กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

กลยุทธ Ichimoku Kumo Break เพื่อใช้ในการเทรดทอง

  • 0 replies
  • 844 views
กลยุทธ Ichimoku Kumo Break เพื่อใช้ในการเทรดทอง
« เมื่อ: 21, มีนาคม 2021, 08:44:23 PM »
กลยุทธ Ichimoku Kumo Break เพื่อใช้ในการเทรดทอง

จุดที่ถือว่าเด่นมากๆ ของการเทรดด้วย Ichimoku หรือระบบเทรดนี้คือ อินดิเคเตอร์ตัวนี้ช่วยให้เทรดเดอร์ เลือกข้างและกำหนดเทรนได้ง่าย และสามารถเทรดกับเทรนได้จนกว่าเทรนเปลี่ยน หรือบอกได้ว่าเป็นระบบเทรดแบบตามเทรนหรือ Trend Following ที่ดีตัวหนึ่ง และระบบเทรดที่สามารถช่วยหาเทรนได้ง่าย ก็มักจะหาจุดเทรนเปลี่ยนได้ง่ายด้วย แม้ว่า Ichimoku จะประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 อย่าง แต่ในบทความนี้จะเน้นไปที่เทคนิคการเทรด Kumo หรือ Cloud ที่มาจาก 2 ส่วนประกอบคือ Senkou Span A และ Senkou Span B [รายละเอียดของส่วนประกอบ อ่านได้ในบทความก่อนนี้]

Kumo หรือ Cloud มาจากไหน และใช้เพื่ออะไร


บทความนี้เน้นไปที่อธิบายการใช้งานเพื่อตีความ ไม่ได้ลงรายละเอียดการตั้งค่า Ichimoko ค่าที่ใช้จะเป็นค่า defaults เป็นหลัก Kumo หรือ Cloud หรือเมฆ เกิดจากระยะห่างจากส่วนประกอบ 2 ส่วนใน 5 ของ Ichimoku คือ Senkou Span A และ Senkou Span B [Senkou Span A หรือ Leading Span A เป็นการหาค่าจาก (Tenkan-Sen + Kijun-Sen)/2  – จะ plot ไปข้างหน้า 26 แท่งเทียน และ Senkou Span Bหรือ Leading Span B เป็นการหาค่าจาก (Highest High + Lowest)/2 จาก 52 แท่งเทียน จะ plot ไปข้างหน้า 26 แท่งเทียน]

วิธีการมอง Kumo คือการมองแนวรับ-แนวต้าน ก็จะดูระยะห่างระหว่างเส้นประกอบด้วย ถ้าห่างกันมาก ก็บอกว่า แนวรับ-แนวต้านนั้นๆ แข็งมาก ถ้าห่างน้อยหรือเมฆบาง แสดงว่าแนวรับ-แนวต้านไม่แข็ง โอกาสที่ราคาจะเบรคก็เกิดขึ้นได้ง่าย และด้วยการใช้ Kumo ทำให้เราเทรดตามเทรนได้ง่าย เพราะถ้าราคาอยู่เหนือกว่า Kumo เทรนก็จะเป็นขาขึ้น ก็จะช่วยให้เราหาโอกาสเทรด Buy เป็นหลัก หรือทางตรงกันข้ามถ้าราคาต่ำกว่า Kumo เป็นเทรนขาลง เราก็จะหาโอกาสเปิด Sell เป็นหลัก และยิ่งราคาอยู่เหนือหรือต่ำกว่า Kumo นานก็จะบอกว่าเทรนนั้นๆ แข็งด้วย

ใช้ Kumo เพื่อการเทรด Reversal อย่างไร


เมื่อเราใช้ Kumo ในการกำหนดเทรน สิ่งที่เราเห็นชัดเจนคือราคา ก็จะอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อราคาเบรค Kumo ก็มักจะเป็นสัญญาณการเกิด Reversal ของเทรน แต่ก็มีปัจจัยอย่างอื่นที่ต้องพิจารณาประกอบด้วยคือ


  • ความหนา หรือระยะห่างของ Kumom ที่โดนเบรคเป็นอย่างไร
  • ราคาได้อยู่ข้างนั้นนานขนาดไหนก่อนที่จะเกิดการเบรค
  • ราคาได้วิ่งห่างออกจาก Kumo มากขนาดไหนตอนที่ราคาอยู่ข้างนั้น ก่อนที่จะกลับมาเจาะ Kumo แล้วเบรค
  • Kumo ที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจาก timeframe ไหน

จากตัวอย่างด้านบน ชาร์ตที่ยกมาประกอบเป็นชาร์ตทอง D1 ดูส่วนทางช้ายก่อนที่ ราคาอยู่เหนือกว่า Kumo บอกว่าเป็นเทรนขาขึ้น และนานมาก ราคาได้อยู่ข้างนั้นนานและในชาร์ต D1 ด้วย ดูความหนาหรือระยะห่างของ Kumo พื้นที่ราคาเบรคจะเห็นว่าหนา บอกถึงแนวรับที่แข็งมากแต่ราคาก็ใช้เวลาหลายวัน (หลายแท่งเทียนกว่าราคาจะเบรค Kumo ได้) แต่ราคายังสามารถเบรคได้ ทำให้เกิดการเบรคเส้นล่างของ Kumo ลงมาได้ อย่างที่รู้กันตามหลักการของ Ichimoku ว่า Kumo ทำหน้าที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน และความหนาหรือระยะห่างระหว่าง Senkou Span A และ Senkou Span B ที่เป็นตัวสร้าง Kumo บอกถึงความแข็งของแนวรับ-แนวต้านด้วย หลังจากที่ราคาได้เบรค ราคาก็ได้ลงมาถึง 18000 points ได้ ถือว่าเป็นการทำเทรนใหม่และเคลื่อนที่เยอะมาก

เปิดเทรดเมื่อเกิด Kumo break อย่างไร


เนื่องจากการเทรด Kumo break เป็นการเทรดเมื่อเห็นราคาได้เบรคแนวรับ-แนวต้าน เมื่อเห็นราคาได้เบรคเส้นบนหรือแนวล่างของส่วนประกอบ Kumo ราคาปิดแล้ว ด้วยการดูส่วนประกอบของ Kumo ที่กล่าวด้านบนเพื่อการเทรดแบบ Reversal เพื่อกำหนดคุณภาพ เมื่อมีการเบรคเกิดขึ้น – สิ่งที่โดดเด่นของ Ichimoku คือเรื่องของการกำหนดเทรน เลยช่วยให้เทรดตามเทรนหรือเห็นเมื่อเทรนเปลี่ยนได้ง่าย - การเปิดเทรดเป็นไปได้ทั้งเปิดเทรด เมื่อราคาย่อตัวกลับมาทดสอบ (pullback)  หรือเปิดเทรดหลังจากที่เกิดเบรคในแท่งเทียนต่อมา เพราะหลายๆ ครั้งเมื่อเกิดเบรคแล้วราคาไปไกลมากไม่กลับมาทดสอบเปิดโอกาสให้เทรดแบบแรกได้เลย [วิธีการแก้ ให้ใช้หลักการเดียวกัน แต่ลง timeframe ย่อยลงไปเมื่อเห็น Kumo break เกิดขึ้น แล้วดู price structure ใน timeframe ย่อยเพื่อเข้าเทรด]

กรณีแรก Sell ส่วนที่เป็น Kumo หรือระยะห่างเล็ก บอกว่าแนวรับ-แนวต้านนี้ไม่แข็ง ราคาเบรคเส้นล่างของ Kumo ลงมาและปิดได้ในแท่งเทียนเดียว  พอราคาเบรคส่วนล่างของ Kumo ลงมาทำให้เราได้ข้อมูลว่าเทรนน่าจะเปลี่ยน พอแท่งเทียนต่อมา D1 ก่อนที่จะลงต่อจะเห็นว่ามีการย่อตัวขึ้นไป หรือถ้ามองใน timeframe ย่อยลงไป เราจะเห็นเป็น market structure ที่ราคาทำ pullback กลับไปตรงที่ราคาเบรคที่เราเห็นในชาร์ต D1 ก็เป็นเงื่อนไขการเปิดเทรดแบบ Pullback เราก็จะเปิด Sell ณ พื้นที่แท่งเทียนนี้

กรณีต่อมา การเปิดเทรด Buy ดูพื้นที่หรือระยะห่าง Kumo ราคาเบรคเส้นบนขึ้นไป และระยะห่างพื้นที่มาก บอกถึง แนวรับ-แนวต้านที่แข็ง ก่อนที่ราคาจะเบรคขึ้นไปได้ ดูแท่งเทียนที่มีการทดสอบ Resistance ในพื้นที่ Kumo แล้วเบรคแล้วค่อยตามมาด้วยการเบรค Kumo ขึ้นมาและปิดบนได้ ดูลักษณะอื่นๆ ประกอบตามที่อธิบายก่อนหน้านี้ พอราคาย่อตัวลงมาเปิดโอกาสให้เทรด Buy ตามหลักการเทรด Kumo break ได้ง่าย ยิ่งมอง market structure ตรงส่วนนี้ใน lower timeframe ย่อยลงมา เช่น H1 จะยิ่งเห็นพื้นที่เข้าเทรดชัดเจน

การกำหนด stop loss จะอิงพื้นที่ Kumo ที่อธิบายไว้ในบทความก่อนนี้ หรือถ้าเป็นการเข้าเทรดแบบ pullback ก็กำหนดแคบลงมาด้วยการดูแท่งเทียนที่ทำให้เกิด Kumo break เกิดขึ้น การกำหนด take profit ตามหลักการของการเทรดด้วย Ichimoku จะเป็นการดูการตัดกันระหว่างเส้น Tenkan-Sen และ Kijun-Sen หรือราคากลับมาหา Kumo อีกรอบ ตามที่อธิบายไว้ในบทความก่อนนี้