กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ใช้ Ichimoku Kinko Hyo เทรดทองด้วยการวิเคราะห์แบบ multi-timeframe

  • 0 replies
  • 1,175 views
ใช้ Ichimoku Kinko Hyo เทรดทองด้วยการวิเคราะห์แบบ multi-timeframe

ระบบเทรดด้วย Ichimoku แม้ว่าส่วนประกอบมีถึง 5 ส่วนที่ต้องเรียนรู้รายละเอียดมากหน่อย แต่สิ่งที่ Ichimoku ช่วยคือช่วยให้คาดการณ์ Market sentiment และเทรนที่เป็นอยู่ว่ามีสถานะเป็นอย่างไรได้ง่าย แข็งพอหรือเพิ่งเริ่ม หรือ โอกาสที่จะเกิดเปลี่ยนเทรนแล้ว ระบบนี้ถือว่าเป็นระบบเทรดตามเทรนหรือ Trend following ที่ดีระบบหนึ่ง สามารถหาจุดเปลี่ยน หาความระดับแข็งของเทรนและหาจุดเข้าเทรดได้ดี แต่การที่จะหาจังหวะเข้าเทรดได้ดีก็ต่อเมื่อเข้าใจหลักการวิเคราะห์ แบบ multi-timeframe เพื่อราคาเคลื่อนไปทางเดียวกับภาพที่กำหนดใน timeframe หลักตอนไหน การวิเคราะห์แบบนี้ช่วยให้หาจุดเข้าเทรด ทั้งที่จะเข้าเทรดและเวลาเข้าเทรดได้ดี

Multi-timeframe analysis สำหรับ Ichimoku


เนื่องจากส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์มีถึง 5 อย่างมากกว่าอินดิเคเตอร์อื่นๆ ถ้าไม่ชินอาจรบกวนการโฟกัสการมองชาร์ตเปล่าท่านได้ แต่เมื่อเข้าใจและตีความส่วนประกอบเป็น ก็จะมองเห็นโอกาสที่ Ichimoku ช่วยในการเทรดได้มาก แต่เมื่อมาพิจารณาการวิเคราะห์แบบหลาย timeframe หมายความว่า วิเคราะห์หลายชาร์ตต่าง timeframe ประกอบกันเช่น กรณีของ Day trading กำหนดเทรนจาก D1/H4 กำหนดและดูการพัฒนาการของเทรนและ trade setup จาก H1 และหาจุดเข้าเทรดจาก M15 ข้อดีของการดูต่าง timeframe คือให้การพัฒนการราคาหรือ market structure ที่สัมพันธ์กันเป็นและยังหาจุดเข้าเทรดและออกเทรดได้ถูกที่ด้วย จึงไม่แปลกที่การวิเคราะห์ multi-timeframe analysis จึงมีส่วนสำคัญมากต่อระบบเทรด ไม่ว่าจะเป็นระบบเทรดไหนก็ตาม สำหรับ Ichimoku เราก็จะวิเคราะห์จากข้อกำหนดเงื่อนไขขั้นต่ำ หรือเรียกว่า Cheat Sheet ดังต่อไปนี้ [ส่วนประกอบและรายละเอียดเบื้องต้นของ Ichimoku ได้กล่าวไว้ในบทความก่อนนี้แล้ว]


  • ราคากับ Kumo เป็นอย่างไร
  • เส้น Tenken-Sen กับเส้น Kijun-Sen เป็นอย่างไร
  • เส้น Chikou Span กับ Kumo, ราคาและ Kijun-Sen เป็นอย่างไร
  • Kumo future เป็นอย่างไร

ทั้ง 4 ข้อถือว่าเป็นเงื่อนไขจำเป็นเบื้องต้นที่ต้องเห็นในทุก timeframe ก่อนตัดสินใจเปิดเทรดเช่น ถ้าท่านจะกำหนด trade setup สำหรับเปิดเทรด M15 ท่านต้องตรวจเช็ค H1 และ H4 ก่อน หรือถ้าท่านต้องการกำหนด trade setup ที่ชาร์ต H1 ท่านจำต้องเช็คที่ชาร์ต H4 และ D1 ประกอบก่อนว่าค่าทั้ง 4 ตัวเป็นไปทางเดียวกันหรือเปล่า เมื่อทั้ง 4 ข้อเป็นไปทางเดียวกัน ท่านสามารถเปิดเทรดได้เมื่อเห็นการตัดกันของ Tenkan-Sen/Kijun-Sen หรือเมื่อมี Kumo breakout  หรือถ้าเห็นทั้งการตัดกันและ Kumo breakout พร้อมๆ กันด้วยยิ่งดี ทั้ง 4 ข้อถือว่าเป็นเบื้องต้นที่สำคัญ แต่ถ้าเบื้องต้นได้แค่ 3 เงื่อนไข เช่น 3 ข้อเป็นไปทางเดียวกัน แต่การตัดกันของ Tenkan-Sen/Kijun-Sen ตรงกันข้ามก็อย่าเพิ่งเปิดเทรด จนกว่าการตัดกันจะกลับมาเข้าเงื่อนไขจำเป็นเบื้องต้นก่อน

เทรดทางเดียวกันกับ Ichimoku timeframe ใหญ่


หลักการของการวิเคราะห์ Multi-timeframe จะให้ความสำคัญที่ Higher timeframe เป็นหลัก เช่นอย่างกรณีแรก ที่ต้องการเปิดเทรด M15 เป็นการเทรด Day trading ที่กำหนดเทรนจาก D1/H4 ลงรายละเอียดการพัฒนาการ market structure และกำหนด trade setupด้วยการวิเคราะห์ H1 และเปิดเทรด ที่ M15 ( M15-H1-H4/D1 ) ความสำคัญของ Ichimoku ของ H1 ก็จะสำคัญกว่า M15  ความสำคัญของ H4 ก็จะสำคัญกว่า H1 และความสำคัญของ D1 ก็จะสำคัญกว่า H4 หลักการคือวิเคราะห์รายละเอียดหรือการเคลื่อนไหวใน timeframe ย่อยกว่าด้วย Ichimoku ต้องสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวใน timeframe ที่ใหญ่กว่า หรือถ้ากำหนด H1 สำหรับเปิดเทรด ท่านต้องดู H4 และ D1 ประกอบเพื่อจะได้เปิดเทรดตาม timeframe ที่ใหญ่กว่า ต้องให้มั่นใจว่าเงื่อนไขการกำหนดเปิดเทรดต้องเห็นใน timeframe ใหญ่ทั้ง 4 ข้อ

ดูเงื่อนไขที่จะกำหนด trade setup ที่ H1 ว่าเป็นอย่างไร ข้อ 1. ราคากับ Kumo คือตรงที่เส้นแนวตั้ง ก็ต่ำกว่า Kumo ข้อ 2. เส้น Tenkan-Sen ก็ตัด Kijun-Sen ลง ข้อ 3. เส้น Chikou Span ก็ต่ำกว่าราคา ต่ำกว่า Kumo และต่ำกว่า Kijun-Sen และข้อ 4. Kumo Future ที่นับจากเส้นแนวตั้งไปทางขวา 26 แท่งเทียนก็เป็น Bearish ดูที่ H1 ได้เงื่อนไขทั้ง 4 ข้อหมด

มาดูที่ H4 ที่เป็น timeframe ใหญ่ขึ้น ข้อ 1. ราคาเพิ่งเกิด Kumo break พอดี แท่งเทียนที่เส้นแนวตั้งคือ เส้นที่ราคากลับมาทดสอบ ข้อ 2. เส้น Tenkan-Sen ก็ตัดเส้น Kijun-Sen ลงมา ข้อ 3. เส้น Chikou Span ต่ำกว่าราคา ต่ำกว่า Kumo และต่ำกว่า Kijun-Sen ด้วย และข้อ 4. Kumo Future ก็เป็นเทรนลงอย่างชัดเจน

ดู D1 อีก timeframe มองภาพรวมเทรนใหญ่ขึ้น  ข้อ 1. ราคากับ Kumo ราคาต่ำกว่า ข้อ 2. เส้น Tenkan-Sen หักหัวลงอีก และเส้น Kijun-Sen ไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง หักหัวลงเริ่มทำเทรนต่อ ข้อ 3. เส้น Chikou Span อยู่ต่ำกว่าราคา และข้อ 4. เรื่องของ Kumo Future ยังลงอย่างชัดเจน

หลักการของการวิเคราะห์แบบ multi-timeframe คือเห็นอย่างน้อย 4 ข้อที่กล่าวไว้ด้านบนเป็นไปทางเดียวกัน แต่ต้องให้ความสำคัญกับ timefrmae ที่ใหญ่กว่า เช่นอย่างที่ยกตัวอย่าง การกำหนด trade setup จาก H1->H4->D1 ต้องให้ความสำคัญ D1 มากกว่า H4 และ H4 มากกว่า H1 ในกำหนดกรองข้อมูล

ถ้าเป็นการกำหนด trade setup ย่อยลงมาเช่น M15->H1->H4 ก็ใช้หลักการเดียวกัน ใช้ตัวกรองส่วนประกอบจาก Ichimoku เพื่อตีความเทรน ความแข็งของเทรน และกำหนดจุดเข้าและออกเทรดด้วยหลักการเดียวกัน

หลักการการเปิดเทรด เปิดเทรดด้วย Kumo breakout และ/หรือ Tenkan-Sen ตัด Kijun Sen หลังจากที่เห็นว่าเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อได้หมดในทั้ง 3 timeframe

การกำหนด stop loss ให้ดูส่วนของ Kumo ของ timeframe ที่กำหนด trade setup ประกอบ อาจมีการบวกระยะห่างเพิ่มอีกหน่อย แต่ถ้าจะไม่ต้องกังวลเรื่องของ stop loss มาก ให้เทรดด้วยการเห็น price action ประกอบตอนเปิดเทรดด้วย เช่น Engulfing bar, Pin bar ชัดเจน

การกำหนด take profit ให้ดูราคาตัด Kijun-Sen หรืออาจดู Round numbers ประกอบเพิ่มด้วย