กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เข้าใจ Market gap และโอกาสการเทรดเกิดอย่างไร ตอน 2

  • 0 replies
  • 655 views
เข้าใจ Market gap และโอกาสการเทรดเกิดอย่างไร ตอน 2

ต่อเนื่องจากบทความเรื่องของ Market gaps ก่อนนี้ รูปแบบของ Gap ที่เกิดขึ้นดูบนชาร์ตง่าย แต่การเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังและ market structure ที่ market gap เกิดขึ้น ก็ช่วยให้ท่านหาพื้นที่กำหนดเทรดได้ง่าย ส่วนการเปิดเทรด เป็นการเปิดเทรดแบบ ย่อตัวมาทดสอบหรือ Pullback หรือ Corrective หรือเป็นการเทรด Breakout อีกรอบก็ได้ ประเภทของ Gaps หลักๆ ที่น่าเทรด ต่อจากบทความที่แล้ว

ประเภทของ GAP – Exhaution gap


รูปแบบนี้เป็นอีกรูปแบบที่เห็นบ่อย และเมื่อกำหนด trade setup ได้เป็นการหาพื้นที่เทรดมีความเป็นไปได้สูงด้วยเพราะตรรกะออเดอร์ที่อยู่เบื้องหลังจะทำให้ออเดอร์มากข้างใดข้างหนึ่งได้ง่าย ตามภาพประกอบ จะเห็นว่า Gap up ตัวนี้โดดวิ่งเข้าหาพื้นที่แนวต้านหรือ Resistance หรือพื้นที่ Supply ถ้าเป็นทางตรงกันข้าม Gap down ก็จะเป็นการโดดลงไปหาพื้นที่แนวรับหรือ Support หรือพื้นที่ Demand รูปแบบ price action ที่เกิด market gap แบบนี้จุดประสงค์หลักเพื่อหลอกให้เทรดเดอร์เข้าเทรด เพื่อขาใหญ่ต้องการออเดอร์จากรายย่อย แล้วดันราคาสวนอย่าง Gap up ด้านบนเพื่อให้เทรดเดอร์ Breakout เข้าเทรดผิดทาง เป็นการล่า stop loss ของเทรดเดอร์ที่ถือ short positions หรือบอกง่ายๆ ว่า gap แบบนี้เกิดขึ้นเพื่อหลอกให้เทรดเดอร์รายย่อยหลงทาง เปิดออเดอร์ตรงข้ามกับทางที่พวกเขาต้องการเปิดเทรด เพราะว่าการเทรด ไม่ว่าการเปิดเทรดหรือการปิดเทรด ต้องการออเดอร์ตรงข้าม ณ ราคา ที่เปิด และจำนวนเท่ากัน

รูปแบบ Exhaustion gap มักจะเห็นบ่อยช่วงจบเทรนขาขึ้นหรือขาลงแล้วแต่ และมักจะเห็น Stop hunt บ่อยเพื่อจุดประสงค์ทางออเดอร์ตรงข้าม หรือที่เรียกว่า liquidity ณ จุดที่ต้องการเปิดหรือปิดเทรดของขาใหญ่ เพราะการออกจากการเปิดเทรดที่ผิดทาง เช่นอย่างในภาพที่ราคาวิ่งเข้าหา Resistance เมื่อราคาเริ่มวิ่งสวน เท่ากับการเปิด Sell ณ ราคาที่ออก เพราะ Gap แบบนี้ได้สร้าง trapped traders ที่ราคาสามารถบังคับให้ออกจากตลาดได้ในเวลาอันสั้นถ้าเทียบสัดส่วนชาร์ตตามแท่งเทียน

ประเภทของ GAP - Professional gap


รูปแบบ market gap แบบนี้เกิดตอนเริ่มต้นของเทรนหรือจุดเปลี่ยนเทรนหลักๆ ส่วนมากจะเกิดที่ Demand หรือ Supply ที่บอกถึงจำนวนออเดอร์ว่ามีแต่ออเดอร์มาจากอีกข้างมากจนเกิด market gap ได้ เลยบอกถึงคุณภาพของ Demand/Supply ไปในตัวด้วยว่าความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เกิดขึ้นมากจริง เลยเป็นการยืนยันว่า Demand หรือ Supply ตัวนี้มีความเป็นไปได้สูงเมื่อจะเข้าเทรดตอนราคาย่อตัวมาทดสอบ เพราะ Market gap ที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเข้าเทรดจริง Gap up เกิดจากหรือเป็นการบอกว่า Demand zone อยู่ที่ไหน และ Gap down เกิดจาก หรือเป็นการบอกว่า Supply zone อยู่ที่ไหน วิธีการเทรด ให้เทรดตอนที่ราคากลับมาทดสอบพื้นที่ตรงที่เป็นต้นตอความไม่สมดุลย์ การเปิดเทรดตอนราคากลับมาครั้งแรกหรือ First-Time-Back จะมีความเป็นไปได้สูง ถ้าเป็น Demand ก็จะเห็นภาพที่ตรงกันข้ามกัน สิ่งที่ต้องเห็นประกอบเพิ่มความเป็นไปได้สำหรับ Gap ที่เกิดจากและยืนยัน Demand/Supply ตอนที่ราคาจากไป เห็นราคาได้เอาชนะพื้นที่ตรงกันข้าม หรือเรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า Engulf จะเป็นการบอกว่ามีการใช้ออเดอร์ที่อยู่พื้นที่นั้นๆ ไปด้วยตามหลักการทำงานของออเดอร์ เพราะทุกๆ ที่ราคาได้วิ่งไป การเทรดเกิดขึ้นเพราะ market orders ไปจับคู่กับ limit orders ที่ราคานั้นๆ เลยเป็นการลด liquidity ที่เป็นตัวตัวต้านทานเมื่อราคาวิ่งไป เพราะถ้าราคาสามารถเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามด้วย Engulfing ได้เป็นการบอกไปในตัวว่า ราคาได้เบรค demand/supply พื้นที่ราคาไปก่อนที่ราคาจะกลับมาทำ First-Time-Back เมื่อได้เงื่อนไขเปิดเทรด ราคาก็จะวิ่งผ่านทางนั้นๆ ได้ง่าย


อีกตัวอย่างเป็น Professional gap ที่เกิดจากการเข้าเทรดเป็นหลัก ที่มีแต่ aggressive buyers เลยทำให้เกิด buy orders เยอะมากมาก และไม่มี sell orders ในพื้นที่บางราคาทันเลยทำให้เกิด Gap up อย่างรวดเร็ว เลยเป็นการบอกการเข้าเทรด และคุณภาพของ Demand ไปในตัวเลยเรียกว่า Professional gap เป็นช่องว่างราคาที่มาจากมืออาชีพเข้าเทรด [ในที่นี้คือขาใหญ่นั่นเอง]

จากที่อธิบาย Market gap มี 4 ประเภท Gap ที่น่าสนใจสำหรับการเทรดคือ Breakaway gap, Runaway gap, Exhaustion gap และ Professional gap เมื่อเกิดขึ้นรูปแบบที่แสดงผ่านชาร์ตแท่งเทียนจะชัดเจน และยังง่ายต่อการเปิดเทรดด้วยเมื่อเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลัง และการทำงานของออเดอร์เป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของ stop orders ที่มาจาก stop loss ของ positions ที่อยู่ในตลาด และ stop orders ที่มาจาก breakout traders และเมื่อ market gap เกิดขึ้นยังส่งผลโดยตรงต่อจิตวิทยาของเทรดเดอร์ด้วย กลัวไม่ทันหรือกลัวตกเทรนเลยรีบเปิดเทรดทางนั้นๆ อย่างในกรณี Exhaustion gap dHเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้

ส่วนการเปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาต้นตอที่เกิด market gap หรือเป็นการเทรด pullback เป็นการเทรดที่ปลอดภัยที่สุด การเปิดเทรดแนะนำให้ดู price action ประกอบเช่น Pin Bar, Engulfing Bar, หรือ price action หรืออินดิเคเตอร์อื่นๆ ที่บอกถึงการ rejection ที่พื้นที่อีกรอบ เช่นอย่าง CCI Divergence เป็นต้น ส่วน Stop loss ก็อิงพื้นที่ gap แต่ถ้าเปิดเทรดเมื่อมี Price Action ประกอบท่านก็จะกำหนด stop loss ได้ดีกว่า เหมือนอย่างภาพสุดท้ายที่บอก Professional gap ที่เป็นตัวบอกว่า Demand zone อยู่ตรงไหน และการกำหนด take profit ที่ price level ถัดไปตามภาพประกอบ

ก่อนจะเปิดเทรดเมื่อท่านเห็น Market gap เกิดขึ้นให้ตรวจดูก่อนว่าเกิดเพราะอะไร อย่าแค่เห็นว่าราคาเปิดและราคาปิดต่างกัน เพราะเมื่อเปิดเทรดสิ่งสำคัญคือว่า ความไม่สมดุลย์ระหว่าง sell และ buy ออเดอร์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและทางเดียวกัน ก็ทำให้ราคาไปทางใดทางหนึ่งได้เร็วและง่าย ต้องดูที่มาว่าเมื่อเกิด gap ออเดอร์ที่จะตามมานั้นมาจากทางไหนบ้าง