กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้อินดิเคเตอร์ Force Index

  • 0 replies
  • 3,261 views
การใช้อินดิเคเตอร์ Force Index
« เมื่อ: 30, มิถุนายน 2021, 06:48:50 PM »
การใช้อินดิเคเตอร์ Force Index

อินดิเคเตอร์ Force Index เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อวัดความแข็งของการเคลื่อนไหวที่อยู่เบื้องหลังของการเคลื่อนไหวของราคาว่ากำลังของฝ่าย Bulls (Buyers) และ Bears  (Sellers) เป็นอย่างไร เพื่อบอกว่าฝ่ายไหนกำลังควบคุมตลาดอยู่ โดยการทำงานของอินดิเคเตอร์ก็จะเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดขึ้นและฝ่ายไหนกำลังได้เปรียบในตลาด

อินดิเคเตอร์ Force Index ใช้ 3 ส่วนข้อมูลของตลาดมาเพื่อกำหนดคือ ทิศทางที่ราคาเคลื่อนไป (ขึ้นหรือลง) ระยะห่างที่ราคาได้เคลื่อนไหว (ขึ้นหรือลงเท่าไร) และวอลลูมการเทรดของช่วงเวลาเคลื่อนไหวนั้นๆ เพื่อมาวัดแรงของฝ่าย Buyers และ Sellers ว่าเป็นอย่างไร Force Index พัฒนาโดย Dr. Alexander Elder มีจุดประสงค์คือ ใช้งานเพื่อเป็น Oscillator ที่เป็นตัววัดแรงด้านขาขึ้น (Bullish Force) ตอนราคาขึ้น (Rally) และแรงด้านขาลง (Bearish Force) ตอนราคาลง ด้วยสูตรหาค่าดังต่อไปนี้

FORCE INDEX (i) = VOLUME (i) * ((MA (ApPRICE, N, i) - MA (ApPRICE, N, i-1))

FORCE INDEX (i) คือผลของ Force Index แท่งเทียน, VOLUME (i) คือ วอลลูมการเทรดของแท่งเทียน, MA (ApPRICE, N, i) คือ MA สำหรับวิธีการคำนวณแล้วแต่กำหนด มี Simple, Exponential, Weighted หรือ Smoothed ของแท่งเทียนสำหรับช่วง Period ที่กำหนด , ApPRICE คือ แบบราคาที่ใช้,  N จำนวนแท่งเทียนหรือ Period ที่จะใช้ และ MA (ApPRICE, N, i-1) คือ รูปแบบ MA ของแท่งเทียนก่อน ความยุ่งยากพวกนี้เราไม่ต้องกังวล แค่ใส่อินดิเคเตอร์ใส่ชาร์ตแล้วเลือกค่าเบื้องต้นสำหรับการตั้งค่าเท่านั้นเองก็ใช้ได้แล้ว

การใช้งาน Force Index


อินดิเคเตอร์ Force Index อยู่ในกลุ่ม Oscillators ในโปรแกรม Metatrader ใส่ได้ด้วยการไปที่ Insert -> Indicators -> Oscillators แล้วจากนั้นเลือก Force Index รูปแบบการแสดงผลก็จะอยู่ด้านล่างของชาร์ต ดูการแสดงผลของ Force Index จะแสดงเส้น Force Index เหนือและต่ำกว่าระดับ 0.00 และพร้อมทั้งระยะห่างจากเส้น รูปแบบการแสดง จะดูง่ายและชัดเจน บอกถึงพลังว่าอยู่ข้างไหน Bullish Force อยู่เหนือระดับ 0.00 หรือ Bearish Force อยู่ต่ำกว่าระดับ 0.00  และดูผล Force Index พัฒนาต่อเนื่องของแต่ละแท่งเทียนเป็นอย่างไร บอกถึงการเปลี่ยนแปลงของ Force แต่ละข้างเป็นอย่างไร ส่วนการตั้งค่าเบื้องต้นถือว่าง่าย Period = 3, Method = Simple, Apply To =  Close

การตีความสำหรับการเทรดด้วย Force Index


Force Index จะตีความ trading pressure ว่าเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น buying pressure หรือ selling pressure ด้วยหลักการตีความว่า Force ที่ไปทางไหนก็ตาม กำหนดด้วยทิศทางการเคลื่อนไหว ขนาดการเคลื่อนและวอลลูมที่เกิดขึ้นทาง (direction, scale, volume) ดังนั้น ถ้าราคาปิดสูงกว่าแท่งเทียนก่อนถือว่า Force เป็นบวก แต่ถ้าราคาปิดต่ำกว่าแท่งเทียนก่อน ถือว่าราคาปิดเป็นลบ ดังนั้นถ้าระยะห่างราคามาก ยิ่งบอกถึง Force มาก ถ้าวอลลูมาก ยิ่งบอกถึง Force มาก 

ดูเลข 1 ราคาปิดสูงกว่า และเหนือกว่าเส้นระดับ 0.00 ต่อมาเห็นว่าราคาขึ้น ขึ้นอย่างแรงและต่อเนื่องหลายแท่งเทียน ดู FI ยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร เช่นอย่างเราเปิด Buy ที่แท่งเทียนที่ 2 และ stop loss ตรงที่ swing low ด้านล่างแล้วถือรอ ปล่อยให้ FI ช่วยกำหนดว่าเราจะ take profit ตรงไหน จะเห็นว่าราคาได้เกิน High ก่อนนี้ที่เป็นแนวต้านขึ้นไปหน่อยหนึ่งแล้วค่อยหักหัวลง นั่นคือพื้นที่ปิดทำกำไร การที่จะเข้าใจตรงนี้ต้องเข้าใจการทำงานของออเดอร์ด้วย เพราะว่าพื้นที่ High ถือว่าเป็นแนวต้านหรือ Resistance หรือพื้นที่ Supply ล่าสุด ก็จะมี Sell limit เพื่อเข้าตลาด และมี Buy stop เพื่อเข้าตลาดเช่นกัน ของเทรดเดอร์ที่รอเข้า แต่เทรดเดอร์อีกกลุ่มที่ถือ positions อยู่ในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มที่ถือ short positions ถ้าราคาเบรคตรงนั้นได้พวกเขาจะเดือดร้อน เลยมีการกำหนด stop loss เข้าไปตรงพื้นที่เดียวกันกับ buy stop ทั้ง buy stop และ stop loss เป็นการกำหนดคำสั่งไว้ที่ตลาด ถ้าราคาปัจจุบันไปถึงออเดอร์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ก็จะทำงานเอง ดังนั้น ถ้าขาใหญ่เป็นฝ่ายที่เปิด Buy แล้วช่วงที่เห็น Force Index ที่บอกถึง Bullish Force เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหนือกว่า 0.00 แล้ว ดันสูงขึ้นมาเรื่อยและต่อเนื่อง พื้นที่ด้านบนที่กล่าวถ้าพวกเขาดันราคาไปถึงได้ ก็จะทำให้พวกเขาได้กำไรมากขึ้น และพวกเขายังมั่นใจว่ามีออเดอร์ตรงข้ามเพียงพอ ณ จุดราคาที่พวกเขาปิดทำกำไรด้วย [ อธิบาย ออเดอร์ตรงข้ามในที่นี้เป็นหลักการทำงานของออเดอร์ ถือว่า ถ้าการเทรด (trading transaction) จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีออเดอร์ทั้ง 2 ข้างคือ sell order และ buy order ณ วอลลูมและราคาเดียวกัน แล้วทำงานด้วยการ match-and-fill ถ้าสำเร็จกลายเป็น trading transaction การเปิดเทรดด้วยการเปิดเทรดเอง ณ ราคาที่ท่านต้องการ (market order) หรือกำหนดเข้าไป (pending order – sell limit/buy limit, sell stop/buy stop) หรือการออกเทรดด้วยการปิดเอง การกำหนด stop loss หรือ take profit ทั้งหมดล้วนเป็น order ดั้งนั้น ต้องการออเดอร์ตรงข้ามเสมอ] การปิดทำกำไรส่วนที่เกิด High ขึ้นไปเท่ากับว่าขาใหญ่เปิด Sell เลยได้ออเดอร์ตรงข้าม หรือ Buy จากพื้นที่ Buy stop และ stop loss นั่นเอง

พื้นที่เลข 2 ก็แบบเดียวกันกับเลข 1 แต่พื้นที่เลข 2 เป็นการเทรดสวนเทรน แต่ด้วย FI ยืนยัน เลยเปิดโอกาสให้เทรดตอนราคาลงมาทดสอบหรือทำ Corrective move ได้


ภาพประกอบเดิม แต่มองว่าเราจะใช้ Force Index ในการเทรดอย่างไร ต่อจากการตีความและเข้าใจด้านบน ดูที่เลข 1 อีกรอบ รอบนี้มีการตีเส้น Swing highs/lows ต่อเนื่องที่บอกถึง Market structure ว่ากำลังพัฒนาไปทางไหนประกอบ  หลังจากที่ราคาได้เบรค High ราคาลงมาทดสอบหลายรอบไม่ผ่าน พื้นที่ตรงนั้นมองว่าเป็น Support (S1) บอกว่าเทรนขาขึ้น แต่ดู Force Index ไม่เห็นพัฒนาการชัดเจนจนกว่ามาถึงพื้นที่เลข 3 ที่ดันขึ้นจากด้านล่างแล้วมาเหนือกว่าระดับ 0.00 พัฒนาการชัดเจน และตามเทรนด้วย เลยเปิดโอกาสให้ Buy ส่วน stop loss ใต้พื้นที่ S1 เล็กน้อย การเปิดแนะให้ดู Price Action ประกอบ เช่น Pin Bar, หรือ Engulfing Bar พื้นที่เลข 1 คือการใช้ Force Index เพื่อดู Bullish Force พัฒนาการอย่างไร แล้วเทรดตาม เป็นหลักการใช้เพื่อเทรดแบบ Trend Following

ดูที่เลข 2 หลังจากที่เลข 1  ขึ้นไปแล้วเบรค High แต่ราคาไม่ไปต่อ เราเห็นราคาได้สร้าง Support (S2) และ Force Index กำลัง Bullish Force ลดลง เปิดโอกาสให้เราเทรดแบบ Correction หรือทดสอบเทรด ส่วนที่เลข 3 หลักการเดียวกันกับเลข 1

เมื่อเข้าใจว่า Force Index ใช้หลักการหา Bullish Force และ Bearish Force อย่างไรก็สามารถนำไปใช้กับกลยุทธ์การเทรดต่างๆ ได้ ทั้งการเทรดแบบระยะสั้น ระยะกลางหรือระยะยาวใช้ได้หมด แล้วแต่กลยุทธ์ของเทรดเดอร์แต่ละคน