กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Awesome Oscillator

  • 0 replies
  • 3,839 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Awesome Oscillator
« เมื่อ: 18, กรกฎาคม 2021, 09:25:53 AM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Awesome Oscillator

Awesome Oscillator (AO) เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่พัฒนาโดย Bill Williams ที่มีจุดประสงค์เพื่อวัด Momentum ของตลาด ด้วยการหาค่าจากความต่างของ Simple Moving Average (SMA) สำหรับ 34 แท่งเทียน และ 5 แท่งเทียนด้วยการใช้ราคาค่าเฉลี่ยจาก High+Low ต่างจากอินดิเคเตอร์อื่นๆ ที่ใช้ราคาปิดเป็นหลัก เลยทำให้ค่าของ AO ยืนยันเรื่องของเทรนได้ดีกว่า เช่นยืนยันเทรน หรือใช้หาจุดกลับตัวได้

AO เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์หลายๆ ตัวที่พัฒนาโดย Bill Williams ที่ได้รับความนิยมในการเทรดมาก ประกอบด้วย Alligator, Fractals, Accelerator Oscillaltor, Awesome Oscillator และ Market Facilitation Index แต่ละตัวก็จะมีหลักการในการพัฒนาต่างกันออกไปเพื่อจุดประสงค์ช่วยการเทรดต่างกันออกไป เพื่อเอื้อหนุนกัน หรือสามารถนำไปใช้กับ Technical Analysis อย่างอื่นได้หมด แล้วแต่ละเทรดเดอร์นำไปใช้กัน Technical Analysis หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจว่า อินดิเคเตอร์แต่ละตัวนำเสนอ และใช้งานอย่างไร และการหาค่า AO ดังต่อไปนี้

MEDIAN PRICE = (High+Low)/2

AO = SMA(MEDIAN PRICE,5) – SMA(MEDIAN PRICE,34)

หลักการหาค่าคือหาค่า SMA จากแท่งเทียน 43 แท่งด้วยการใช้ราคาตรงกลางหรือ MEDIAN PRICE แล้วเอาไปลบ วิธีการเดียวกัน แต่ค่าแท่งเทียนเป็น 5 แท่งเทียนก็จะได้ค่า AO ที่สัมพันธ์กับเส้น 0.00 ด้วยการแสดงแท่ง Histogram

การใช้งาน Awesome Oscillator


AO เป็นอินดิเคเตอร์มาตรฐานที่มากับ Metatrader ด้วยการไปที่เมนู Insert -> Indicators -> Bill Williams แล้วเลือก Awesome Oscillator ก็จะได้การแสดงผลด้านล่าง ส่วนที่กำหนดค่า ไม่มีค่าสำหรับคำนวณ แค่มีค่าสำหรับ Value Up และ Value Down สำหรับค่า AO ที่ได้ ให้กำหนดสีและขนาดแท่งสำหรับแสดง Histogram ที่สัมพันธ์กับเส้น 0.00 ตามภาพประกอบ ค่า Value Up เทียบกับค่า Value ของแท่งเทียนก่อนนี้ ถ้าค่ามากกว่า ค่า AO แท่งเทียนก่อนนี้ก็จะแสดงสีเขียว ถ้าต่ำกว่าค่าของแท่งเทียนก่อนนี้ก็จะแสดงสีแดง [ตามที่กำหนดใน Setting ของอินดิเคเตอร์] การแสดงผลง่ายและชัดเจน แค่ดูต่อเนื่องกัน พร้อมทั้งขนาด และสัมพันธ์กับเส้น 0.00 สำหรับตีความ

การตีความ AO เพื่อการเทรด

เนื่องจาก AO เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ค่าของ AO ก็จะขึ้นหรือลงสัมพันธ์กับเส้น 0.00 ที่แสดงเป็น Histogram ที่สามารกำหนดสีแต่ต่างกันออกไปได้ว่าค่าของ AO ของแท่งเทียน ปัจจุบันมากกว่าเป็นสีเขียว หรือน้อยกว่าเป็นสีแดง ก็จะใช้สำหรับตีความได้ 3 อย่างดังต่อไปนี้


การตีความด้วยรูปแบบ Zero Line Cross 

การที่เกิดการตัดกันระหว่าง AO กันเส้น 0.00 เป็นการตีความแรกที่ง่ายและตรงสุดสำหรับการเปลี่ยนข้าง Momentum ถ้า AO ตัดจากล่างขึ้นมาเหนือกว่าเส้น 0.00 หรือบอกว่า Momentum ระยะสั้นขึ้นเร็วกว่า Momentum ระยะยาว เป็นสัญญาณบอกว่า Momentum เปลี่ยนไปทางเคลื่อนขึ้นของราคา ก็จะเปิดโอกาสการเปิด Buy เป็นหลัก แต่ถ้าตัดจากบนลงล่างต่ำกว่าเส้น 0.00 ก็จะเปิดโอกาสการเทรดไปทาง Sell เป็นหลัก  สิ่งที่เห็นการเกิดการ Crossing คือจะเห็นว่าแท่ง Histogram จะเริ่มลดลง ก่อนที่จะเกิดการ Crossing ที่เส้น 0.00  เช่นสำหรับ Bearish Cross จะเห็นเกิดแท่ง Histogram แบบสีแดง หรือ Value Down นำหน้ามาก่อนเรื่อยๆ จนลงมาตัด ค่า AO ที่เกิดขึ้นนำหน้ามาก่อน คือค่าการเปลี่ยนแปลง Momentum ของแต่ละแท่งเทียนเทียบกันกับแท่งเทียนก่อนเป็นอย่างไรต่อเนื่องกันมา ก่อนที่จะถึงจุด 0.00

การตีความด้วยรูปแบบ Twin Peaks


จุดที่สองการตีความคือมองหาจุด Peak หรือต่ำสุด หรือสูงสุดของค่า AO สัก 2 จุดเปรียบเทียบกัน ที่อยู่ทาง เหนือกว่าหรือต่ำกว่าเส้น 0.00 ทางเดียวกัน ดูที่จุดเลข 1 สำหรับ Bullish Twin Peaks ที่ทำให้ได้สัญญาณการเปิดเทรด Buy ตามหลักการของ Awesome Oscillator ต่อไปนี้


  • ส่วนแสดงผล Histogram อยู่ต่ำกว่าเส้น 0.00 
  • แล้วทำ Low 1 ตามด้วย Low 2  [Higher Low]
  • แต่สำคัญว่า Low 2 ต้องสูงกว่า Low 1 และ และ Low 2 ต้องขยับขึ้นมาใกล้เส้น 0.00 มากกว่าที่ Low ก่อน
  • หลังจาก Low 2 ต้องตามด้วยแท่ง Histogram แบบ Bullish

หลักการเดียวกัน ใช้เพื่อทำความเข้าใจจุดที่เลข 3 ตามภาพประกอบที่ AO ให้สัญญาณในการเปิดเทรด Buy นอกจากนั้นตามภาพประกอบมีการตีเส้น Resistance เข้าไปประกอบด้วย แล้วตามด้วยการที่ราคาได้เบรค และราคาย่อตัวกลับมาทดสอบสัญญาณการเปิดเทรดนี้ มีการใช้ Technical Analysis อื่นประกอบด้วยเพื่อหลักการเทรดแบบ Confluence จากหลาย Technical Analysis คือจาก Support/Resistance, Test/Pullback ด้วย Price Action และ Awesome Oscillator

จุดที่เลข 2 เป็นการใช้ Bearish Twin Peaks สำหรับหาสัญญาณการเปิดเทรด Sell หลักการตรงข้ามกับที่กล่าวมาด้านบนดังต่อไปนี้


  • ส่วนแสดงผล Histogram อยู่เหนือว่าเส้น 0.00 
  • แล้วทำ High 1 ตามด้วย High 2  [Lower High]
  • แต่สำคัญว่า High 2 [Lower High] ต้องต่ำกว่า High 1 และ Lower High ต้องขยับลงมาใกล้เส้น 0.00 มากกว่าที่ High ก่อน
  • หลังจาก High 2 [Lower High] ต้องตามด้วยแท่ง Histogram แบบ Bearish

สัญญาณการเปิดเทรด ควรใช้ Technical Analysis อื่นเข้ามาประกอบ ทั้งเพื่อกรองสัญญาณและเป็นการยืนยันไปในตัวด้วย เช่นอย่างด้านบนที่ใช้หลักการแนวรับ-แนวต้าน การเบรคแนวรับ-แนวต้านสำคัญ การกลับมาทดสอบ และยังใช้ รูปแบบ Price Action เข้ามาเสริมสัญญาณจาก AO ด้วย

การตีความด้วยรูปแบบ Saucer


การหาสัญญาณสำหรับเทรดของ AO แบบ Saucer เป็นการมองดูการเปลี่ยนแปลง Momentum ที่เกิดเร็วขึ้นด้วยการดู Histogram ของ 3 แท่งของ AO จาก 3  แท่งเทียนต่อเนื่องกัน ที่สัมพันธ์กับเส้น 0.00 ทางเดียวกัน

Setup สำหรับหาโอกาสเทรดแบบ Bullish Saucer สำหรับ Buy ท่านต้องเห็น  AO ต้องอยู่เหนือกว่าเส้น 0.00 แล้วเห็น 2 แท่ง Histogram สีแดง (Value Down) ติดกัน (โดยแท่งที่สองต้องต่ำกว่าแท่งแรก) แล้วตามด้วยแท่งสีเขียว (Value Up) และทางตรงกันข้ามสำหรับ Bearish Saucer Setup สำหรับหาโอกาสเทรด Sell ท่านต้องเห็น  AO ต้องอยู่ต่ำกว่าเส้น 0.00 แล้วเห็น 2 แท่ง Histogram สีเขียว (Value Up) ติดกัน (โดยแท่งที่สองต้องสูงกว่าแท่งแรก) แล้วตามด้วยแท่งสีแดง (Value Down)