กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Accumulation/Distribution

  • 0 replies
  • 3,322 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Accumulation/Distribution
« เมื่อ: 30, มิถุนายน 2021, 10:53:45 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Accumulation/Distribution

อินดิเคเตอร์ Accumulation/Distribution หรือ A/D เป็นอินดิเคเตอร์ที่กำหนดด้วยการเปลี่ยนแปลงของราคาและ Volume โดยตัว Volume จะเป็นตัวหลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคา ถ้ามี Volume มาก ก็ยิ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงราคามาก สำหรับช่วงเวลา หรือแท่งเทียนที่เปิดใช้ A/D จาก timeframe ไหน หลักการใช้งานเพื่อเป็นการยืนยันการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดขึ้นด้วยการวัด Volume

สำหรับแนวคิดหลักสำหรับการทำงานของ A/D คิดง่ายๆ แบบนี้ ถ้าตลาดมีแต่เทรดเดอร์ที่อยู่ในช่วง Accumulation เป็นส่วนมาก พวกเขาทำอะไร ก็แค่สะสม Buy เท่านั้นเอง ทางกลับกัน ถ้าเทรดเดอร์ที่อยู่ในช่วง Distribution เป็นหลักจะทำอะไร ก็แค่สะสม Sell เท่านั้นเอง ดังนั้นตัว A/D จึงบอกถึง Demand และ Supply ที่อยู่เบื้องหลังที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงราคา ถ้า A/D เส้นสูงขึ้น หมายความว่า Accumulation ไปทาง Buy ด้วย Volume ที่เกิดขึ้นเป็นส่วนมากเป็น Buy ไปทางขึ้นเป็นหลัก แต่ถ้า A/D ลดลง บอกถึง Distribution ส่วนมาก Volume ไปทาง Sell เป็นหลัก เป็นไปทางลง แต่ถ้าเกิดราคาและ A/D ไปคนละทาง นั่นบอกถึง Divergence ที่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาต่อมา หรือบอกได้ว่า A/D บอกถึงกระแสการเปิดเทรดว่าเกิดข้างไหน เข้าและออกทางไหนที่เกิดกับสินค้าที่เราเปิดเทรด

การใช้งาน A/D


A/D เป็นอินดิเคเตอร์ที่อยู่ในประเภท Volumes ในโปรแกรม Metatrader สามารถเลือกใช้ด้วยการไปที่เมนู Insert -> Indicators – Volumes ->แล้วเลือกใช้ Accumulation/Distribution  ในส่วนของ Parameters ในการตั้งค่าไม่มีอะไรเลย เป็นแบบเดียวกันกับอินดิเคเตอร์ Volume ที่ค่าสำหรับการปรับแต่งรูปร่างและสีของค่า A/D ที่แสดงด้านล่างของชาร์ตเท่านั้นเอง หลักการใช้งาน A/D คล้ายๆ กับ Volume คือท่านมองค่า A/D ที่เกิดขึ้นกับราคาที่บอก บอกว่าเกิด Accumulation/Distribution ทางไหน

การตีความ A/D สำหรับการเทรด


จากที่อธิบายมา เส้นแสดงผลของอินดิเคเตอร์ A/D บอกถึง Demand/Supply ที่เกิดขึ้น ดังนั้นทิศทางเส้น A/D บอกกับเราถึงว่า ความกดดันการเทรด หรือ selling pressure หรือ buying pressure เกิดขึ้นทางไหน  ถ้าเห็นเส้น A/D กำลังขึ้น พร้อมกับราคาพัฒนาไปทางเดียวกัน  บอกว่าทางฝ่าย Buyers กำลังคุมตลาดทางนั้นอยู่ หรือถ้าเราเห็นเส้น A/D กำลังลง พร้อมกับราคาพัฒนาไปทางเดียวกัน บอกว่าความกดดันอยู่ทางด้าน Sellers เป็นหลัก  แต่ถ้าราคาพัฒนาไปอีกทาง และเส้น A/D ไปอีกทาง เป็นสัญญาณสำคัญว่าจะเกิด Divergence ขึ้น

ดูที่เลข 1 เห็นว่าพัฒนาการเส้น A/D สัมพันธ์กับชาร์ตที่เกิดขึ้น ทั้งสองยืนยันกันเอง และดันขึ้นต่อเนื่องด้วยบอกถึง Buying pressure เปิดโอกาสให้เปิด Buy ส่วน stop loss ด้านล่างต่ำกว่า Low พื้นที่นี้เล็กน้อย การเปิดเทรดในที่นี้ แม้ว่า เส้น A/D ทิศทางบอกว่า trading pressure แต่กลยุทธ์เปิดเทรดในที่นี้อิงหลักแนวรับ-แนวต้าน และ market structure ด้วย ตรงพื้นที่เลข 1 เป็นพื้นที่ราคาลงมาทดสอบ เราก็คาดว่าราคาจะขึ้นไปต่อ สิ่งที่เราต้องการเห็นคือว่าเห็นการเด้งกลับพื้นที่ตรงนี้ สิ่งที่ A/D และราคาบอก ตอบสิ่งนี้พอดี ราคาได้เปลี่ยนมาข้าง Buyers คุมหลังจากที่ Sellers คุมลงมาตามที่เส้น A/D แสดงก่อนมาถึงจุดหักขึ้นนี้

ที่เลข 2 เป็นอีกตัวอย่างหลักการเดียวกันกับเลข 1 แต่ให้สังเกตดูรูปแบบของ A/D จากพื้นที่เลข 1 และเลข 2 ต่อเนื่องกันอย่างไร จะเห็นว่า พื้นที่เลข 2 สูงกว่าพื้นที่เลข 1 อีก [หลักการแบบเดียวกันกับการพัฒนา swing high/low ที่เลข 2 สามารถทำ Higher Low กว่าเลข 1 ได้บอกถึง Buyers หรือ Buying pressure ต่อเนื่อง]  หลักการเปิดเทรดแบบเดียวกัน การเปิดเทรด แนะให้ใช้รูปแบบ price action ที่เป็น Reversal เป็นการยืนยันช่วยกำหนดพื้นที่ stop loss ได้แคบ

ที่เลข 3 เป็น A/D หักหัวลงบอกถึง Selling pressure เข้ามาคุมตลาด ดูลูกศรที่วาดประกอบบอก โครงสร้างการพัฒนาทั้งราคาและ A/D ไปทางเดียวกัน ไม่ได้สวนทางกัน พอราคาเบรคแนวรับลง ราคากลับมาทดสอบหลังแท่งเทียนที่ตีเส้น แนวตั้ง นั่นคือรูปแบบ Price Action สัญญาณการเปิดเทรด Sell ดู Volume เอามาประกอบ จะเห็นว่าสูงขึ้นด้วย ส่วนการกำหนด stop loss เหนือตรงเส้นสีแดงด้านบน take profit พื้นที่ที่เป็น support ด้านล่างมองมาทางซ้ายมือ ตรงที่เป็นจุดเลข 2 ก่อน ส่วนเลข 4 และ 5 หลักการก็แบบเดียวกัน


สุดท้ายดูว่า A/D ใช้ในการกำหนด Divergence อย่างไร หลัการทำงานของ A/D ถ้าเราดูจากชาร์ตและราคา พัฒนาการที่เป็นไปทางเดียวกัน คือสิ่งที่ต้องการเห็นเพราะว่า A/D บอกแรงถึง trading pressure ว่าอยู่ทางฝั่งที่ราคาเคลื่อนไหวชัดเจน ตามที่ราคาเปิดเผยออก มาดูที่เลข 1 A/D ทำ Higher High ได้เช่นเดียวกัน  ดูที่ราคาเห็นแท่งเทียนยาวๆ บอกถึงการเข้า Buy มากจนเกิดแท่งเทียนนี้อย่างรวดเร็ว และเส้น A/D ก็ชันขึ้นมากเช่นกัน ทั้ง A/D และราคาต่างทำ Higher High ได้เช่นเดียวกัน  ที่เลข 2 และเลข 3 ก็เช่นเดียวกัน รูปแบบการเกิดแบบนี้ทั้ง A/D และราคา ทำให้เห็นว่าเทรนพัฒนาการทางไหนและอย่างไร ก็เปิดโอกาสให้เราเทรดตามเทรนด้วยการใช้ A/D เป็นตัวบอกพื้นที่ได้ง่าย และใช้ price action หรืออาจเป็น chart pattern เข้าเทรดตามเทรนได้ง่าย เช่น อย่างการเปิดเทรด Buy ตรงแถวพื้นที่แนวรับที่ตีเส้นแนวนอนด้านล่าง

แต่มาดูตรงที่เลข 4 บอกการพัฒนาการของราคาและ A/D ที่เกิดขึ้น ราคายังคงทำ Higher High ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับที่เลข 1 2 และ 3 แต่พอมาดูที่เส้น A/D เป็นครั้งแรกที่เส้นไม่สามารถทำ Higher High ได้เช่นก่อน แต่กลับเป็น Higher Low ต่ำลงมากว่าจุด A/D ก่อน การที่ราคาไปทาง แต่อินดิเคเตอร์ไปทางแบบนี้เรียกว่า Divergence  เมื่อเปิดเผยแบบนี้ บอกนัยสำคัญว่า น่าจะเกิดการเปลี่ยนเทรนอีกไม่นาน การเปิดเทรดก็จะหาโอกาสเทรดตามทางที่ A/D เปิดเผยออกมา

การใช้ A/D อย่างเดียวไม่พอ ถ้าใช้กับทูลอื่นๆ หรือ Technical analysis อื่นด้วยจะเพิ่มความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น เช่น ใช้กับ Support/Resistance, Pivots หรือ Fibonacci Retracements หรือ Price Action เพื่อช่วยกันยืนยันว่า trading pressure จากฝั่งที่ต้องการ ได้เกิดขึ้น ณ จุดที่ต้องการหรือเปล่า