กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ความสำคัญของ Risk และ Reward

  • 0 replies
  • 737 views
ความสำคัญของ Risk และ Reward
« เมื่อ: 24, เมษายน 2021, 06:26:12 PM »
ความสำคัญของ Risk และ Reward

สิ่งสำคัญของการเปิดเทรดแต่ละครั้งก่อนที่จะเปิดเทรดท่านจำเป็นต้องเห็น Risk:Reward ชัดเจนแต่ละ trade setup ว่าเป็นอย่างไร แล้วแต่การเทรดของท่าน ก็จะต่างกันออกไป ตามประเภทการเทรดหลักๆ เช่นการเทรดแบบ Scalp Trading, Day Trading, Swing Trading และ Position Trading พื้นที่ราคาอยู่ในส่วนของ Risk ต้องเป็นพื้นที่ราคาวิ่งผ่านได้ยาก ขณะเดียวกันพื้นที่ Reward ต้องเป็นพื้นที่ราคาวิ่งผ่านได้ง่าย เพราะจะทำให้ท่านทำกำไรและออกจากตลาดได้เร็วตามสัดส่วนของ Risk:Reward ที่ท่านกำหนด บทความนี้จะอธิบายตรรกะที่อยู่เบื้องหลังเพื่อนำไปประกอบการกำหนดพื้นที่ Risk:Reward อย่างไรให้ดีขึ้น

Risk-Reward สำหรับการเปิดเทรด



อย่างกรณีเปิด Sell ตามตัวอย่างประกอบ สิ่งแรกเราต้องวิเคราะห์ว่า trade setup เกิดขึ้นได้เพราะอะไร และเมื่อจะเปิดเทรด มีอะไรที่ให้ข้อมูลเรา เห็นว่าเราจะกำหนด stop loss และ take profit ตรงไหน เพราะตรรกะอะไรอยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่แค่คำนวณจากสัดส่วนของ Risk:Reward แค่บอกว่าเมื่อเปิดเทรด เช่น Risk:Reward เราบอกว่า 1:5  สิ่งที่เราต้องการมากกว่า Risk:Reward คือว่า ทางที่เรากำหนดเป็น Risk ราคาต้องวิ่งผ่านได้ยาก เพราะเราไม่ต้องการจะเสี่ยง แม้ว่าเราจะกำหนด Risk น้อยก็ตาม ส่วน Reward เราต้องการมาก และที่สำคัญคือ เราต้องการราคาวิ่งไปทางนั้นได้ง่ายและเร็วด้วย เมื่อเปิดเทรดเราก็ไม่ต้องการถือ position ที่เปิดเทรดนานเพราะราคาอาจเด้งสวนกลับทางที่เราเปิดเทรด จากกำไรกลายเป็น stop loss ไปเลย

การเปิดเทรด Sell หลังจากที่ราคาได้เบรคพื้นที่เลข 1 ลงมา ด้วยแท่งเทียนชัดๆ ตรงที่เลข 2 การเบรคตรงนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 3 ที่ราคาลงมาแตะพื้นที่ตรงนี้ แม้ว่าราคาจะเด้งขึ้นไป หลังจากราคาแตะ 2 ครั้งก่อนนี้ ดูราคาทำ High ใหม่แทบไม่ได้เลย บอกได้ว่า High แม้จะ Higher Highs ต่อเนื่องกันแต่เล็กน้อย และแท่งเทียนยังมากด้วย บอกว่าเป็นช่วงสะสม Positions ได้เลย ว่าเป็นการทยอยเข้าตลาดของขาใหญ่ พอราคาเบรคลงที่เลข 2 เปิดเผยว่า ขาใหญ่สะสมเสร็จแล้วหรือเปล่า หรือได้เวลา ในการเปิดเทรดหรือเปล่า เราก็รอการย่อตัวถ้าเห็นการ rejection อีกรอบที่พื้นที่เดียวกันเราก็จะเปิดเทรด แล้วเราก็เห็น Pin bar เกิดขึ้นได้เงื่อนไขในการเปิดเทรด และเราเห็นพื้นที่ Pin bar เป็นพื้นที่เสี่ยงเพราะราคาเด้งพื้นที่เดียวกับที่ราคาเบรคลงมา ช่วยให้เราเห็นพื้นที่ Risk ชัดเจนว่าเราจะกำหนด stop loss ตรงไหน

Risk พื้นที่ราคาผ่านได้ยาก


ตรรกะที่เราต้องการในพื้นที่ Risk หรือเสี่ยงคือเราต้องการพื้นที่ราคาผ่านได้ยาก ยิ่งยากยิ่งดี นั่นหมายความว่าพอราคาขึ้นมาตรงนั้นราคาจะต้องถูกดันลงได้ง่ายมากกว่าที่จะผ่านได้ง่าย ก็ต้องมามองเรื่องของออเดอร์ว่าเป็นอย่างไร เพราะ ราคาขึ้นหรือลง เพราะความไม่สมดุลย์กันระหว่างออเดอร์ ออเดอร์มี 3 แบบ คือ 1. Market orders หรือออเดอร์ที่เราเปิดเทรดหรือระบบเทรดให้ ณ ราคาปัจจุบัน 2. Limit orders คือออเดอร์ที่เราต้องการเข้าเทรด ณ ราคาที่เรากำหนด เมื่อราคาตลาดไปถึงที่เรากำหนด Limit orders พวกนี้ก็จะเปิดเทรดให้หรือกลายมาเป็น Market order ณ ราคาที่กำหนดเมื่อราคาปัจจุบันไปแตะ และ 3. Stop orders มาจาก stop loss ที่ต้องการออกจากตลาดของออเดอร์ที่ติดลบหรือที่ราคาวิ่งสวน จุดประสงค์เพื่อจำกัดความเสี่ยงด้วยการออกจากตลาด และมาจาก sell stop หรือ buy stop เพื่อเข้าเทรด ณ ราคาที่ตลาดไปแตะ ดังนั้น การออกจากตลาดหรือปิดออเดอร์ที่เปิดอยู่ ไม่ว่าปิดเอง หรือ stop loss หรือ take profit  เท่ากับว่าเราเปิดเทรด market order ตรงข้ามกับที่ออเดอร์เราถืออยู่ เช่น เราเปิดเทรด Buy ด้วยล็อต 1.0 เมื่อเราออกเทรด ปิดเอง หรือชน Take Profit หรือ Stop loss เท่ากับว่าเราเปิดเทรด Sell market order ด้วยล็อต 1.0 เท่ากัน ณ ราคาที่ออกจากตลาด แต่ข้อต่างระหว่างการปิดออกเอง และกำหนด (take profit หรือ stop loss)  อยู่ที่เงื่อนไขการทำงานของออเดอร์ ถ้าเป็นการปิดเองเราอาจปิดหรือไม่ก็ได้ ไม่ได้บังคับ แต่ถ้าเป็น กำหนด จะกลายเป็น market order ทันทีเมื่อราคาไปแตะ ไม่มีตัวเลือก จะออกจากตลาดทันที

Reward พื้นที่ราคาผ่านได้ง่าย


ดูภาพว่า ตัวต้านทาน เมื่อราคาดันขึ้นไปพื้นที่ Risk จะเห็นว่า Sell ออเดอร์มาจากไหน จุดสำคัญที่เปลี่ยนมุมมองตลาด หรือ market perspective ในเชิง technical analysis จะเห็นว่าอยู่ที่เลข 2 เพราะเปิดเผยข้อมูลสำคัญมากหลายๆอย่าง ข้อแรก ราคาเบรคพื้นที่ลงบอกว่า ขาใหญ่สะสม positions ในกรอบเลข 1 ว่าเทรดทางไหน ข้อสอง เทรดเดอร์ที่เทรดตรงข้ามกับขาใหญ่กลายเป็น trapped traders หมด และเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดเมื่อเห็นข้อมูลใหม่เกิดขึ้นก็จะหันมาเทรดทางนั้นเป็นหลักทั้งเทรดแบบ Sell stop หรือ sell market orders ด้วย และต่อเนื่องจาก trapped traders ถ้าพวกเขาออก อาจเป็นเพราะ stop loss ที่พวกเขากำหนดไว้ต่ำกว่ากรอบนั้น หรือปิดออกเอง เท่ากับว่าเปิด sell market orders ราคาที่ออก เมื่อราคาลงต่อหลังจากที่ Pin bar เลข 3 ลงมาเป็นสัญญาณเปิด Sell เลยทำให้เงื่อนไขที่อธิบายมาทำให้เกิด Sell orders มากกว่าและต่อเนื่องด้วย โอกาสที่จะเกิด Buy orders เลยมีสูง เกิดความไม่สมดุลย์เลยทำให้ราคาวิ่งลงได้ง่าย มองมาทางช้ายมือก่อนที่ราคาขึ้นไปทำรอบด้านบน จะเห็น Bullish candlestick ยาวต่อเนื่องไปทางเดียวกัน 3 แท่งเทียน มองดูพื้นที่ราคาอยู่ที่เดียวกันระหว่างแท่งเทียนเพื่อหาแนวรับ-แนวต้าน จะเห็นที่บอกว่า Support อยู่ด้านล่าง 2 จุด ตรงส่วนล่างคือต้นตอที่ดันราคาขึ้นมา ระหว่างทางลงก่อนถึง Support 2 จุดนี้ไม่มีแนวรับเลย เลยทำให้เกิดแท่งเทียน Bearish candlestick ที่ลูกศรสีแดงชี้เกิดขึ้นได้ง่าย

เราจะเห็นว่าการกำหนด Reward น้อยจากเรื่องสัดส่วนกับ Risk แล้ว เราต้องการทางที่ราคาจะวิ่งไป ไม่มีตัวต้าน แบบด้านบน และนอกจากนั้น ยังต้องการออเดอร์ต่อเนื่องทางเดียวที่เราเปิดเทรดด้วย จากภาพประกอบก็จะมาจาก stop loss ของ trapped traders, sell stops จาก breakout traders, sell market orders จากที่เปิดเทรดเอง และมาจากเทรดเดอร์ที่เปิด long ตรงพื้นที่ support ก่อนที่ราคาขึ้นไป ราคาไม่ไปต่อ ก็ปิดทำกำไรออกจากตลาด ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังพวกนี้เลยทำให้ Reward เป็นไปได้ง่าย