กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ตัวชี้วัด Center of Gravity คืออะไร? หาจังหวะการกลับตัวของราคาด้วยอินดิเคเตอร์ COG

  • 0 replies
  • 511 views
ตัวชี้วัด Center of Gravity คืออะไร? หาจังหวะการกลับตัวของราคาด้วยอินดิเคเตอร์ COG

"Center of gravity" หรือที่เรียกโดยย่อว่า "COG" เป็นตัวชี้วัดเชิงเทคนิคที่นักเทรดมืออาชีพนิยมใช้ในการคาดการณ์และหาจังหวะที่ราคาจะมีการกลับตัว โดยอินดิเคเตอร์ชนิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นในปี 2002 โดย John Ehlers ด้วยจุดประสงค์ที่ไม่ใช่แค่เพื่อจับจังหวะการกลับตัวของราคาเท่านั้น แต่เพื่อวิเคราะห์จังหวะการกลับตัวล่วงหน้าเพื่อให้สามารถวางแผนการเทรดได้เร็วที่สุด!


แน่นอนว่าหากแปลตามความหมายตรงตัว Center of gravity หมายถึง จุดศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วง ซึ่งหากเป็นในกรณีของการเทรด ก็หมายถึงจุดศูนย์กลางที่ราคาจะมีการกลับตัวอย่างชัดเจนโดยที่ไม่มีสัญญาณหรือปัจจัยอย่างอื่นมารบกวนนั่นเองครับ อย่าเพิ่งงงล่ะ เพราะในบทความวันนี้เราจะพาทุกท่านไปคลายทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ COG ว่ามันคืออะไรกันแน่? พร้อมวิธีใช้ตัวชี้วัดชนิดนี้ในการเทรดจริงด้วยครับ อ่านจบใช้เทรดเป็นแน่นอน

Center of Gravity คืออะไร? อธิบายแบบละเอียด!

Center of gravity เป็นหนึ่งใน อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค ที่นิยมใช้เทรดกันมากที่สุดทั้งในหมู่นักเทรดมือใหม่และนักเทรดมืออาชีพเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเครื่องมือเทรดชนิดนี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาและแนวโน้ม (เทรนด์) ได้ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจากการกลับตัวของราคาทันทีที่ราคามีการกลับตัวที่ต่อให้จู่ๆ ราคาเกิดกลับตัวอย่างกระทันหันก็ยังตัดสินใจเทรดได้ทันท่วงที เพราะอินดิเคเตอร์ COG ใช้บอกสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดและราคาล่วงหน้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีหลักๆ ของอินดิเคเตอร์ชนิดนี้เลยครับ

และอีกหนี่งสิ่งที่เทรดเดอร์ควรรู้ก็คือ Center of gravity จัดอยู่ในอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator หรือพูดง่ายๆ ก็คือ COG จะใช้งานได้ดีในจังหวะที่ตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบราคา (Range-bound market) ซึ่งหากในขณะนั้นราคากำลังมีเทรนด์อยู่ล่ะก็.. อินดิเคเตอร์ชนิดนี้อาจไม่มีผลเท่าไหร่นัก หรือแย่กว่านั้นก็อาจส่งผลเสียต่อการเทรดของท่านได้เลยเช่นกัน

ตัวอย่าง: ข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างอินดิเคเตอร์ RSI และ COG คือ อินดิเคเตอร์ COG จะไม่สามารถบอกได้ว่าตลาดอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold)

วิธีคำนวณ Center of Gravity ทำอย่างไร?

เมื่อเปิดใช้อินดิเคเตอร์ COG บนกราฟราคา ท่านจะเห็นเส้น 2 เส้นที่ปรากฎขึ้นซึ่งอ้างอิงมาจากยอดรวมของราคา ณ ช่วงกรอบเวลา (Timeframe) นั้นๆ โดยสัญญาณในการซื้อขายจะเกิดขึ้นจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) ของอินดิเคเตอร์ COG ซึ่งวิธีการคำนวณ COG มีสูตรการคำนวณดังนี้:


ในการตั้งค่าอินดิเคเตอร์ COG โดยพื้นฐานทั่วไป ท่านจะต้องใช้เส้น Simple moving average ในระยะ 3 วัน และราคาปิดในระยะ 10 วัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็มี COG บางรูปแบบที่อาจใช้ระยะเวลา (Period) ที่ต่างไปจากนี้ แต่หลักการพื้นฐานในการคำนวณนั้นยังคงเป็นแบบเดียวกัน


วิธีอ่านค่าและตีความอินดิเคเตอร์ Center of Gravity

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าเครื่องมือเทรดชนิดนี้อาศัยราคาปิดหลายๆ ราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมาเพื่อสร้างสัญญาณเทรดที่ชัดเจน:


  • สัญญาณซื้อ (Buy signal) จะปรากฎขึ้น หากเส้นของอินดิเคเตอร์ COG ตัดกับเส้นสัญญาณด้านบน
  • สัญญาณขาย (Sell signal) จะเกิดขึ้น เมื่อเส้นของอินดิเคเตอร์ COG ตัดกับเส้นสัญญาณด้านล่าง

ข้อดีหลักของตัวชี้วัด COG ก็คือมันไม่มีขาระหว่างอินดิเคเตอร์และกราฟราคา ทำให้เทรดเดอร์สามารถเห็นจุดกลับตัวได้อย่างชัดเจนทันทีที่ราคามีการกลับตัว

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
รับโบนัส $30! พร้อมเทรด Forex สเปรดเริ่มจาก 0 ที่ MTrading


รับ $30 Bonus จาก MTrading