กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เข้าใจ Market gap และโอกาสการเทรดเกิดอย่างไร ตอน 1

  • 0 replies
  • 887 views
เข้าใจ Market gap และโอกาสการเทรดเกิดอย่างไร ตอน 1

ช่องว่างราคาหรือ Market gap เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นประจำ เป็นโอกาสที่เทรดเดอร์สามารถหาได้ง่ายและเทรดได้ง่ายด้วยเมื่อเกิดขึ้น ถ้าเข้าใจว่า Gap คือรูปแบบไหน เกิดเพราะอะไร และตรรกะอะไรที่อยู่เบื้องหลัง Gap นั้น ก็จะหาโอกาสเทรดจากสิ่งที่จะเกิดตามมาได้ง่าย และมีความเป็นไปได้สูงด้วย

รูปแบบ Market gap เป็นอย่างไร


อธิบายด้วยแท่งเทียนให้เข้าใจรูปแบบของ Market gap ว่าเป็นอย่างไรบนชาร์ต ค่อยตามด้วยตรรกะที่อยู่เบื้องหลังและรูปแบบ Gap แบ่งประเภทได้อย่างไรบ้าง ดูภาพประกอบที่บอกเลข 1 และ 2 เป็นเรื่องของแท่งเทียน 2 แท่งต่อเนื่องกัน หลักการแท่งเทียนที่เกิดจากการเทรดบอกว่า ราคาเปิดของแท่งต่อมา หรือแท่งที่ 2 ในที่นี้ เป็นราคาเดียวกันกับ (หรือราคาพื้นที่เดียวกัน) ราคาปิดของแท่งเทียน 1 เช่น อย่างตรงที่บอกที่เลข 1 แต่พอมาดูที่เลข 2 จะเห็นว่า ราคาเปิดแท่งเทียน 2 ไม่ใช่ราคาปิดที่แท่งเทียนเลข 1 ช่องว่างที่เกิดระหว่างราคาปิดของแท่งเทียน 1 และราคาเปิดของแท่งเทียน 2 ไม่ใช่ราคาเดียวกัน เขาเรียกว่า Market gap หรือช่องว่างราคา

แท่งเทียนเป็นผลการแสดงของการเทรดที่เกิดขึ้นหรือ trading transanctions การเทรดจะเกิดที่ราคานั้นได้ ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ 2 ข้างจับคู่กัน ณ ราคานั้นๆ เช่นเมื่อจะเปิด Buy ที่ 1700.00 ต้องมี sell orders ที่ราคาเดียวกันด้วย การเทรดเกิดขึ้นได้เมื่อออเดอร์ 2 ข้างได้ match and fill กัน ราคาและจำนวนเท่ากันเวลาเดียวกัน เลยเกิดการเทรดขึ้น เช่น ถ้ามีแต่ Buy แต่ออเดอร์ Sell ตรงข้าม ณ ราคานั้นไม่มี ถ้าเกิดมี Buy ออเดอร์ ราคาก็ต้องวิ่งไปหา Sell ออเดอร์ที่ราคาต่อไปด้านบนที่มีออเดอร์ เลยทำให้ราคากระโดดหรือเกิด Gap ไปอีกราคาทันทีอย่างในภาพประกอบ ดังนั้นพื้นที่ market gap คือพื้นที่ที่ไม่มี trading transactions เกิดขึ้น นี่คือภาพของ Market gap

ถ้ามองมุมเรื่องออเดอร์ที่อธิบายมา บอกได้ง่ายๆ ว่า เพราะความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์หรือ demand/supply นั่นเอง Gap up เพราะมีแต่ Buyers หรือ Gap Down มีแต่ Sellers ณ ราคานั้นๆ ตอนนั้นๆ ถ้ามองกลับไปที่แท่งเทียน ก็บอกว่า สำหรับ Gap up ตอนที่เปิดแท่งเทียนใหม่ มีแต่ Buy orders มากมาจาก Buyers จนเกิน sell orders ณ ราคาปิดทองแท่งเทียนก่อน  สำหรับ Gap down ตอนที่เปิดแท่งเทียนใหม่ มีแต่ Sell orders จาก Sellers มากกว่า buy orders ตอนที่ราคาปิดแท่งเทียนก่อน เลยทำให้เกิดช่องว่าง หรือเกิดเพราะช่วงมีข่าว หรือเกิดเพราะว่าขาใหญ่เห็นแนวรับ-แนวต้าน แต่ต้องการผ่านแนวรับ-แนวต้านสำคัญนั้นๆ ไปให้ได้ แล้วสร้าง market structure ใหม่เพื่อดึงให้เทรดเดอร์ได้เงื่อนไขที่จะเทรดไปทางนั้นๆ ที่พวกเขาต้องการ

ประเภทของ Market gaps

สำหรับ Market ราคาทำ Gap Up หรือ Gap Down เราอาจแบ่งประเภทได้ดังนี้ Common gap, Breakaway gap หรือ Breakout gap, Continuation gap หรือ Runaway gap, Exhaustion gap และ Professional gap สำหรับรูปแบบแรกหรือ Common gap จะไม่กล่าวในที่นี้เพราะเป็นแค่รูปแบบทั่วๆไป ไม่มีอะไรน่าสนใจ

ประเภทของ GAP – Breakaway gap

รูปแบบแรก  Breakaway หรือ Breakout gaps รูบแบบนี้จะเกิดเพราะราคาได้เบรคแนวรับ-แนวต้านสำคัญๆ หลังจากที่จบช่วง patterns สำคัญๆ เช่นเบรคแนวรับ-แนวต้านสำคัญ หรือหลังจากจบเป็นช่วง consolidation รูปแบบที่มองจากชาร์ตค่อนข้างจะชัดเจน ส่วนมากจะเป็นการสร้างเทรนใหม่ หรือต้องการดันราคาไปทางใดทางหนึ่งสักระยะเพื่อดึงออเดอร์จากเงื่อนไขตลาด


ภาพประกอบแสดง Breakaway หรือ Breakout gap ทำไมจึงเกิดขึ้น เพราะว่าขาใหญ่เห็นว่ามี Resistance สำคัญๆ ที่เทรดเดอร์ส่วนมากเห็นและรู้ว่าจะเทรดแบบไหน เมื่อขาใหญ่เข้าเทรดทาง Bullish และต้องการให้เทรดเดอร์อื่นๆ เทรดทางเดียวกันกับพวกเขาเพื่อพวกเขาจะได้ทำกำไรได้ง่าย เมื่อราคาวิ่งไปทางที่พวกเขาเทรด พวกเขาต้องการให้ราคาวิ่งไปทางนั้นแรงๆ หรือ Rally แต่เนื่องจากมีแนวต้านที่แข็ง วิธีการที่ทำได้คือ พวกเขาต้องให้ราคาโดดข้ามหรือ Gap up ผ่านแนวต้านเลยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากแนวต้าน และสิ่งที่เกิดขึ้นจาก Breakout gap คือสัญญาณที่ชัดเจนว่าราคาได้เบรคขึ้นมา ขาใหญ่ไม่ต้องการจะเปิด Buy ตรงนี้เพราะพวกเขาได้สะสมเปิด Buy หรือถือ Long positions อยู่แล้ว แต่เพราะ Breakout gap พวกเขารู้ว่าจะมี Buy orders เข้ามาใหม่ทางที่พวกเขาเทรดจากไหน ออเดอร์พวกนี้ก็ทำให้ราคาวิ่งไปเร็ว ทำให้พวกเขาทำกำไรได้เร็วและง่าย Buy orders ก็จะมาจาก กลุ่มแรกคือเทรดเดอร์ที่ถือ Short positions ก็จะออกเพื่อจำกัดความเสี่ยงการออกเท่ากับการเปิดเทรด Buy กลุ่มสองคือเทรดเดอร์ที่รอเทรด Breakout ก็จะเห็นพื้นที่เข้าเทรด ก็จะเปิด Buy และกลุ่มสามคือเทรดเดอร์ที่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นพวกเขาพลาดโอกาสตอนเกิด Breakout ก็จะหันมาเปิดเทรดตามทางนั้นๆ


ตัวอย่างภาพที่สอง ราคามีการย่อตัวกลับมาหรือ Pullback เพื่อมาทดสอบจุดที่เป็นต้นตอ Breakaway gap เลยเปิดโอกาสการเปิดเทรดง่ายกว่าภาพแรก ที่พอเกิด Rally แล้ววิ่งไปต่อเลย ไม่เห็น Pullback ใน timeframe กลับมาทดสอบ ส่วนตรรกะออเดอร์แบบเดียวกันกับด้านบน Breakaway gap ทำหน้าที่เป็น Support

ประเภทของ GAP – Continuation หรือ Runaway gap


เป็นรูปแบบที่บอกถึงการไปต่อของราคา เกิดหลังจากที่เทรนได้ทำแล้วหรือเริ่มมีการเคลื่อนทำเทรนที่ชัดเจน ราคาได้เกิดช่องว่างแล้วไปต่อทางที่ทำเทรนก่อนนี้ เพื่อดึงออเดอร์จากภาพใหม่ที่เกิดขึ้น ทั้งจากเทรดเดอร์ที่รอเข้าและจากเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดจำต้องออกเพื่อจำกัดความเสี่ยง ตรรกะหนึ่งที่พอบอกได้คือเมื่อเกิด Runaway gap เกิดขึ้น เป็นการยืนยันเรื่องของ Sentiment ทางเทรนที่เป็นอยู่ และบอกเป็นนัยว่าราคาจะไปต่อได้ เลยดึงดูดให้เทรดเดอร์อย่าเทรดตามเทรนไปต่อ การเปิดเทรด ก็จะหาจังหวะย่อตัวและดู price action ประกอบเพื่อเทรดตามเทรน ส่วน stop loss เบื้องต้น ก็จะต่ำกว่าหรือเหนือกว่าพื้นที่ Gap นั่นเอง

สิ่งที่เห็นอย่างหนึ่งของ Breakaway gap และ Runaway gap ยังเป็นการบอกถึงแนวรับ-แนวต้านที่เกิดขึ้นใหม่ตรงพื้นที่เกิด Gap ด้วย