กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Channel trading ด้วย Fibonacci Channel

  • 0 replies
  • 4,100 views
Channel trading ด้วย Fibonacci Channel
« เมื่อ: 30, กรกฎาคม 2021, 09:50:58 PM »
Channel trading ด้วย Fibonacci Channel

การเทรดด้วยหลักการ Price Channel เป็นอีกรูปแบบที่นิยมกันเพื่อกำหนดกรอบการเคลื่อนราคา ด้วยการสร้างกรอบ ก็จะกำหนดจากเส้น 2 เส้นขนานกันไป ด้วยการอิง 2 Highs หรือ 2 Lows เป็นเส้นหลัก แล้วลากเส้นขนานกันไป ถือว่าเป็นหลักการต่อยอดจากการเทรดแบบเทรนไลน์ แต่มีการกำหนดเส้นขนานกันไปเป็นกรอบการเคลื่อนไหว สัญญาณการเทรดจะเกิดขึ้นเมื่อราคาไปแตะเส้นกรอบบนและกรอบล่าง เมื่อใช้หลักการแนวรับ-แนวต้านเข้าไปกับกรอบ และรูปแบบแท่งเทียนต่างๆ การเทรดกรอบราคาพวกนี้ เป็นอีกทางที่จะหาโอกาสการเปิดเทรดได้ง่าย

ในโปรแกรมเทรด Metatrader มีทูลสำหรับให้ท่านกำหนดรูปแบบ Channels 4 รูปแบบ Fibonacci Channel, Linear Regression Channel, Equidistance Channel, และ Standard Deviation Channel เมื่อท่านไปที่เมนู Insert -> Channels

การใช้งาน Fibonacci Channel สำหรับ Channel trading


Fibonacci Channel เป็นทูลที่ใช้เพื่อคาดการณ์แนวรับ-แนวต้านที่อาจจะเกิดขึ้น อิงการหาค่าแนวรับ-แนวต้านจากตัวเลข Fibonacci บอกได้ว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการใช้ Fibonacci Retracement แต่ต่างกันที่ถ้าเป็น Fibonacci Retracement การกำหนดพื้นที่แนวรับ-แนวต้านจะเป็นเส้นแนวนอน (Horizontally) แต่สำหรับ Fibonacci Channel เส้นแนวรับ-แนวต้านเป็นเส้นตามแนวทแยงมุม (Diagonally) ตามทิศทางกรอบราคาที่กำหนดเส้นได้ ก็มีค่าเดียวกับ Retracements ที่นิยมคือ  23.6, 38.2, 50.0, 61.8, 78.6, 100 เป็นต้น สำหรับการเทรด Channel สามารถใช้ได้ทั้งการเทรนระยะยาว หรือเทรนระยะสั้น ทั้งเทรนขึ้นและเทรนลง ตามภาพประกอบด้านบน ทางซ้ายเป็น Fibonacci Channel และ ด้านขวาเป็น Fibonacci Retracement ดูลักษณะการสร้างแนวรับ-แนวต้านของทั้งสอง แม้ตัวเลขค่า Fibonacci เท่ากับการแสดงผลต่างกัน

ต่างจากการใช้ Fibonacci Retracement ที่ต้องกำหนด Impulsive move เป็นตัวสำคัญ แล้วลากตามเพื่อกำหนดว่า Impulsive move ไปทางบนหรือทางล่าง ท่านก็จะได้ว่ากำหนด Retracement สำหรับแนวรับ หรือสำหรับแนวต้าน แต่การที่จะใช้ทูล Fibonacci Channel, เทรดเดอร์จำเป็นต้องกำหนดทิศทางเทรนก่อน ต้องรู้ขั้นตอนการกำหนด Fibonacci Channels ต้องมีการกำหนด Base channel หลักก่อน [หลักการพัตนา swing highs/lows เป็นการดูเทรน ว่ากำลังทำเทรนทางไหน และแต่ละช่วงที่ราคาเบรค High หรือ Low ก่อน ถือว่าเป็น Impulsive move เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเทรน และการใช้งาน Fibonacci Channel จะใช้กับช่วงที่ตลาดกำลังทำเทรนเป็นหลัก]


  • การลากเส้น Base channel เส้นหลักก่อน ขึ้นอยู่กับเทรนของตลาดคือ

    • ถ้าเป็นเทรนขึ้น ให้ลากเส้นระหว่างจุด Highs 2 จุด ที่ทำเทรนขึ้นหรือทำ Swing high หรือ High -> Higher High ขึ้นต่อเนื่องกัน
    • ถ้าเป็นเทรนลง ให้ลากเล้นระหว่างจุด Lows ต่อเนื่องกัน 2 จุด ที่ทำเทรนลงหรือ Low -> Lower Low
  • ลากเส้นที่สองสำหรับ Channel ขึ้นอยู่กับเทรนของตลาดเช่นกันคือ

    • ถ้าเป็นเทรนขาขึ้น ลากเส้นที่สอง ตรงพื้นที่ Low ระหว่าง Highs 2 จุดที่กำหนดสำหรับเส้นแรกของ Channel สำหรับเทรนขาขึ้น
    • ถ้าเป็นเทรนขาลง ลากเส้นที่สอง ตรงพื้นที่ High ระหว่าง 2 Lows ที่กำหนดเส้นแรกของ Channel
  • ความกว้างจาก 2 เส้นที่กำหนด  Base channel เป็น 100% สำหรับเปรียบเทียบ เส้น Channel ที่จะสร้างจากตัวเลข Fibonacci


สำหรับการกำหนด Fibonacci Channels สำหรับเทรนขาขึ้น กำหนดเทรนด้วยหลักการ swing highs/lows ราคาทำ High แรกที่เลข 1 แล้วทำ High ที่ 2 หรือ Higher High ขึ้นมาต่อเนื่องบอกถึงการพัฒนาของเทรนขึ้นหลังจากที่ราคาได้ลงมาก่อน ตามที่ลูกศรสีแดง สำหรับสร้าง Base channel เส้นแรกที่จุด High 1 ไปที่ High 2 จากนั้นกำหนดอีกเส้นตรงที่ Low หรือที่เลข 2 ระหว่าง 2 High  ท่านก็จะได้กรอบ Base channel ส่วนเส้น Channel อื่นๆ ที่มาจากการหาค่าจากตัวเลข Fibonacci Numbers ให้เอง ก็จะแสดงด้านล่างลงมาเป็นพื้นที่ๆ คาดว่าจะเป็นแนวรับสำหรับเทรนขึ้น แล้วรูปแบบ price pattern ที่เกิดขึ้นจะเห็นว่าเปิดโอกาสให้เทรดแนวรับที่เกิดขึ้น ทั้ง 3 ลูกศร แล้วดันราคากลับไปทางเดียวกับที่ทำเทรนมาก่อน จะเห็นว่าการกำหนดจุดเพื่อจะทำ Fibonacci Channel ก็จะอิงการพัฒนาการของการทำเทรนของราคาเป็นหลัก การเข้าใจหลักการพัฒนาการของเทรนด้วย ที่เห็นราคาทำ Swing highs/lows ต่อเนื่องกัน  จึงเป็นส่วนสำคัญ และต้องไม่ลืมด้วยว่า จุด Impulsive move คือพื้นที่เดียวกับที่ราคาเบรค High แล้วขึ้นไปทำ Higher High หรือเบรค Low แล้วลงไปทำ Lower Low และยังเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาการของเทรนด้วย



ภาพที่สองเป็นการใช้ Fibonacci Channel สำหรับเทรนลง และหลักการเปิดเทรด Sell สำหรับการกำหนด Channels ก็จะตรงข้ามกับรูปแบบ สำหรับเทรนขาขึ้นภาพด้านบน และก็จะสร้าง Resistance ที่คาดว่าราคาจะโต้ตอบ พอราคาไปถึงให้ดูรูปแบบ price pattern ประกอบก่อนเข้าเทรด ตามที่กล่าวไว้ก่อนนี้ว่า Fibonacci Channels จะใช้กับตลาดช่วงที่ทำเทรนเป็นหลัก ดู Channel ราคาก็ได้ ทำ Low -> Lower High -> Lower Low – Lower High ต่อเนื่องกัน ดังนั้นเมื่อราคาตัดเส้นระดับ Channel ที่มาจากค่า Fibonacci numbers คือราคาไปเจอ Resistance ที่เราคาดตรงพื้นที่นั้น แล้ว เราก็ดูรูปแบบ price pattern ประกอบ ในที่นี้ก็จะเป็นรูปแบบที่เป็น Rejection หรือเด้งออกจากแนวต้านพวกนี้ อะไรที่รูปแบบเป็น Bearish คือสัญญาณที่จะเปิดเทรด หลักการเปิดเทรดคือหลักการแนวรับ-แนวต้านคือ เช่นอย่างกรณีเทรนลง เปิด Sell เมื่อราคาไปถึง Resistance และเริ่มหันกลับลงมาทางเทรนนั้นเอง

เช่นที่ Sell 1 พอราคาถึงพื้นที่ 61.8 เด้งออกด้วยแท่งเทียนหางยาวและปิดล่างได้ด้วยนั่นคือสัญญาณเปิด Sell และ Stop loss อิงรูปแบบ Price action ก็จะช่วยให้กำหนดพื้นที่น้อยลง จุดอื่นก็เช่นกัน จนกว่าราคาได้เบรค Channel เปลี่ยนเทรนขึ้นมา