กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

กลยุทธ์เปิดเทรดทองแบบ Re-Entry

  • 0 replies
  • 910 views
กลยุทธ์เปิดเทรดทองแบบ Re-Entry
« เมื่อ: 24, เมษายน 2021, 01:46:39 PM »
กลยุทธ์เปิดเทรดทองแบบ Re-Entry

หลายๆ ท่านที่เทรดประจำ ก็จะเจอเหตุการณ์ที่เมื่อเรากำหนดเทรน กำหนด trade setup ได้ และก่อนเปิดเทรดได้ดูเงื่อนต่างๆ ทุกอย่างได้ตามเงื่อนไขหมด แต่เมื่อเปิดเทรดแล้วราคาวิ่งไปทางที่เปิดหน่อยเดียว แต่ราคากลับลงมาเกิน stop loss ที่กำหนดก่อน แล้วต่อมาก็ค่อยกลับไปทางที่เราเปิดเทรด เหตุการณ์แบบนี้สามารถใช้กลยุทธ์การเปิดเทรดแบบ Re-entry หรือเปิดเทรดอีกรอบ เป็นทางเลือกที่ดีที่จะเสริมทางเลือกของการเปิดเทรดเมื่อท่านกำหนด Trade setup ได้

หลักการ Re-entry


อธิบายด้วยภาพให้ก่อน แล้วค่อยตามมาด้วยตรรกะที่อยู่เบื้องหลังว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ และทำไมการเปิดเทรดอีกรอบหรือ Re-entry จึงเป็นกลยุทธ์ที่ต้องนำมาใช้ในการเทรด หรือประกอบการเทรดเช่นจะช่วยให้ท่านไม่เพิ่มออเดอร์โดยยังไม่ถึงจุด หรือกำหนด stop loss ได้ดีกว่าเดิมว่าควรจะกำหนดตรงไหน

จาก Market structure ราคาวิ่งลงมาหาพื้นที่ Support หรือ Demand ที่เลข 1 เพราะราคาขึ้นอย่างรวดเร็วตรงพื้นที่ต้นตอ และการลงมาก็ลงมาแรงเพราะมีการดันราคาลงมาเพื่อให้ถึงตรงนี้ การกำหนด trade setup ตรงนี้แล้วแต่วิธีการ technical analysis ที่ใช้นำมาประกอบ แต่ที่จะเน้นในบทความนี้คือเรื่องของกลยุทธ์การเปิดเทรดแบบ Re-entry ว่าเกิดขึ้นและน่าสนใจอย่างไร อย่างตัวอย่างภาพประกอบสำหรับการเปิดเทรด Buy ราคาลงมาหา Support ก่อนแท่งเทียนที่บอกว่า Buy จะเห็นราคา rejection ถึง 3 แท่งเทียนพื้นที่เดียวกัน เช่นที่เห็นแท่งเทียนพื้นที่เดียวกันแท่งที่ 4 ราคาเบรคขึ้นมาก็ได้เวลา Buy และต่อมาก็กำหนด stop loss ไว้ด้านล่างของแท่งเทียนนั้นบอกเพิ่มอีกนิดหน่อย หรือบางเทรดเดอร์อาจกำหนดตรงที่ Low สุดของ 4 แท่งเทียน หลังจากเปิดราคาก็วิ่งไปทางที่เปิด เหตุการณ์คือพอเปิดราคาวิ่งไปทางที่เปิดหน่อยเริ่มกำไร แต่แล้วราคาดันลงมาหาพื้นที่กำหนด stop loss แล้วแตะ stop loss อย่างที่เกิดขึ้นที่เลข 3 และราคาก็ขึ้นไปทางที่เราเปิดเทรด และไปทางนั้นยาวด้วย นี่คือที่มาของหลักการกลยุทธ์การเปิดเทรดแบบ Re-entry เช่น แม้ว่าออเดอร์แรกที่เปิดจะโดน stop loss แต่พอเราเปิดอีกรอบหลังจากแท่งเทียนที่เลข 3 จบ กำไรที่ได้ก็มากพอที่จะเกินออเดอร์ที่เปิดก่อนนี้ได้ นั่นเป็นภาพตัวอย่าง แต่ก็ตรรกะแบบเดียวกัน ภาพ market structure อาจต่างกันออกไปบ้างแต่ไม่สำคัญ ถ้าเข้าใจว่าอะไรที่อยู่เบื้องหลัง และทำไมการเปิดเทรดแบบ Re-entry จึงน่าสนใจ

ตรรกะเบื้องหลังทำไมการเปิดเทรดอีกรอบหรือ Re-entry จึงน่าสนใจ


ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังคือสิ่งที่ทำให้ชาร์ตเป็นแบบนั้นแบบนี้ เช่นอย่างในกรณีนี้ ว่าทำไมเมื่อเปิดถูกทางแล้วราคายังลงไปแตะ stop loss ก่อนแล้วไปทางที่เปิดเทรดเพราะอะไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจการทำงานของออเดอร์และการทำกำไรในตลาดฟอเรกเป็นอย่างไร เช่นเมื่อท่านจะเปิด Buy ณ พื้นที่เลข 1 จำนวน 1.0 ล็อต ณ ตรงนั้นต้องมี Sell ออเดอร์หรือ Sell limit ในที่นี้อยู่ตรง ณ ราคาที่ท่านเปิดเทรด ด้วยจำนวนล็อตที่ท่านต้องการเปิดเทรดพอด้วย ตรง limit orders ที่อยู่ตรงราคา ณ ฝ่ายตรงข้ามที่เราต้องการเปิดเทรด เขาเรียกว่ามี liquidity ณ ตรงนั้นถ้าล็อตพอ แต่ถ้าล็อตไม่พอออเดอร์ที่เราเปิดเทรดด้วย Market order ก็จะวิ่งไปหาด้วยล็อตที่เหลือก็จะวิ่งไปหา sell limit ราคาเหนือขึ้นไป  - ในที่นี้ ที่จะบอกคือการเทรดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้ามและล็อตเท่ากัน ณ ราคาที่เราเปิดเทรด เลยทำให้เกิด trading transaction หรือที่เราเห็นช่วงราคาแต่ละแท่งเทียน นั่นละคือราคาที่มีการเปิดเทรดเกิดขึ้น  เมื่อการเทรดเกิดขึ้น ราคาไปทางที่เราเปิดเทรด ยิ่งห่างจากที่เราเปิดเทรดมาก ยิ่งกำไรมาก ฝ่ายตรงข้ามที่จับคู่กับออเดอร์เรา ก็ยิ่งติดลบมากในขณะเดียวกัน

สิ่งที่เราต้องการเห็นคือ trade setup แบบเดียวกันแต่เราจะไม่เปิดเทรดตอนแรก เราต้องการข้อมูลที่มากกว่านั้น คือ เมื่อมีการเปิดเทรดที่เลข 1 ตามมาด้วยการกำหนด stop loss และราคาวิ่งไปทางที่เทรดเดอร์เปิดตอนแรกนิดหน่อย เริ่มกำไร ทำไมราคาวิ่งขึ้นนิดหน่อยจึงจำเป็นเพราะว่าเทรดเดอร์อื่นๆ ที่รอการยืนยันด้วย price action ก็จะเข้าเทรดเพิ่ม สามารถคาดหวังได้มากกว่าเดิมว่าเทรดเดอร์ก็จะเปิดเทรดมากขึ้น ขณะเดียวกัน เมื่อเทรดเดอร์มากขึ้น การกำหนด stop loss ก็มากขึ้นไปได้ สิ่งที่ได้คือจำนวนออเดอร์ที่จะเกิดจาก stop loss พวกนี้ เพราะถ้าราคาลงไปแต่ะ stop loss พวกนี้ก็จะกลายเป็น sell market orders ทันที เหตุการณ์แบบนี้ที่กำหนด trade setup ได้เปิดเทรด และราคาวิ่งตามที่คาด ทำให้ขาใหญ่หาออเดอร์ตรงข้ามได้ง่ายจาก stop loss หรือจาก sell stop รวมเรียกกันว่า stop orders ดังนั้นเมื่อขาใหญ่จะเปิดเทรดบ้าง ถ้าพวกเขาเปิดเลยในช่วงแรก ออเดอร์ตรงข้ามอาจไม่พอ เพราะพวกเขาเทรดด้วยจำนวนล็อต หรือวอลลูมเยอะมาก สิ่งที่พวกเขาสามารถใช้ได้และมั่นในเรื่องออเดอร์ตรงข้ามคือจาก stop orders ดังกล่าว เมื่อจะเข้าเทรดเลยต้องดันราคาลงไปแตะ และพวกเขาก็กำหนด buy limit ไว้แถวนั้นเพื่อได้เข้าเทรดตรงที่เลข 3 หรือที่บอกวิ่งลงไปชน stop loss แล้วเด้งขึ้นนั้นละ คือข้อมูลสำคัญต่อการเปิดเทรดอีกรอบหรือ Re-entry เพราะราคาลงไปแล้วเด้งขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นแสดงว่าขาใหญ่เปิดเทรด และเทรดเดอร์ที่โดน stop loss ไปเมื่อเห็นราคากลับมาทางเดิมก็จะเปิดโอกาสให้เทรดอีกรอบ ก็จะทำให้ Buy orders เข้ามาพื้นที่ตรงนั้น และเทรดเดอร์อื่นๆ อีกที่เห็นและรอเข้าก็จะเข้าเทรดเช่นกัน รอให้แท่งเทียนที่ล่า stop loss จบก่อน ที่สำคัญก่อนเปิดเทรด หรือเห็นพื้นที่เลข 3 รอให้จบก่อนค่อยเปิดเทรด


จากตรรกะพอจะสรุปได้ว่า เมื่อกำหนด trade setup ได้ การเปิดเทรดครั้งแรกอาจเป็นเมื่อเห็น price action หรือ market structure เช่นที่ชัดเจนสุดเช่นอย่างรูปแบบของ price action เกิดขึ้นที่ trade setup คือ  Pin bar หรือ Engulfing bar แล้วราคาก็วิ่งไปทางที่เปิดเทรดแล้วอีกไม่นานราคาก็วิ่งสวน Pin bar หรือ Engulfing bar เพื่อล่า stop loss  แล้วราคากลับมาทางเดิมอย่างรวดเร็ว การเปิดเทรดอีกรอบเลยสำคัญ เพราะว่าร่องรอยขาใหญ่เปิดเผยด้วยว่าพวกเขาเข้าเทรดจริงเลยทำให้การเปิดเทรดตรงพื้นที่ Re-entry มีความเป็นไปได้สูง การเทรดด้วยการเข้าใจ Re-entry ช่วยให้เราสามารถกำหนดเรื่องช่วงเวลาในการเปิดเทรดได้ดีและถูกที่ ที่ต่างจากการเปิดเทรดตอนแรกที่เกิด stop loss ก่อน
   ภาพอาจแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ trade setup เช่นเป็น price action หรือรูปแบบ market structure แต่ที่สำคัญคือตรรกะเดียวกัน