาโอกาสเทรด หรือ Potential Reverse Zone (PRZ) สำหรับหลักการเทรดของ Harmonic AB=CD  ข้อดีของการเทรดแบบนี้คือ เมื่อเห็นรูปแบบ เกิดขึ้น ก็จะเปิดโอกาสให้เปิดเทรดได้ตอนเทรนเริ่มเปลี่ยนได้ตั้งแต่ตรงจุดแรกๆ 

เทรด Harmonic AB=CD อย่างไร


การเทรด จะเหมือนอย่างขั้นตอนการเทรดรูปแบบชาร์ตอื่นๆ คือหารูปแบบ กำหนดความเป็นไปได้ แล้วสุดท้ายเปิดเทรด ขั้นตอนที่ยาก จะอยู่ที่การหารูปแบบ เพราะแม้ว่าการเทรดเราต้องการรูปแบบที่ตามเงื่อนไขมากที่สุด แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เหมือนอย่างรูปแบบ มีสัดส่วนของ Fibonacci ต่างกันออกไปบ้าง แต่สำคัญต้องเห็นภาพโดยรวมเมื่อมองแล้วต้องเป็นรูปแบบนั้น เทรดเดอร์ที่ยังไม่ชำนาญอาจใช้บริการของบางโบรกเกอร์ที่ให้ทูลพวกนี้ฟรี เช่นอย่าง Autochartist ที่เป็นทูลในการวิเคราะห์รูปแบบ chart patterns ต่างๆ สำหรับโปรแกรม Metatrader 4/5 หรือบางโบรกเกอร์มีแพลตฟอร์มเทรดทางเลือกคือ cTrader ที่เป็นอีกตัวที่เป็นตัวเลือกแทน Metatrader โปรแกรมนี้ได้เริ่มเอา Autochartist เข้าไปที่แพลตฟอร์มด้วย เลยช่วยในการสแกนหารูปแบบต่างๆ Chat patterns, Fibonacci Patterns หรือ Key levels ให้

การเปิดเทรดให้รอจนกว่ารูปแบบ Harmonic AB=CD เกิดขึ้นก่อน  หรือหลังจากที่เห็นจบ CD leg เราก็จะกำหนดพื้นที่ PRZ ได้ และสัญญาณการเปิดเทรดเกิดขึ้นเมื่อเห็นสัญญาณการกลับตัว ผ่านรูปแบบ price action เกิดขึ้น ก็จะเห็นพื้นที่ PRZ ขึ้นมา แล้วค่อยหาโอกาสเทรดด้วยเห็นการยืนยันจาก Price Action ก็จะสามารถเข้าเทรดได้ตอนเริ่มต้นๆ ของการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่เกิดขึ้น ส่วนการกำหนด stop loss ก็จะอิงพื้นที่จุด D เป็นหลัก จะเหนือกว่าหรือต่ำกว่าแล้วแต่รูปแบบว่าเป็น Bullish หรือ Bearish AB=CD เพราะว่าถ้าราคาเคลื่อนผ่านจุด D ไปได้คนละทางถือว่ารูปแบบ AB=CD ล้มเหลว หรือการกลับเทรนไม่น่าจะเกิดขึ้น