กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Market sentiment ใน cTrader

  • 0 replies
  • 971 views
Market sentiment ใน cTrader
« เมื่อ: 01, มิถุนายน 2021, 02:09:13 PM »
Market sentiment ใน cTrader

เดี๋ยวนี้หลายๆ โบรกเกอร์เปิดเผย Market sentiment ออกมาให้ลูกค้ารายย่อยได้ใช้ประโยชน์ในการเทรด Market Sentiment ถือว่าสำคัญเพราะว่าเป็นตัวบอกว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ที่ถือ Positions อยู่ ณ ตอนนั้นๆ เป็นอย่างไรเมื่อเทียบสัดส่วนกันระหว่างฝ่าย Sellers และ Buyers ช่วยให้เราเห็นว่าเทรนที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร เป็นช่วงเริ่มต้นเทรนหรือราคามามากแล้วก็จะช่วยให้เราหา Overbought/Oversold ได้ง่าย เพื่อจะได้หาโอกาสว่าจะเทรดตามเทรนหรือเทรดสวนเทรน

Market Sentiment ใน cTrader ดูที่ไหน


ดูภาพประกอบ เมื่อท่านเปิดชาร์ต cTrader ส่วนด้านบนสำหรับ QuickTrade Buttons ที่มีเส้น scale สีส้มและสีเขียวด้านล่าง เมื่อท่านขยับเม้าส์ไปทับ ท่านก็จะได้ข้อมูลเพิ่มเติ่มสำหรับ Sentiment ของสินค้านั้นๆ ในตัวอย่างเป็น XAUUSD จากโบรกเกอร์ Pepperstone ทางด้านช้าย และ IC Markets ทางขวามือ ก็จะบอกว่าตอนนี้มีบัญชีเทรดลูกค้าที่ถือ (open positions) คาดว่าราคาจะลง หรือเรียกว่าถือ Short positions นับเป็น 54% ส่วนทางขวามือที่เป็นสีเขียว ทางตรงกันข้ามที่ถือรอ คาดว่าราคาจะขึ้นต่อ หรือถือ Long positions นับเป็น 46% ดังนั้นการบอกหรือรายงาน Sentiment ของสินค้านั้นๆ คือบอกว่ามีเทรดเดอร์ถือ positions ทางด้านไหนเท่าไร เทียบเป็นสัดส่วนเปอรเช็นต์ เช่นจากภาพประกอบตอนนี้เราก็จะเห็นว่าสัดส่วนไม่ต่างกันมาก สถานะตลาดไม่ได้เป็นช่วง Overbought หรือ Oversold แต่เห็นว่าสัดส่วนด้านที่ถือ Short positions มากกว่า ก็คือเทรดเดอร์เทรดทาง Sell เป็นหลักเมื่อดูจาก Sentiment ที่บอก แต่ไม่ได้หมายความว่าราคาจะลงทันที หลักการใช้ Sentiment คือใช้เป็นส่วนประกอบเสริมในการวิเคราะห์สำหรับการเทรด ไม่ใช่เป็นตัวกำหนดว่าจะเปิดเทรดตามทันที

โบรกอื่นๆ ก็มี Sentiment เช่นเดียวกัน


อธิบาย Sentiment ใน Platform ของโบรกอื่นเพื่อประกอบว่าทำไม Sentiment ช่วยกรอง trade setup ได้มาก ดูที่เลข 1 เป็นส่วนของ myfxbook.com เรียกส่วนนี้ว่า Community Sentiment (https://www.myfxbook.com/community/outlook)
ส่วนที่เลข 2 เป็นการคัดลอกเฉพาะส่วน Sentiment จากโบรกเกอร์ Dukascopy ที่มีบริการข้อมูลส่วนนี้เช่นกัน (https://www.dukascopy.com/swiss/english/marketwatch/sentiment/) และที่เลข 3 เป็น Sentiment จากโบรกเกอร์ Oanda  และเลข 4 จาก IG (https://www.dailyfx.com/sentiment)

หลักการไม่ต่างกัน รวมทั้งของ cTrader แต่เนื่องจากตลาดฟอเรกไม่ได้เป็นแบบ Centralized trading server แบบตลาด Futures หรือ Opitions ที่ข้อมูลมาจากแหล่งเดียวกัน สำหรับ Sentiment ของตลาดฟอเรก เลยต่างกันออกไปแล้วแต่ละโบรก แต่ที่สำคัญคือเราได้เห็นการเคลื่อนว่าเป็นไปทางเดียวกันหรือเปล่า  ข้อดีของเรื่อง sentiment คือเราได้เห็นว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่เทรดทางไหน เลยสามารถเห็น overbought/oversold ได้ง่าย

Sentiment กับ mindset ของเทรดเดอร์


ดูภาพประกอบนี้  เราจะเห็นว่า GBPUSD มองดู Sentiment จะเห็นว่ามีสัดส่วน 73% ที่ถือรอว่าราคาน่าจะลงต่อ และเราดู RSI ประกอบเพื่อดู Overbought/Oversold ราคายังดันขึ้นไปต่ออยู่ สถานะ RSI ตามที่เราศึกษามาก็จะไปอยู่หรือมากกว่าเส้น 70 ด้านบน ถ้าเราเห็น Price Action ประกอบเกิด Divergence คนละทางกับ RSI นั่นคือสัญญาณเบื้องต้นว่าราคาจะเปลี่ยนเทรน แต่เรายังเห็นแท่งเทียนยาวๆ ดันขึ้นไปอีก ทั้งที่ Sentiment มากไปทางลง ต้องไม่ลืมว่า Sentiment ส่วนมากที่ถือ Positions รออยู่เป็นรายย่อย ไม่ใช่ขาใหญ่ เป็นไปได้ว่าขาใหญ่อาจดันราคาขึ้นก่อน แล้วเข้าเทรดที่เรียกว่า Sell High ด้วยการดันราคาแตะ stop loss ก่อน เพื่อเข้าตลาดราคาที่ดีกว่า แล้วค่อยดันราคาลงมา นี่คือส่วนสำคัญที่จะกล่าว คือเรื่องของ Mindset ของเทรดเดอร์ โดยเฉพาะที่ถือ positions ในตลาดเพราะการเทรดเกิดขึ้นได้ ต้องการออเดอร์ตรงข้ามที่เราเปิดเทรดเสมอ ดังนั้นเมื่อขาใหญ่จะเปิดเทรดเช่น Sell ในที่นี้ และเห็นว่า Sentiment ส่วนมากไปทางลง พวกเขาก็เห็นว่า มีการกำหนด stop loss แน่ๆ พวกเขาก็ดูว่าน่าจะอยู่ตรงไหน ส่วนมากก็จะอิง high/low ที่ใกล้ๆ พวกเขาต้องการเปิด Sell ดังนั้นพวกเขาต้องการ Buy ที่พวกเขาหาได้แน่ๆ คือจาก stop loss นั่นเอง [กรณีนี้ เรื่องของ Stop hunt คือตัวอย่างและคำอธิบายที่ดีสุด] และถ้าพวกเขาทำให้ market structure เปลี่ยนไปได้ เทรดเดอร์ที่รอเข้า ก็จะเข้าเทรดตามทาง market structure ใหม่ที่เกิดขึ้น ราคาก็จะดันไปทางนั้นๆ ได้ง่ายด้วย


อีกตัวอย่างประกอบ Sentiment ช่วยให้เราเทรดตามเทรนหรือ Momentum ได้ง่าย จากที่อธิบายเรื่อง mindset โดยเฉพาะของเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด ก็จะมีส่วนเร่งราคาและดันส่วน Sentiment ให้เราเห็นและเข้าใจว่าจะเรียนรู้และเทรดตามอย่างไรได้ง่าย อย่าง AUDJPY หลังจากราคาเบรคส่วน Long ก็มาถึง 66% เป็นไปได้ที่จะไปต่อถึงด้านบน ถ้าเราดู RSI ยังไม่ถึงพื้นที่ Oversold และยังมี trapped traders ตรงพื้นที่เส้นที่ราคาเบรคขึ้นไปอีก ถ้าขาใหญ่ต้องการจะเปิดเทรดบ้าง เป็นไปได้สูงที่พวกเขาจะดันราคาขึ้นไปเพราะ stop loss ของเทรดเดอร์พวกนี้ แล้วพวกเขาไปเปิด Sell แถวพื้นที่ด้านบน หรืออาจขึ้นไปเกินเล็กน้อย แล้วดันราคามาอย่างรวดเร็วแบบ Stop hunt เพื่อเข้าเทรด พอถึงตรงนั้น สัดส่วน Sentiment ถ้าเราเห็นเช่น Long สัก 70% และ Short สัก 30%  สัดส่วนต่างกันมากและอาจเห็น RSI ไปเหนือกว่า 70 นั่นคือสัญญาณที่ Sentiment บอก Overbought ที่ยืนยันด้วย RSI ถ้าเห็น Price Action ที่บอก Reversal นั่นคือการเข้าเทรดของขาใหญ่ ได้เวลาเปิดเทรด Sell ตามได้เลย เช่นเห็น Pin Bar, หรือ Engulf Bar หลังจาก Stop hunt

ดังนั้น Sentiment ช่วยให้เราเห็นว่าเทรดเดอร์ที่ถือ positions สัดส่วนเป็นอย่างไร Market structure ยังไปทางทางเดิมหรือเปล่า เมื่อสัดส่วนเพิ่มขึ้น หรือถ้า market structure เปลี่ยน กระทบถึงจุดที่ mindset ของเทรดเดอร์พวกนี้ได้อย่างไร จุดไหนเป็นจุดเดือดร้อนที่ต้องมีการจำกัดความเสี่ยง ก็จะช่วยให้เห็นภาพตลาดว่าช่วงไหนน่าจะเทรดตามเทรน หรือ น่าจะเทรดสวนเทรนได้ง่าย