กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

แท่งเทียน Heikin-Ashi กับแนวรับ-แนวต้าน

  • 0 replies
  • 775 views
แท่งเทียน Heikin-Ashi กับแนวรับ-แนวต้าน
« เมื่อ: 01, พฤษภาคม 2021, 08:20:39 AM »
แท่งเทียน Heikin-Ashi กับแนวรับ-แนวต้าน

เนื่องจากแท่งเทียนแบบ Heikin-Ashi มาจากการคำนวณค่าเฉลี่ยเพื่อหาค่า Open, High, Low และ Close จาก 2 แท่งเทียนเพื่อสร้างแท่งเทียน เลยทำให้การใช้แท่งเทียนแบบ HA บอกเรื่องของเทรนได้ง่ายกว่าแท่งเทียนแบบ Standard และยังจัดการพวก Noise ต่างๆ ที่เกิดจาก Price Action ที่เกิดจากแท่งเทียนจากช่วงเวลาสั้นๆ ออกไป เลยทำให้เห็นภาพของเทรนและ consolidation ชัดเจนกว่า และยังสามารถบอกถึงความแข็งของเทรนและทิศทางของเทรนได้ดีกว่าแท่งเทียนแบบ Standard และด้วยการหาค่าแท่งเทียนของ HA ก็จะไม่เห็นว่าชาร์ตมี Gap เกิดขึ้นแบบในชาร์ตแท่งเทียนแบบธรรมดาด้วย ด้วยการเคลื่อนของราคาแบบนี้เลยทำให้เราเห็นพื้นที่ว่าราคาโต้ตอบแนวรับ-แนวต้านที่ไหน หรือว่ากำหนดบริเวณที่เกิดแนวรับ-แนวต้านที่ไหนได้ง่ายด้วย แต่เนื่องจาก HA เป็นอินดิเคเตอร์ที่อ่านข้อมูลจากสิ่งที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็น lagging information การใช้งานควรใช้กับชาร์ตแบบแท่งเทียนหลัก เป็นตัวเสริมหรือยืนยันการเคลื่อนที่กำลังเกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร

จะไม่เห็น GAP หรือช่องว่างระหว่างราคาของแท่งเทียน


ช่องว่างระหว่างราคาหรือ GAP จะเห็นประจำเมื่อมองแท่งเทียนแบบ Standard เห็นได้บ่อยช่วงหลังตลาดปิด เปิดมาวันจันทร์หรือข่าวทางเศรษฐกิจแรงๆ ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เกิดขึ้นแบบทันที แต่ในชาร์ตแบบ HA จะไม่มีให้เห็นเพราะการหาค่าแท่งเทียนไม่ได้แค่จากราคา OHLC  ของการเปิดเทรดแต่ละช่วงแท่งเทียน แต่เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ย OHLC จาก 2 แท่งเทียน ตรงส่วนนี้อาจไม่ได้ช่วยสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดแบบหาจังหวะที่ราคาวิ่งปิด GAP นั้นเพราะหลักการทำงานของออเดอร์

Rejection และ Break ของแท่งเทียน HA เทรดแนวรับ-แนวต้านได้ง่าย


หลักการวิเคราะห์ด้วย Technical analysis ที่นิยมกันคือดูว่าราคาเปิดเผยอย่างไรแต่ละพื้นที่ ก็จะดูเรื่องของ Rejection ที่ราคาเด้งไปแล้วไม่สามารถผ่านไปได้ ที่เป็นหลักพื้นฐานของการมองแนวรับ-แนวต้าน ราคาจะไปต่อได้ก็ต่อเมื่อมีการ Break แนวรับ-แนวต้านก่อน แล้วก็จะสร้างแนวรับ-แนวต้านใหม่ขึ้นมาอีกฝั่งตรงข้าม การดูว่าราคา Rejection เป็นอย่างไร ก็จะดูว่าราคาเด้งออกพื้นที่ไหน โดยส่วนมากก็จะเป็นพื้นที่เดียวกัน ถ้าเป็นรูปแบบแท่งเทียนก็จะเห็นหางแท่งเทียน ยาวๆ พื้นที่เดียวกัน หรือถ้าเป็นรูปแบบ HA price action ก็จะเห็นแค่รูปของ Doji และ Spinning Tops หลักการตีความหมายก็เป็นแบบเดียวกันกับแบบ price action ใน Standard candlesticks แต่เนื่องจากการหาค่าแท่งเทียนของแบบ HA มาจากการคำนวณหาค่า 2 แท่งเทียน ก็จะทำให้เห็นภาพของ Rejection ชัดเจนกว่า เลยทำให้เราหาพื้นที่แนวรับ-แนวต้านได้แม่นกว่า แต่การเปิดเทรดก็ต้องดู Price action ประกอบ แต่ด้วยเรื่องของ rejection และ break ของ HA จะช่วยให้เราหาพื้นที่พวกนี้ได้ง่ายกว่า

ดูที่พื้นที่เลข 1 ทั้งส่วนของแท่งเทียนแบบ Standard และ HA ว่าเปิดเผย rejection อย่างไร พอราคาลงมาจะเห็นหลายแท่งเทียนอยู่พื้นที่เดียวกันได้ไม่ต่างกัน แต่มองดูแต่ละแท่งเทียนจะเห็นว่าทางด้าน HA จะให้ข้อมูลว่า Rejection เพราะ นอกจากจะหลายแท่งเทียนแล้ว ส่วนหางแท่งเทียนด้านล่างหรือ lower wicks บอกถึงการเข้าเทรดของทางฝ่าย Buy trading pressure แต่ขณะเดียวกันทางฝ่าย Sell trading pressure ด้วย upper wicks ของแท่งเทียนไม่มีเลยบอกถึงแรงต่อเนื่องด้าน Sell มาก และดูเรื่องความพยายามและผลที่ตามมาแต่ละข้าง จะเห็นว่าความพยายามด้วย Buy ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากนั้นเรื่องของออเดอร์ยังบอกว่ามีการใช้ Buy ออเดอร์ไปด้วยก็ยิ่งจะทำให้ buy trading pressure ลดลงไปด้วย  rejection รูปแบบแท่งเทียนของ HA ทำให้เราเห็นชัดเจนกว่าว่าแนวรับ-แนวต้านเกิดที่ไหน


ตัวอย่างนี้ให้มองเรื่องของ market structure ประกอบ เพราะราคาเบรค Resistance และก็ทำ Higher lows ขึ้นมาเรื่อย พื้นที่พวกนี้เป็นจุดบอกถึง Rejection เป็นอย่างดี ดูตอนที่ราคาเบรคจะเห็นชัดเจนมาก ดูตรงที่ลูกศรชี้ที่บอก Resistance แม้มี trading press ตอบสนอง Resistant ที่คาดหวังได้ แต่ดูเรื่องของความพยายามและผล ราคาไม่สามารถทำ New low ได้บอกถึงความกดดันลดลงเรื่อยๆ และขนาด Body แท่งเทียน HA ก็น้อยลงด้วย ต่างจากตอนที่ดันขึ้นไป ต่อเนื่อง และ lower wicks แทบไม่มีเลย กลับมาที่จุดราคาเบรค ดูการเปิดด้วยแท่งเทียนสีเดียวกัน ไม่มี lower wicks เลย  จึงเห็นภาพ rejection ด้วยแท่งเทียนที่ตามมาเป็น Doj หรือ Spinning tops ที่เปิดโอกาสให้เทรดต่อตามได้ง่าย

แท่งเทียน HA ยังใช้กับ Chart patterns ได้ดีด้วย


แท่งเทียนแบบ HA นอกจากจะช่วยลด Noise จาก Price Action ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบต่างๆ เมื่อมองจากแท่งเทียนแบบ Standard และยังช่วยให้เห็นเทรน และหาพื้นที่แนวรับ-แนวต้านได้ง่ายด้วย เนื่องจาก HA ช่วยให้เห็นการเคลื่อนที่ชัดเจน เลยเสริมการใช้งานกับการเทรดด้วย Chart patterns ต่างๆ ได้ดีด้วย เพราะว่ารูปแบบการวิเคราะห์ด้วย Chart patterns เป็นการวิเคราะห์รูปแบบ market structure ที่อาจจะเกิดขึ้นแบบเดิมๆ เพราะพฤติกรรมการของชาร์ตมักจะโต้ตอบแบบเดิมๆ การใช้รูปแบบชาร์ต HA เข้าไปเสริม ก็จะทำให้เห็นการเคลื่อนแต่ละส่วนประกอบของ Chart patterns ชัดเจนขึ้น

ภาพแบบด้านบนเห็นเลข 1 2 และ 4 เป็นรูปแบบ chart pattern แบบ Triangles พอราคาเบรคเกิดขึ้นก็บอกเทรนที่จะเกิดขึ้นเปิดโอกาสให้เราเทรดตามได้ง่าย และเลข 3 เป็นรูปแบบ Head and Shoulders และด้วยการหาแท่งเทียนแบบเฉลี่ยจาก 2 แท่ง เมื่อนำมาประกอบในการวิเคราะห์ chart patterns ก็จะให้เราเห็นแต่ละส่วนประกอบรูปแบบต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น

การใช้อินดิเคเตอร์ HA เพื่อกำหนดรูปแบบแท่งเทียนแบบ HA เป็นอีกทูลที่ช่วยให้มีการกรอง Noise หรือ fake signal ที่เกิดจาก price action ได้ และยังช่วยให้กำหนดเทรนได้ง่าย และดูว่าเทรนยังแข็งพอที่จะไปต่อได้ง่ายอีกด้วย เห็น momentum จากขนาด Body ของแท่งเทียน เห็น trading pressure จากจำนวนต่อเนื่องแท่งเทียนทางเดียวกันและ Wick นอกจากนั้นยังช่วยให้หาแนวรับ-แนวต้านได้ง่าย กำหนดเทรนไลน์ก็ได้ หรือแม้แต่การดูตอนจังหวะราคาย่อตัวตอนทดสอบเทรนก็ดูได้ง่ายด้วย