กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดเมื่อสถานะตลาด Overbought และ Oversold ให้ดีขึ้นอย่างไร

  • 0 replies
  • 893 views
เทรดเมื่อสถานะตลาด Overbought และ Oversold ให้ดีขึ้นอย่างไร

เรื่องสถานะของตลาดที่เป็นช่วง Overbought หรือ Oversold เป็นเรื่องได้ยินกันเป็นประจำเมื่อคุยเรื่องของการเทรดหลักการ Divergence ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ด้านเทคนิค หลักการก็จะดูการพัฒนาการของราคาและอินดิเคเตอร์ว่าเป็นไปทางเดียวกันหรือเปล่า ก็จะดู Market structure ที่เป็นรูป Swing highs/lows เป็นหลัก ถ้าทั้งสองอย่างขัดแย้งกันนั่นคือสัญญาณว่าจะมีการเปลี่ยนเทรนเกิดขึ้น เทรดเดอร์ก็จะใช้ข้อมูลนี้เพื่อเป็นการกำหนด trade setup ใหม่  แต่เรื่องของ Overbought/Oversold ก็ยังมีอีกมุมที่ต้องเข้าใจว่า ราคาก็มักจะวิ่งไปทางนั้นๆ ด้วย momentum ด้วย และไม่ได้เปลี่ยนเทรนเลยทันทีเลยทุกครั้ง หรืออาจไปต่อทางเทรนที่ทำมาแล้วก็ได้

Overbought/Oversold ภาพบนชาร์ตเป็นอย่างไร


มีอินดิเคเตอร์หลายตัวที่ช่วยกำหนด Overbought/Oversold ในที่นี้ใช้ RSI เป็นตัวอย่าง พื้นที่ที่เป็น Overbought คือตั้งแต่ 70 ขึ้นไป และถ้าเป็น Oversold คือตั้งแต่ 30 ลงไปตามภาพประกอบ ดูที่เลข 1 และ 2 จะเห็นว่า แม้ว่า RSI รายงาน Overbought/Oversold แต่ราคาไม่ได้ลงทันที อีกนานกว่าจะเปลี่ยนเทรน ดูที่เลข 1 ในรายละเอียดจะเห็นว่าพอราคาลงมาทำ Oversold แต่ราคาไม่ได้กลับเทรน แต่ดันกลับลงอีกตั้งอีกเยอะ หรือที่เลข 2 เมื่อ RSI บอกว่าสถานะตลาดเข้า Overbought แต่ราคาก็ขึ้นอีกตั้งเยอะ และที่สำคัญคือ เมื่อราคาอยู่ในสถานะ Oversold หรือ Overbought การเคลื่อนไหวกลับแรงขึ้นอีกด้วย ต่อมาอีกหลายแท่งเทียนกว่าจะเปลี่ยนเทรน การเปิดเทรดเลย แค่ดูราคาและ RSI อย่างเดียวก็มักจะเจอกับปัญหาแบบนี้ เราจำเป็นต้องมีวิธีอื่นช่วยในการกรองสัญญาณว่าเราจะหาความเป็นไปได้เพิ่มอย่างไรว่าเมื่อ RSI เข้าสู่โหมด Overbought/Oversold แล้วราคาจะไปต่ออย่างแรกหรือจะปลี่ยนเทรนไปเลย

เงื่อนไขการเทรด Overbought/Oversold

จากที่อธิบายมา แม้ว่า Overbought/Oversold จะให้สัญญาณเร็ว แต่มักจะเกิดความผิดพลาด หรือเป็น False signal ในการเทรดกลับเทรนได้ เลยจำต้องมีวิธีการอื่นเข้ามาประกอบเพื่อกรองหรือกำหนดเป็นแนวทางในวิเคราะห์ว่าจะเทรดไปทางไหน และเทรด Overbought/Oversold ได้ถูกที่หรือเป็น true signal ได้อย่างไร ด้วยตัวกรองดังต่อไปนี้

ระบุเทรนที่เป็นอยู่เป็นอย่างไร


การกำหนดเรื่องของเทรนเป็นเรื่องแรกและสำคัญเมื่อจะเปิดเทรด ว่าราคาเป็นไปทางไหน วิธีการง่ายสุดดูราคาสร้าง market structure ด้วยหลักการทำ swing highs/lows ต่อเนื่องกันอย่างไร เทรนขาขึ้นจะเห็นราคาทำ Higher High  ตามด้วย Higher Low ตามด้วย Higher High ต่อเนื่องกัน [Higher High->Higher Low->Higher High] ส่วนเทรนลงตรงกันข้าม Lower Low ตามด้วย Lower High ตามด้วย Lower Low [Lower Low->Lower High->Lower Low]  เราก็จะเทรดเมื่อเห็น RSI ที่รายงาน Overbought/Oversold ให้สัมพันธ์กับเทรน เช่นตัวอย่างภาพประกอบ เทรนเป็นขาขึ้น เราก็จะหาโอกาสเทรดไปทาง Buy เป็นหลัก เมื่อ RSI รายงาน Oversold ก็จะเป็นพื้นที่ที่จะเปิด Buy

หาพื้นที่แนวรับ-แนวต้านเพื่อดูว่าขาใหญ่เทรดตรงไหน




ต่อเนื่องจากการกำหนดเทรนเป็นและรู้ว่าเทรนไหนครองตลาดอยู่ในช่วง market structure นั้นๆ การหาพื้นที่แนวรับ-แนวต้านตามเทรนที่เกิดขึ้น ช่วยให้เรารู้ว่ามีร่องรอยการเปิดเทรดตรงไหน การหาแนวรับ-แนวต้านอาจเป็นวิธีการใช้เทรนไลน์ หรือหลักการ Support/Resistance หรือ Demand/Supply ก็ได้ เช่นอย่างภาพประกอบ หลังจากกำหรดเทรนได้ เราจะเห็นว่าก่อนที่ราคาเริ่มลงมาที่ทำให้ RSI รายงานสถานะตลาดเป็น Oversold ราคาได้สร้าง Support ขึ้นมา 2 พื้นที่ ดูที่ Support ด้านล่างจะเห็นว่าราคาได้เบรค Resistance ที่ตีกรอบสีแดงทางด้านช้ายขึ้นไป (ตรงนี้ราคาสามารถทำ New high ใหม่ได้เพราะราคาเบรคขึ้นไป)  และยังสามารถเบรคกรอบสีแดงด้านซ้ายข้างบนได้อีก แล้วยังขึ้นไปทำ Higher High ได้อีกด้วยและทำต่อเนื่องไป นี่คือการทำเทรนด้วยหลักการพัฒนา swing highs/lows ต่อเนื่องกัน พอราคาลงมา เราเห็นว่ามีความพยายามเบรคราคาขึ้นไปและสามารถทำได้ด้วยที่จุด Support ทั้ง 2 เราก็ดูว่าราคาและ RSI รายงานสถานะ Oversold ตรงไหน เมื่อเห็นตรงพื้นที่ Support และราคาเริ่มกลับขึ้นมาก็ให้เปิดเทรดตาม หรือได้เวลาเปิดเทรดตามหลักการของ RSI


Confluence หรือวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เกิดขึ้นหรือส่งสัญญาณไปในทางเดียวกัน อาจเป็นอย่างอื่นก็ได้ เช่นอย่างพื้นที่เดียวกัน นอกจากเรื่องของเทรน เรื่องของ Support/Resistance แล้วเราก็มาใช้ Fibonacci Retracements ที่เป็นการเปิดเทรดการย่อตัวด้วยหลักตัวเลขนิยมของ Fibonacci ตามภาพประกอบราคาเริ่มเด้งกลับหลังจากที่ราคามาถึงจุดย่อตัว 61.8% ตามหลักของ Fibonacci  และสุดท้ายเป็น Round numbers หรือตัวเลขเชิงจิตวิทยาที่เทรดเดอร์นิยมมักใช้เป็นตัวอ้างอิงในการเข้าเทรด ดูที่ราคา 1700 จะเห็นว่าราคาโต้ตอบตรงพื้นที่นี้หลายรอบ ตัวเลขพวกนี้เลยกลายเป็นแนวรับ-แนวต้านที่น่าจับตามองไปด้วย 

หลักสำคัญของ Confluence คือยิ่งหลาย technical analysis บอก trading signal เป็นไปในทางเดียวกัน ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้สูงขึ้น เลยช่วยกรองสัญญาณที่เกิดจาก Overbought/Oversold อีกขึ้นมาทันที

สุดท้ายใช้สัญญาณจาก Overbought/Oversold

เมื่อกำหนดเทรนเป็นว่าเทรนอะไรครองตลาดหรือ structure อยู่ ก็หาพื้นที่ประกอบด้วยหลักการ confluence และสุดท้ายต้องเห็น signal ที่เกิดพื้นที่ Overbought/Oversold ก็สามารถกำหนด trade setup ด้วยหลักการเมื่อเห็นสถานะตลาด Overbought/Oversold ได้ง่ายและมีความเป็นไปได้สูงเพราะตัวช่วยกรองสัญญาณด้วย