กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Money Flow Index

  • 0 replies
  • 3,251 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Money Flow Index
« เมื่อ: 30, มิถุนายน 2021, 10:58:23 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Money Flow Index

Money Flow Index (MFI) เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่ใช้ข้อมูลราคาและ Volume เพื่อวัดแรง Buying และ Selling ที่เกิดขึ้นในตลาดสำหรับช่วงเวลาที่กำหนด หลักการหาค่าและการนำเสนอจะคล้ายๆ กับอินดิเคเตอร์ Relative Strength Index (RSI) แต่ MFI จะใช้ Volume แต่ถ้าเป็น RSI ใช้แค่ราคาเท่านั้น ผลที่ได้ MFI จะบอกถึงนัยสำคัญกว่าเพราะว่าใช้ Volume ช่วยในการกำหนด [ในบทความนี้จะเน้นการใช้งานเป็นหลักว่าเข้าใจรูปแบบการนำเสนอและใช้งานในการเทรดอย่างไร]

การใช้งาน MFI ใน Metatrader


การเรียกใช้เหมือนอินดิเคเตอร์อื่นๆ ไปที่เมนู Insert -> Indicators -> Volumes แล้วเลือก Money Flow Index  ค่าที่ต้องกำหนดหลักคือ Period เท่านั้นเอง การแสดงผลก็จะได้เป็นภาพประกอบทางชาร์ตซ้ายมือ ส่วนทางขวามือเป็นชาร์ตที่ใช้อินดิเคเตอร์ RSI เพื่อเปรียบเทียบว่ารูปแบบการนำเสนอและตีความสำหรับการเทรดไม่ต่างกัน แต่ MFI วัดความแรงของการเคลื่อนไหวด้วยการใช้ Volume ต่างจาก RSI ที่ใช้แค่ราคาเท่านั้น จากที่อธิบายไว้ในส่วนอินดิเคเตอร์ Volumes  ที่ว่า ราคาเป็นตัวกำหนดทิศทาง แต่ Volume เป็นตัวสำคัญบอกถึงความแข็งของการเคลื่อนไปทางนั้นๆ เลยทำให้ผลของ MFI บอกนัยสำคัญกว่าผลของ RSI แต่รูปแบบการนำเสนอเป็นแบบเดียวกัน

รูปแบบที่เสนอก็จะมีเส้น MFI ที่มาจากการคำนวณ ที่อยู่ในกรอบ 0-100 เช่นเดียวกับ RSI ถ้าเส้น MFI มากกว่า ระดับ 80 บอก แล้วดูผลของ MFI ที่วาดเห็นเส้นต่อเนื่องกันของแต่ละแท่งเทียนไปทางขึ้นหรือลง และห่างจากเส้นระดับ Overbought/Oversold ทางไหน อีกสิ่งที่ต้องการให้สังเกตุคือองศา เส้น MFI ที่ต่อเนื่องกับค่าก่อนอย่างไร บอกนัยสำคัญถึง แรงจาก Volume ด้วย

การตีความ MFT เพื่อการเทรด

การตีความเพื่อใช้งานไม่ต่างจาก RSI ดูว่าเส้น MFI สัมพันธ์กับการเคลื่อนของราคาอย่างไร ไปทางเดียวกันหรือเปล่า และสัมพันธ์กับพื้นที่ Overbought/Oversold อย่างไร การใช้งานหลักๆ ก็จะเป็น กลยุทธ์แรก การเทรดตอนที่ราคาไปอยู่พื้นที่ Overbought/Oversold แล้วหาโอกาสเทรดทางตรงข้าม ด้วยการดูว่า ราคา และ DFI เริ่มหักเปลี่ยนทิศทาง กลยุทธ์ที่สอง เป็นการเทรดตามเทรน ต่อเนื่องจากข้อแรก ที่ราคาได้หักหัวจากพื้นที่ Overbought/Oversold แล้วกลับมาย่อตัวหรือจบ Corrective move เป็นการเทรด Pullback และสุดท้าย  กลยุทธ์ที่เห็น ราคา และ MFI พัฒนาไปคนละทางขัดแย้งกันเอง เรียกกลยุทธ์แบบนี้ว่า การเทรดแบบ Divergence


ดูเรื่อง Overbought/Oversold ก่อน เป็นจุดที่ถือว่าง่ายต่อการดู ด้วยการดูว่าเส้น MFI อยู่เหนือกว่าระดับ 8. หรือตำกว่า 20 และดูราคาเปิดเผยเป็นไปทางเดียวกันหรือเปล่า ที่เห็นว่าราคาได้วิ่งไปทางนั้นๆ เยอะ ก็จะรอจนกว่า MFI ได้หักหัวเปลี่ยนทางด้วย market structure ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กัน แล้วรอดูว่า รูปแบบ Price Action เปิดโอกาสให้เข้าเทรดตอนไหน เช่นที่เลข 1 หลังจากที่ราคาได้เบรคแนวต้านขึ้นไปทำ High และ MFI ก็ขึ้นไปทำ Overbought พอไปถึงพื้นที่ตรงนั้น เราจะดูการเปลี่ยนเปลง ทั้ง MFI และราคาเปลี่ยนบอกนัยทางลงหรือเปล่า ดูที่ลูกศรสีแดง แท่งเทียนยาวๆ Bearish ได้เบรคลงมา และ MFI ก็หักหัวลงยืนยันตามทันที ตรงนี้ละที่ราคาและ MFI เปิดเผยว่าจะจบ Overbought และเริ่มจะเปลี่ยนเทรน ตรงแท่งเทียนเป็นรูปแบบ Price Action ที่บอกถึงแรงจาก Buying มา Selling อย่างชัดเจน

ที่จุดเลข 3 ก็เป็น Overbought เช่นกัน แต่เลข 2 จะเห็นจุดอ้างอิงด้านแนวรับ-แนวต้านชัดเจนกว่าเลข 1 เมื่อมองจากชาร์ตที่แสดงถึงพื้นที่ ตามด้วยการหักหัวลงของ MFI และราคาที่ Market structure ตรงนั้นก็ลงด้วยแท่งเทียน Bearish ยาวๆ ที่ยืนยันด้วย MFI ที่มีวิธีการวัดด้วย Volume เป็นสำคัญ  โอกาสเปิด Sell หลังจากจบแท่งเทียน

เลข 2 บอกถึง Oversold หลักการไม่ต่างกัน แค่ตรงกันข้ามกับ Overbought รูปแบบที่ MFI จะดูง่าย เพราะว่ามีระดับช่วยบอกว่า Overbought/Oversold หรือราคาน่าจะถึงจุดสูงสุดหรือต่ำสุดแล้ว ถ้าเราใช้ Technical Analysis อื่นประกอบ จะหาจุดเข้าเทรดง่ายขึ้น จุดที่เลข 2 ราคาได้เบรค Support ลง แต่เด้งกลับมารวดเร็ว ดู MFI ต่อมาขัดแย้งกับที่ราคาบอก ตอนที่ดันลงไปหา stop hunt พอกลับขึ้นมาอีกรอบ ดู MFI ลงมาทดสอบที่ราคาลงมาทดสอบแล้วเกิด Engulfing bar ยาวๆ ขึ้นไปแล้วปิดบนได้ ถ้าราคาและ MFI พัฒนาไปทางเดียวกัน เปิดโอกาส Buy หลังแท่งเทียนลูกศรชี้


สุดท้ายเป็นการใช้ MFI สำหรับกลยุทธ์การเทรดแบบ Divergence หลักการอธิบายเรื่องของ Divergence แบบง่ายๆ คือ การที่ราคา และ MFI ขัดแย้งกัน เช่นถ้าราคาขึ้น แต่ MFI ลง หรือถ้าราคาลง แต่ MFI ขึ้น ดูภาพประกอบด้านบน ที่เป็น Bearish Divergence ดู ส่วนราคา ได้ทำ High แล้ว ตามมาด้วย ทำ Higher High ต่อ ขณะเดียวกันส่วนของอินดิเคเตอร์ MFI ทำ High แต่ต่อมากลับทำ Lower High แทนที่จะเป็น Higher High แบบที่ราคาทำ ดูต่อมาว่า MFI ช่วยยืนยัน ราคา เปิดโอกาสให้เทรด ที่บอก Sell ตรงที่กรอบสี่เหลี่ยม 2 กรอบอย่างไร ที่กรอบแรก ราคาลงมา ขณะที่ MFI หักหัวลงจากจุด Overbought ราคากลับมาทดสอบ แล้วเห็นแท่งเทียน Bearish Engulfing ยาว ๆ จบแท่งเทียนนี้คือมี Price Action ยืนยัน ตรงจุดเปิดเทรด กรอบที่ 2 ทางขวามือ ราคากลับมาเปิดโอกาสให้เทรดอีกรอบ ตรงส่วนนี้ มองเป็นว่า MFI บวกกับ ราคาที่เปิดเผยออกมาตอนที่ราคาทำ Divergence เป็นโอกาสให้เทรดแบบ Pullback เพื่อเทรดตามเทรนอีกรอบ