กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Market Facilitation Index

  • 0 replies
  • 3,400 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Market Facilitation Index
« เมื่อ: 18, กรกฎาคม 2021, 09:39:59 AM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Market Facilitation Index

Market Facilitation Index (MFI) เป็นอีกทูลที่พัฒนาโดย Bill Williams เพื่อดูคุณภาพของการเคลื่อนราคาด้วยความสัมพันธ์กับ Volume ของแต่ละแท่งเทียน เพื่อดูว่าเทรนแข็งพอที่จะเปิดเทรด หรือเทรนใหม่อาจจะเริ่มเมื่อไหร่  หรือเมื่อไหร่ควรที่จะห่างจากตลาด สิ่งที่ Bill ต้องการให้ดูคือการเปลี่ยนแปลงระหว่าง MFI กับ Volume เป็นสำคัญ ไม่ใช่แค่ค่าของ MFI ในการใช้ค่าของ MFT ที่ได้จะมาเอา High-Low ของแท่งเทียนแล้วหารด้วยจำนวน Volume ดังการคำนวณด้านล่าง

MFI = (High-Low)/Volume

ดังนั้น แต่และแท่ง Histogram ของ MFI บอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนราคาและ Volume ของแท่งเทียนนั้นๆ คือเป็นตัวบอกว่าราคามีการเคลื่อนเกิดขึ้นอย่างไรเทียบกับจำนวน Volume  ดังนั้นด้วยการเปรียบเทียบค่า MFI และ Volume ของแท่งเทียนปัจจุบันกับแท่งเทียนก่อน สามารถคาดการณ์ได้ว่า แท่งเทียนปัจจุบันจะเคลื่อนไหวไปทางแท่งเทียนก่อนหรือไม่ ได้ง่ายๆ

Bill Williams ได้ย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงระหว่าง MFI และ Volume ดังต่อไปนี้


  • ค่า MFI เพิ่ม และ Volume เพิ่ม (MFI Up, Volume Up)  - มีเทรดเดอร์จำนวนมากกำลังเข้าตลาด เพราะว่า Volume เพิ่มขึ้น และการเปิดเทรดของเทรดเดอร์ใหม่นี้ เปิดเทรดทางเดียวกันกับแท่งเทียนปัจจุบัน  นั่นคือการเคลื่อนของราคาไปทางเดียวกันกับแท่งเทียน ได้เริ่มและกำลังเร็วขึ้น
  • ค่า MFI ลดลง และค่า Volume ลดลง (MFI Down, Volume Down) – บอกว่าไม่มีเทรดเดอร์สนใจในตลาดช่วงนั้นๆ
  • ค่า MFI เพิ่มขึ้น แต่ค่า Volume ลดลง (MFI Up, Volume Down) – เป็นเพราะว่าตลาดไม่สัมพันธ์กับ Volume ที่มาจากเทรดเดอร์ และราคายังเปลี่ยนแปลงอยู่ เป็นเพราะว่าการเก็งกำไรจากเทรดเดอร์รายใหญ่ที่เป็นตัวกลางพวก brokers หรือ dealers
  • ค่า MFI ลดลง แต่ค่า Volume เพิ่มขึ้น (MFI Down, Volume Up) – มีการสู้กันระหว่าง Sellers และ Buyers ดูได้ชัดเจนจาก Volume ด้าน Sell หรือ Buy จำนวนมากเพราะเพิ่มขึ้น แต่ราคากลับมาเปลี่ยนแปลงเพราะว่า กำลังทั้งการเข้าเทรดสองฝ่ายพอๆ กัน เลยไม่ได้บอกนัยสำคัญอะไร จนกว่าจะมีฝ่ายชนะของการต่อสู้กันตอนจบ โดยปกติการเบรคของแท่งเทียนแบบนี้จะช่วยให้รู้ว่า แท่งเทียนนี้บอกการไปต่อของเทรนหรือการสิ้นสุดเทรน สภาวะแบบนี้เรียกว่า "curtsying"

การใช้ Market Facilitation Index


การเรียนใช้อินดิเคเตอร์ MFI ของโปรแกรม Metatrader ไปที่เมนู Insert -> Indicators -> Bill Williams แล้วเลือก Market Facilitation Index ก็จะได้ Setting ตามภาพประกอบ จะเห็นว่า ไม่มีการตั้งค่าสำหรับคำนวณหาค่าแบบอินดิเคเตอร์หลายๆ ตัวในกลุ่มนี้ เช่นอย่าง Alligator หรือ Awesome Oscillator ที่กำหนดค่าสำหรับกำหนดเส้น MA แต่สำหรับ MFI มีแต่ Settings สำหรับปรับสี และขนาดสำหรับค่า DFI กับ Volume ต่างกันอย่างไร ตามที่อธิบายไว้ด้านบน

การตีความและการใช้งาน MFI

จากหลักการทำงานของ MFI จะเห็นว่าเป็นอินเคเตอร์ที่วัดความแข็งหรืออ่อนของการเคลื่อนของราคา จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าเมื่อไร เทรนแข็งพอที่จะเปิดเทรดหรือไม่  เมื่อไรเทรนใหม่อาจจะเริ่ม หรือเมื่อไรจะไม่เทรด ด้วยการดูการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนราคา และดูว่าวอลลูมในการเทรดกำลังขึ้นหรือกำลังลง โดย MFI จะใช้สีกำหนดแต่ละค่าของ MFI และ Volume เพื่อให้ดูง่ายและชัดเจน ตามที่กำหนดไว้ใน Settings ของอินดิเคเตอร์


แท่ง MFI สีเขียว  – แท่ง Histogram สีเขียวของ MFI ที่มาจาก MFI Up และ Volume Up บอกว่าการเคลื่อนราคากำลังเกิดขึ้นและวอลลูมการเทรดมากขึ้นด้วย – บอกว่ามีเทรดเดอร์เข้าตลาดมากขึ้นในทิศทางของราคาปัจจุบัน และการเคลื่อนไหวนี้กำลังแข็งขึ้น นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าเป็นจังหวะที่ดีที่จะเปิดเทรดตามเทรนที่กำลังเกิดขึ้น หรือถ้าเปิดเทรดอยู่แล้วมีกำไรก็ปล่อยให้กำไรวิ่ง แต่ถ้าสวนทางกับที่เปิดเทรดอยู่แล้วก็ให้ปิด ดูที่เลข 1 ที่แท่ง Histogram ของ MFI เป็นสีเขียว แล้วดูแท่งเทียนประกอบที่บอกทิศทางของราคา มองตรงส่วนที่ Volume ที่ใส่เข้ามาเสริมเพื่อให้เห็นชัดก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ดูสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา

แท่ง MFI สีน้ำตาล - แท่ง Histogram สีน้ำตาลของ MFI ที่มาจาก MFI Down และ Volume Down – บอกถึงโมเมนตัมกำลังอ่อนลง เพราะเทรดเดอร์ไม่สนใจในการเคลื่อนราคาปัจจุบัน และนั่นอาจหมายถึงการจบของเทรน ช่วงนี้ให้เลี่ยงการเปิดเทรด ทางที่ราคาเคลื่อนไหวอยู่ ยิ่งถ้าเห็นแท่งสีน้ำตาลหลายแท่งต่อเนื่องกัน อาจหมายความว่าราคากำลังจะเปลี่ยนเทรน ดูที่เลข 2 หลังจากที่ราคาลงมาเยอะมาก เป็นสัญญาณว่าเทรนอาจเปลี่ยน


แท่ง MFI สีน้ำเงิน - แท่ง Histogram สีน้ำเงินของ MFI ที่มาจาก MFI Up และ Volume Down – การเคลื่อนไหวของราคากำลังเพิ่มขึ้น แต่ยอดวอลลูมการเทรดลดลง บอกว่ามีความไม่สัมพันธ์กันระหว่าง การเคลื่อนของราคาที่เกิดขึ้นกับวอลลูมการเทรด อาจเกิดจากการที่พวกขาใหญ่ (speculators) เข้ามาดันราคาให้สภาพคล่องตลาดไม่สมดุลย์ การเคลื่อนราคาแบบนี้อาจเกิดขึ้นไม่นาน เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์จะไม่เทรดช่วงนี้ จะเป็นช่วงที่รายย่อยโดนหลอกให้ติดอยู่ในตลาด ดูที่เกิดขึ้นกับเลข 3 ดู price structure แม้ว่าราคาเบรคลงมา น่าจะลงไปต่อ แต่วอลลูมการเทรดลดลง เห็นความไม่สัมพันธ์กันระหว่าง MFI และ Volume สุดท้าย ราคาเปลี่ยนเป็นขึ้นมา เทรดเดอร์ที่เปิด Sell ตอนนั้นโดนหลอกเข้าตลาดเพื่อขาใหญ่จะได้เปิด Buy ที่ราคาต่ำกว่า

แท่ง MFI สีชมพู - แท่ง Histogram สีชมพูของ MFI ที่มาจาก MFI Down และ Volume Up - การเคลื่อนไหวของราคาลดลง แต่ยอดวอลลูมการเทรดกลับสูงขึ้น บอกว่าเทรดเดอร์กำลังสนใจเข้าตลาด แต่เพราะการสู้กันระหว่าง Sellers  และ Buyers ยังไม่จบ เลยไม่เปิดเผยทิศทางชัดเจนว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายชนะ ว่าราคาจะไปทางไหน พอจบทันทีที่ไม่ว่าฝ่าย Sellers หรือ Buyers เป็นฝ่ายชนะ ราคาจะวิ่งไปทางนั้นอย่างรวดเร็ว เทรดเดอร์ที่เปิดเทรด ก็จะมีโอกาสทำกำไรได้เร็วจากช่วงนี้ได้ง่าย แต่ MFI ไม่ได้บอกทิศทางราคาว่าจะไปทางไหน ดูที่เลข 4 จะเห็น 3 แท่งสีชมพูต่อเนื่องกัน ดูการเคลื่อนราคาจากแท่งเทียนไม่มาก แต่ขณะเดียวกันดูส่วน Volume จะเห็นว่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เลยทำให้ MFI เป็นแท่งสีชมพู ดูหลังต่อมา หลังแท่งเทียนหางยาวๆ พร้อมทั้งแต่ DFI เปลี่ยนเป็นสีเขียว เปิดเผยออกมาชัดเจนว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายชนะ ราคาวิ่งอย่างรวดเร็ว ไปทางเดียวกัน