กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เข้าใจ Liquidity ช่วยหาพื้นที่การเทรดง่ายขึ้น

  • 0 replies
  • 7,012 views
เข้าใจ Liquidity ช่วยหาพื้นที่การเทรดง่ายขึ้น

เรื่องของ Liquidity ถือว่าเป็นส่วนประกอบของตลาดที่ต้องเข้าใจก่อนที่จะเทรด สำหรับรายย่อยเราอาจไม่เห็นความสำคัญของ Liquidity เท่าไร เพราะว่ารายย่อยเกิดเทรดด้วยจำนวนน้อย เปิดตอนไหนก็เปิดเทรดได้ เลยแทบไม่รู้ด้วยว่า Liquidity มีหรือเปล่าหรือสำคัญอย่างไร แต่ถ้าเป็นขาใหญ่ที่เทรดด้วยจำนวนเยอะมากๆ Liquidity เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องเห็นชัดเจนก่อนที่จะเปิดเทรดหรือออกจากการเทรด ไม่งั้นด้วยการเปิดเทรดของพวกเขาก็จะกระทบต่อราคาทำให้ราคาเคลื่อนเร็ว พวกเขาไม่ได้เข้าเทรดหมด หรือออกหมด ณ ราคาที่ต้องการ แต่เห็นการเร่งให้เคลื่อนเร็วกว่าเดิม

Liquidity คืออะไรและสำคัญอย่างไร


เมื่ออธิบายเรื่องของ Liquidity ต้องอธิบายด้วยการทำงานของ Order เพราะออเดอร์เป็นตัวทำให้เกิด เพิ่ม และลด Liquidity แต่ละราคา และทำให้ราคาวิ่งไปต่อเลยทำให้ตลาดเกิดการเคลื่อนไหว ในภาพประกอบด้วยชาร์ต EURUSD และ Depth of Market ที่บอกถึง Limit orders ที่อยู่ในตลาด [เนื่องจากตลาดฟอเรกเป็นตลาดแบบ Decentralized trading servers ข้อมูลสำหรับ Feed ราคาและออเดอร์เลยต่างกันออกไปแล้วแต่ละโบรกเกอร์ ต่างจากตลาดที่เป็น Futures หรือ Options ที่ Feed ราคาจาก Centralized trading server ซึ่งข้อมูลเดียวกันหมด เลยทำให้เรื่องของการเทรดด้วยหลักการ Volume หรือ Depth of Market ในตลาดฟอเรกไม่ค่อยนิยมกันเท่าไร แต่ก็มีหลักการทำงานเดียวกัน แค่ไม่เห็นตัวเลขทั้งหมดเท่านั้น]

Liquidity บอกถึงตลาดหรือสินค้าที่เราเปิดเทรด เมื่อเราสามารถเปิดเทรด ณ ราคานั้นๆ ได้ไม่กระทบต่อราคา เช่นเมื่อเราเปิดเทรด Buy การเปิดเทรดจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้าม และล็อตเท่ากัน อยู่ ณ ราคานั้น [ก็จะรวม Spread เข้าไปด้วย ดังนั้นเมื่อเปิดเทรดด้วย Buy market order ออเดอร์ตรงข้าม ณ ราคาปัจจุบันคือราคา Ask ในทางกลับกันเมื่อเปิด Sell market order ออเดอร์ตรงข้าม ณ ราคาปัจจุบันคือราคา Bid] การทำงานออเดอร์ตรงนี้ระหว่าง 2 ทั้งข้างเขาเรียกว่า "match-and-fill" กันได้ การเทรดเลยเกิดขึ้นหรือเรียกว่า trading transaction เกิดขึ้นได้ ณ ตรงนั้น 

ดูว่าขบวนการจองออเดอร์ทำให้ Liquidity มันเพิ่มและลดอย่างไร อย่างแรกเลยคือ Limit order (หรือ Pending order) ไม่ว่าจะเป็น Sell limit หรือ Buy limit ที่กำหนดเข้าไป ณ ราคาที่กำหนด เช่นกำหนด Sell limit ไปที่ 1.21265 ด้วย 32.00 และ 1.21266 ด้วย 30.00 และ 1.212167 ด้วย 180.00 ตามภาพประกอบ เท่ากับว่าเพิ่ม Liquidity เข้าไป แต่ละราคาตามจำนวน เช่นเมื่อเปิดเทรดด้วย Buy market order ด้วย 50.00 vol (หน่วยเป็นล้านวอลลูม) ราคาก็จะ match-and-fill ที่ 1.21265 ด้วย 32.00 และไปที่ 1.21266 อีก 28.00 ก็จะทำให้ราคาขึ้น และราคา Ask ก็จะกลายมาเป็น 1.21266 จะเห็นว่าออเดอร์ที่เราเปิดเทรดหรือ Buy market orders จะเป็นตัวลด Liquidity ณ ราคานั้นๆ ที่มีการเปิดเทรดเกิดขึ้น เมื่อ Liquidity หรือออเดอร์ตรงข้ามไม่พอก็จะไปที่ราคาต่อไป  ดังนั้นการพิ่ม Pending orders เท่ากับการเพิ่ม Liquidity เข้าตลาด และการเปิดเทรดด้วย Market orders เท่ากับเป็นการลด Liquidity ออกจากตลาด

ความสัมพันธ์ระหว่าง Orders และ Positions ทำให้เกิด Dynamic Liquidity


นี่เป็นภาพประกอบจาก Oanda Orderbook คู่ EURUSD นำมาเพื่ออธิบายว่า Orders และ Positions เป็นอย่างไร ด้านซ้ายเป็น Positions (Positions คือออเดอร์ที่เราเปิดเทรดแล้ว ยังถืออยู่ยังไม่ได้ออกจากตลาด ถ้าเป็น Buy ออเดอร์ตอนเราเปิดเทรดเป็น Long Position ถ้าเป็น Sell ออเดอร์ตอนเปิดเทรดก็เป็น Short Position) ด้านขวาเป็น Orders  ที่ต้องการให้ดูคือด้านช้าย Orders คือเราจะเห็นว่าพื้นที่ตรงไหนมี Liquidity มากด้วยการดู Scale ที่ยื่นออกมา ยิ่งยาวมากยิ่งสะสมออเดอร์ที่อยู่ในตลาดมาก เช่นอย่างพื้นที่ลูกศรชี้ที่เลข 1 จะเป็น Sell limit ของเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าเทรด + Take profit ของเทรดเดอร์ที่ถือ Long ตรงพื้นที่เลข 3 ของชาร์ตทางซ้ายมือที่ต้องการออกเทรด, เลข 2 จะเป็น Sell stop ของเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าเทรด ก็จะเป็นพวก Breakout เทรดเดอร์ + Stop loss ของเทรดเดอร์ที่ติดลบตรงพื้นที่เลข 4 ทางด้านซ้ายมือที่ต้องการออกจากตลาดเพื่อจำกัดความเสี่ยง

ส่วนสำคัญที่ต้องการบอกในที่นี้คือ Stop orders (Buy stop หรือ Sell stop) และ Stop loss เป็นออเดอร์ที่กำหนดไว้ที่ตลาดเมื่อราคาปัจจุบันไปแตะก็จะกลายเป็น Market order ทันที ถ้ามากพอหรือเกิน Limit orders ที่เพิ่ม Liquidity เข้าตลาด ณ ราคานั้นๆ ก็จะทำให้ราคาเคลื่อนได้เร็ว ทั้งการกำหนด pending orders เข้าไป กำหนด take profit/stop loss เข้าไป หรือการเปิดเทรดเองด้วย market orders เลยทำให้เกิด Dynamic liquidity

Liquidity กับการวิเคราะห์การเทรด


จากที่อธิบายมาเรารู้ว่า market order เป็นตัวลด liquidity ในตลาดที่มากขึ้นเพราะ limit orders ณ ราคานั้นๆ อย่างที่ได้อธิบายการทำงานด้วยชาร์ตที่มี Oanda Orderbook และเรารู้ว่าขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะมากๆ และการเปิดเทรดหรือจัดการการเทรดจะเกิดขึ้น ณ จุดที่ต้องการได้ ต้องการออเดอร์ตรงข้าม ที่ที่ชาร์ตบอกเราว่ามี trading transactions เกิดขึ้นตรงไหน ทำให้เรารู้ว่ามี long/short positions อยู่ตรงไหนบ้าง ยิ่งถ้าผ่านเวลานานด้วยการ consolidation เรายิ่งรู้ว่ามี long หรือ short positions สะสมขึ้นมากด้วย สิ่งที่ขาใหญ่เห็นได้คือว่าพวกเขาจะหา liquidity จากตรงไหนเพื่อเข้าเทรด หลักๆ ก็จะมาจากการกำหนด stop loss ถ้าราคาวิ่งสวน พวกที่เปิด short หรือ long positions ว่าน่าจะกำหนดไว้ตรงไหน ดูที่เลข 1 และ 2 คือพื้นที่ขาใหญ่เห็น stop orders แล้วดันราคาลงมาหา demand ด้านล่างเพื่อเข้าเทรด

ที่เลข 3 เทรดเดอร์ที่ถือ short positions เห็นราคาลงมาแล้วแต่เริ่มดันขึ้นก็ออก เท่ากับเปิด Buy เทรดเดอร์ที่เห็นราคาลงมาหา Demand เริ่มดันขึ้นก็เข้าเทรด Buy เอง เลยทำให้เกิด buy market orders ได้มากและเร็ว เลยทำให้ลด sell limit liquidity ได้เร็วเลยเห็นเป็นช่วงขาขึ้น พอราคาดันถึงพื้นที่เลข 4 ที่มี stop loss ของกลุ่มเทรดเดอร์ที่ถือ short positions และ buy stop ของ breakout traders ที่ต้องการจะเข้าตลาด เลยยิ่งทำให้เกิดแท่งเทียนยาวๆ เพราะการลด liquidity อย่างรวดเร็ว เลยดันขึ้นไปหา liquidity ที่ราคาต่อไป

การเข้าใจว่า liquidity เพิ่มและลดเพราะอะไร เทรดเดอร์กลุ่มไหนที่ต้องการใช้ประโยชนจาก liquidity และการเพิ่มและลด liquidity มีผลต่อการเคลื่อนอย่างไร ก็จะช่วยให้เรารู้ว่าควรจะเปิดเทรดตรงไหนดี เมื่อเปิดเทรดแล้วควรถือกำไรรอต่อตรงไหนเพราะอะไร