กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

กลยุทธ์ 20 EMA + Price Action

  • 0 replies
  • 833 views
กลยุทธ์ 20 EMA + Price Action
« เมื่อ: 24, เมษายน 2021, 06:34:13 PM »
กลยุทธ์ 20 EMA + Price Action

การใช้ Moving Average  ช่วยในการเทรดถือว่าเป็น Technical analysis ที่ง่าย เพราะการตีความจากราคาสัมพันธ์กับเส้น MA ไม่ยาก และหลายๆ เทรดเดอร์ก็อาจใช้หลายเส้น MA ต่างค่า Periods หรือแท่งเทียนเพื่อหาค่าเฉลี่ยในการกำหนดเทรน หลาย timeframe ประกอบกันเพื่อหาจุดเข้าที่แม่นกว่า บทความที่จะกล่าวที่นี้เป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการใช้ MA สำหรับเปิดเทรด แต่เป็นกลยุทธ์การการเปิดเทรดที่ง่ายและตรงประเด็น เพราะใช้แค่ Price Action ที่ใช้กับเส้น 20 EMA ในการกำหนดเทรน เปิดเทรดตามเทรนที่เกิดจาก MA ด้วยการดูสัญญาณหรือจังหวะการเปิดเทรดจากรูปแบบ Price Action ต่างๆ [บทความนี้เน้นไปที่การใช้งาน ไม่ได้อธิบายรายละเอียดการตั้งต่าง MA]

เส้น 20 EMA กำหนดเทรนอย่างไร


ค่ากำหนดเบื้องต้น ส่วนอื่นๆ เป็นค่า defaults เป็นหลัก แค่ปรับ Periods เป็น 20 และ MA method เป็น Exponential และใช้กับราคา Close คำว่า Periods ในที่นี้คือจำนวนแท่งเทียนที่จะนำมาหาค่า MA ด้วยวิธีการหาค่าแบบ Exponential  จุดประสงค์ของการใช้เส้น MA ในที่นี้คือกำหนดเทรน หรือหาจุดเปลี่ยนเทรน หลักการบอกว่า ถ้ากำหนดเทรนเป็นด้วยทูลอะไรก็ตาม ก็จะหาจุดเปลี่ยนเทรนเป็นด้วยเพราะการกำหนดเทรนต้องเข้าใจว่าเทรนกำหนดอย่างไร หลักการกำหนดเทรนสำหรับ MA คือถ้าราคาเหนือกว่าเส้น MA ถือว่าเป็นเทรนขาขึ้น และถ้าราคาต่ำกว่า เส้น MA ถือว่าเป็นเทรนขาลง ให้ดูเรื่องของ slope ของเส้นประกอบ ถ้าราคาทำเทรน เส้นจะไม่เป็นเส้นตรง ดังนั้นเมื่อดูแบบคร่าวๆ จากเส้น เส้นทำเทรน ควรจะไม่เป็นเส้นตรง และหลักการใช้ MA ในกำหนดการเทรดมี 2 อย่างหลักๆ คือเทรดราคาเด้งออกจากเส้น และเทรดตอนราคาห่างจากเส้นมากแล้ว วิ่งกลับเข้ามาหาเส้น [มองเป็นการเทรดแบบ Pullback และ Correction ก็ว่าได้] บทความนี้จะเน้นการเทรดแบบ Pullback เป็นหลัก

กลยุทธ์เทรดเด้งกลับเทรนด้วย 20 EMA + Price Action


หลักการคือ ใช้ 20 EMA ในการกำหนดเทรน เริ่มที่ด้านช้าย ตรงจุดที่บอกว่า 20 EMA กำหนดเทรน ราคาได้ตัดลงต่ำกว่าเส้น MA เนื่องจากหลักการทำงานของ MA คือการหาค่าจากจำนวนแท่งเทียนหรือ Periods ที่กำหนดในส่วนของ Settings เท่ากับ 20 กว่าเส้น MA ที่แสดงออกมาหักหัวลงด้วยองศา slope ที่เอียงลงชัดเจน มองดูราคาก็ได้วิ่งไปเยอะมากแล้ว ถือว่าเป็นข้อเสียและข้อดีของการหาค่าแบบ MA ก็ว่าได้ ข้อเสียคือ มันช้า หรือเป็นอินดิเคเตอร์ประเภท lagging information คือราคาได้เคลื่อนไปเยอะแล้ว เส้นค่อยแสดงเทรนชัดเจน แต่ข้อดีก็มีคือ มันเป็นการยืนยันว่าเทรนเปลี่ยนจริงด้วย เราจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ได้ให้เป็น ดังนั้นเมื่อราคาทำเทรนลง เราก็รอดูว่าช่วงไหนที่ราคาเด้งขึ้นมาหาเส้น EMA ถือว่าเป็นการทดสอบเทรน ถ้าเทรนแข็ง เส้น EMA จะเป็นพื้นที่ Resistance  ที่เลข 1 เราเห็นราคาบอกถึง Resistance ที่ชัดเจนด้วย Pin bar อาการที่ Price Action เปิดเผยออกมาเรียกว่า Retest ก็จะเปิดโอกาสให้เราเทรดตามเทรนได้ง่าย ดูที่เลข 1 2 3 4 5 6 7  ดังนั้นวิธีการเทรดแบบนี้คือ


  • กำหนดเทรนด้วย 20 EMA เช่นเทรนลง ท่านจะเห็นราคาวิ่งกลับมาทดสอบพื้นที่ EMA ถ้าเทรนยังแข็งก็จะเห็นราคาเด้งลงจากพื้นที่เส้น EMA
  • การที่ราคาเด้งมาเรียกว่า Retest ก็จะเกิดให้เห็นหลายครั้ง ให้ความสำคัญมากสุดที่ครั้งแรก ครั้งต่อๆ ไปให้ดู market structure ที่เกิดขึ้นประกอบ จนกว่าราคาได้เบรคเส้น EMA เปลี่ยนเทรน ส่วนนี้แนะนำให้เห็นราคาหลังจากทำเทรน เห็นเบรค High หรือ Low ประกอบด้วย Momentum ราคาสามารถปิดต่ำกว่า Low หรือ สูงกว่า High ได้ด้วยด้วยหลักการ Impulsive move จะเพิ่มความเป็นไปได้สูงของการกลับมาทดสอบ หรืออาจใช้วิธีการ Confluence จากวิธีการ Technical analysis อื่นมาประกอบด้วย
  • รอราคากลับมา Retest แล้วดู price action ที่เกิดขึ้นประกอบ เช่น ถ้าเทรนแข็งจะเห็น price action ที่บอกถึง rejection อย่างชัดเจน เช่น Pin Bar, Engulfing Bar, 2-bar reversal เป็นต้น ตรงส่วนนี้ถือว่าเป็น trading signal สำหรับเปิดเทรด
  • กำหนด sell stop ต่ำกว่า Signal Price Action สำหรับเทรนลง หรือ Buy stop เหนือกว่า Signal Price Action สำหรับเทรนขาขึ้น และ Stop loss ต่ำกว่าหรือเหนือกว่า Signal Price Action เป็นเบื้องต้น ส่วน Take profit  ให้อิง market structure ที่เห็น high/low ชัดเจนให้มองมาทางช้ายมือ


ภาพประกอบการเปิดเทรดด้วย 20 EMA และ Price Action แม้ว่าเบื้องต้นเราสามารถกำหนดเทรนด้วยเส้นจากค่า EMA ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจคือ market structure ประกอบก่อนที่ราคาจะย่อตัวลงมาทดสอบแนวรับ-แนวต้านที่เส้น EMA ดูที่เลข 1 ข้อเสียอย่างเดียวของจุดนี้คือราคาไม่ได้มาเด้งที่เส้น EMA แต่ต้องยกตัวอย่างมาประกอบเพราะว่าหลายๆ ครั้งเมื่อเทรนแรงๆ ราคาจะไม่สามารถมาทดสอบที่เส้น EMA ได้ แต่เราก็ต้องดู market structure ประกอบ และตามด้วย Price action ที่จะเป็น Signal PA หรือสัญญานสำหรับเปิดเทรด เพราะที่อธิบายมาแต่ต้นว่า EMA ให้ข้อมูลแบบ lagging แต่ข้อดีคือเป็นการยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้น เราเห็น market structure เปลี่ยนไป ราคาเบรคขึ้นไปทำ New High ใหม่ได้ การเปิดเทรดแรกกำหนด Buy stop ที่ high ของ Pin bar ที่เป็นสัญญาณจาก Price Action

ที่เลข 2 เป็น Pin อีกเช่นเคย และสำคัญมาเด้งตรงที่เส้น EMA ด้วย แต่มองดู market structure ราคาทำ High ถึง 2 รอบที่พื้นที่เดียวกัน ตอนนี้ market structure ไม่ได้เปลี่ยน แม้ว่าราคาเปิดเทรด Buy stop ที่ High ของ Signal แท่งเทียน แต่ราคาก็ขึ้นนิดเดียวแล้ว consolidation ถึง 4 แท่งเทียนกว่าจะเบรคด้วย 2 แท่งเทียนต่อมา และยังขึ้นไปทำ New High ใหม่ด้วย ตรงจุดนี้เราจะเห็นว่าแม้ว่าเงื่อนไข EMA + Price Action ได้ แต่ market structure ไม่ได้

ที่เลข 3 ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดี ได้หมดทุกเงื่อนไข ทั้ง market structure + 20 EMA และ Price Action รูปแบบ Engulfing bar แม้ว่าการเปิดเทรดด้วยการกำหนด Buy stop ที่ High ของแท่งเทียน Signal ราคาไปเยอะแล้ว แต่จะเห็นว่าราคายังขึ้นไปต่อ 3 แท่งเทียนทางเดียวกันกับ Momentum ด้วย