กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดทองด้วย Ichimoku Kinko Hyo ตอน 3 ขั้นตอนเปิดเทรด

  • 0 replies
  • 812 views
เทรดทองด้วย Ichimoku Kinko Hyo ตอน 3 ขั้นตอนเปิดเทรด

ต่อเนื่องจากที่อธิบายส่วนประกอบและการตีความแต่ละส่วนประกอบของ Ichimoko บอกได้ว่าอินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นมากกว่าอินดิเคเตอร์ทั่วๆ ไป ถือว่าเป็นระบบสำหรับการเทรดก็ว่าได้ เพราะว่าข้อมูลที่มาจากส่วนประกอบต่างๆ ผู้วิเคราะห์สามารถเทียบได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อกำหนดทิศทางการเทรดว่าความเป็นไปได้น่าจะอยู่ทางไหน นอกจากช่วยกำหนดทิศทางแล้ว ระบบยังช่วยให้หาจุดเข้าและออกจากการเทรดด้วย เห็นแนวรับ-แนวต้านง่ายและชัดเจน และยังบอกถึงความแข็งของสัญญาณด้วยว่าเป็นอย่างไร

เริ่มที่ Kumo หรือ Cloud


ส่วนประกอบที่ถือว่าเด่นของระบบ Ichimoku คือการกำหนดเทรนด้วย Kumo หรือ Cloud มาจากส่วนประกอบ Senkou Span A และ Senkou Span B [รายละเอียดส่วนประกอบและการตีความอ่านได้ในบทความก่อนนี้] สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนเมื่อจะเทรดด้วย Ichimoku คือดูว่าเส้น Senkou Span A และ Senkou Span B ที่ทำให้เกิด Kumo หรือ Cloud นั่นเอง เมื่อ Senkou Span A เหนือกว่า Senkou Span B บอกว่า Bullish หรือเทรนขึ้น และถ้า Senkou Span A ต่ำกว่า Senkou Span B บอกว่าเป็น Bearish หรือเทรนลง ดังนั้นเมื่อเห็น Kumo ท่านสามารถกำหนดทิศทางตลาดแบบง่ายๆ ได้เลย การตีความก็จะสัมพันธ์กับราคาดังนี้


  • ถ้าราคาอยู่เหนือกว่า Cloud หรือ Kumo ถือว่าเป็นเทรนขึ้น
  • ถ้าราคาต่ำกว่า Cloud หรือ Kumo ถือว่าเป็นเทรนลง
  • ถ้าราคาอยู่ใน Cloud หรือ Kumo ถือว่าตลาด consolidating หรือ ranging วิ่งในกรอบแคบๆ ไม่ไปไหน

นอกจากนั้นแล้ว Ichimoku ยังบอกระดับความแข็งของสัญญาณได้ง่ายด้วย เมื่อมองจากส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบแบบเทียบกันเอง และเทียบกับ Cloud เช่น เมื่อเส้น  Tenkan-Sen ตัดเส้น Kijun-Sen ขึ้นมาถือว่าเป็นสัญญาณ Bullish แต่ระดับความแข็งต่างกันออกไป เช่น ถ้าตัดกันอยู่เหนือ Kumo ถือว่าแข็งมาก ถ้าตัดกันต่ำกว่า Kumo ถือว่าอ่อน ถ้าตัดกันภายใน Kumo ถือว่าธรรมดาเพราะราคาไม่ไปไหน ถ้า Tenkan-Sen ตัด Kijun-Sen ลงถือว่าเป็นสัญญาณ Bearish แต่ระดับความแข็งสัญญาณต่างกันออกไปเมื่อดูประกอบส่วนอื่นคือ ถ้าตัดกันต่ำกว่า Kumo ถือว่าแข็งมาก ถ้าตัดกันเหนือ Kumo ถือว่าอ่อน ถ้าตัดกันภายใน Kumo ถือว่าธรรมดา สามารถบอกถึงความแข็งสัญญาณได้ด้วยเงื่อนไขดังต่อไปนี้


  • การเคลื่อนไหวของราคาห่างและสัมพันธ์กับ Cloud อย่างไร
  • เส้น Chikou Span ห่างและสัมพันธ์กับ Cloud อย่างไร
  • การตัดกัน อย่างเช่น Tenkan-Sen กับ Kijun-Sen ห่างและสัมพันธ์กับ Cloud อย่างไร


อีกสิ่งที่ต้องการเมื่อท่านเทรดด้วย Ichimoku เพราะส่วนประกอบในการตีความมากถึง 5 ส่วน ต้องใช้ความอดทนสูงเพื่อรอให้เห็นข้อมูลต่างๆ ชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจเปิดเทรด

สร้างกลยุทธ์เปิดเทรดด้วย Ichimoku แบบ Sell



ขั้นตอนที่ 1 – รอให้ราคาเบรคและสามารถปิดต่ำกว่า Cloud หรือ Kumo ได้ – ความสัมพันธ์ระหว่างราคาและ Cloud บอกถึงเทรนเป็นอย่างไร ณ ตอนนั้นๆ และราคาเปิดเผยอย่างไรกับแนวรับ-แนวต้านปัจจุบัน เพราะราคาเบรคและปิดต่ำกว่า Cloud ได้บอกถึงเทรนลงใหม่กำลังเปิดเผย และมองดูส่วนของ Cloud ที่ plot มาทางขวาอีก 26 แท่งเทียนด้วยว่าเป็นอย่างไร และ Chikou Span ที่เทียบราคาย้อนหลัง 26 แท่งเทียนก็ต่ำกว่าราคาด้วย


ขั้นตอนที่ 2 – รอให้ Crossover ระหว่างเส้น Tenkan-Sen ตัดลง Kijun-Sen เกิดขึ้นให้เป็นก่อน เพราะแม้ว่าราคาสามารถปิดต่ำกว่า Kumo ได้ แต่ต้องการการยืนยันเพิ่มเติ่มว่าการตัดกันระหว่าง Tenkan-Sen และ Kijun-Sen บอกแนวรับ-แนวต้านปัจจุบัน ณ ราคาตอนนั้นเปลี่ยนแปลงไปทางเดียวกันหรือไม่



ขั้นตอนที่ 3 – เปิด Sell หลังจากเกิด Crossover ที่แท่งเทียนต่อไป ดูที่เลข 3 จะเห็นชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องกันว่าอินดิเคเตอร์ Ichimoku นั้นมีส่วนประกอบต่างๆ ช่วยยืนยันกันเองอย่างไร และยังเป็นตัวกรองคุณภาพสัญญาณการเทรดด้วยว่าแข็งพอหรือเปล่า เพราะราคาเบรค Kumo บอกว่าราคาเปลี่ยนเทรน และ Kumo Future บอกสิ่งที่จะเกิดขึ้น จะเห็นว่า ตำแหน่ง Senkou Span A ได้ตัดลงมาต่ำกว่าตำแหน่ง Senkou Span B หรือถ้าดูเป็นสีของ Kumo หรือ Cloud หรือเมฆ ก็จะเปลี่ยน และตามมาด้วยการตัดของ Tenkan-Sen ตัด Kijun-Sen ลง [รายละเอียดการตัดกันอ่านได้ในบทความก่อนนี้] เลยเปิดโอกาสให้เปิดเทรดเมื่อแท่งเทียนใหม่เปิดขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 4 –  กำหนด stop loss เหนือแท่งเทียนที่เกิด Breakout แต่อาจใช้ส่วนของ Kumo มาประกอบด้วยก็ได้อย่างที่กำหนดในเส้น Stop loss สีแดง 2 เส้น

ขั้นตอนที่ 5 – การกำหนด Take profit เบื้องต้นเลยกำหนดด้วยการดูการตัดกันอีกรอบของเส้น Tenkan-Sen ตัดกับ Kijun-Sen ขึ้น ตามภาพประกอบ หรืออาจจะรอจนกว่าราคาเบรค Kumo ก็ได้ แต่ส่วนต่างกำไรอาจน้อยลงไป แล้วแต่ประสบการ์ณของเทรดเดอร์แต่ละคน

ตัวอย่างด้านบนเป็นขั้นตอนการหาโอกาสเทรด Sell ด้วยการใช้ระบบ Ichimoku ในการวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสและกรองสัญญาณคุณภาพการเข้าเทรดไปในตัวด้วย ส่วนการเปิดเทรดแบบ Buy ก็ใช้หลักการเดียวกันแต่ตรรกะตรงกันข้าม

จากที่อธิบายขั้นตอนการเปิดเทรดมา จะเห็นว่าระบบเทรดด้วย Ichimoku ให้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งเรื่องของเทรน แนวรับ-แนวต้าน และยังบอกจุดเข้าเทรด พร้อมทั้งมีการกรองคุณภาพทั้งแนวรับ-แนวต้านและจุดเข้าเทรดให้ด้วย แต่ถ้ามองแบบผิวเผินอาจจะเห็นภาพที่ซับช้อน เพราะว่าอินดิเคเตอร์ใช้ส่วนประกอบมากถึง 5 ส่วนในการให้ข้อมูลที่ชาร์ตเปล่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจและคุ้นชื่อแต่ละส่วนประกอบก่อน และส่วนประกอบแต่สะส่วนก็สัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะทั้งช่วยกำหนดเทรน แนวรับ-แนวต้าน ยังช่วยยืนยันกันเองและกรองคุณภาพไปในตัวด้วย ระบบเทรด Ichimoku จึงถือได้ว่าเป็นระบบเทรดแบบตามเทรนหรือ Trend following ที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมาก