กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดทองด้วย Ichimoku Kinko Hyo ตอน 2 ตีความส่วนประกอบเพื่อเทรด

  • 0 replies
  • 794 views
เทรดทองด้วย Ichimoku Kinko Hyo ตอน 2 ตีความส่วนประกอบเพื่อเทรด

ต่อจากบทความที่แล้ว ที่เน้นอธิบายส่วนประกอบหลักของ Ichimoku Kinko Hyo ที่ทำให้เกิดระบบเทรดแบบเมฆ หรือ Cloud ว่าระบบเทรดนี้น่าสนใจอย่างไร ก่อนอื่นเมื่อมองผิวเผิน อาจมองเห็นว่าเป็นการนำเสนอจากส่วนประกอบระบบการมองชาร์ตเปล่ามากไปก็ได้ถ้ายังไม่ชิน แต่หลักการสำคัญของการเทรดด้วยระบบนี้คือ ทุกส่วนประกอบกัน ก็จะตีความและบอกภาพรวมของตลาดทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ประกอบไปด้วยเรื่องของเทรน แนวรับ-แนวต้าน และจุดเข้าเทรดและออกเทรด ยังบอกถึงความแข็งของเทรนเป็นอย่างไร และยังใช้ได้กับทุกตลาดและทุก timeframe ได้ง่าย

ส่วนประกอบและราคา



กลับมาภาพหลักที่ได้เมื่อท่านใส่อินดิเคเตอร์ Ichimoku เข้าไป จากค่า default ท่านจะได้แบบด้านบน ค่า Parameters เป็นค่าหลักหรือมาตรฐานที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว สามารถปรับจูนได้ แต่ควรศึกษาให้เข้าใจหลักการก่อนว่าทำงานอย่างไร  และอีกส่วนจะเป็นการกำหนดสีของส่วนเส้นต่างๆ ที่จะประกอบบนชาร์ต ที่ต้องการให้สังเกตคือ Up Kumo และ Down Kumo ระยะห่างย้อนหลังและไปข้างหน้า 26 แท่งเทียนตามที่กำหนดในอินดิเคเตอร์ และต้องมองราคาด้วย โดยอินดิเคเตอร์จะให้ข้อมูล 3 ส่วนประกอบด้วย อดีต ปัจจุบันและอนาคต ดูตรงที่ราคาปัจจุบันมองมาทางช้ายจะเห็นเส้น Chikou Span ที่เป็นราคาปัจจุบัน แต่ย้อนหลัง 26 แท่งเทียน ก่อนจะลงรายละเอียดการตีความมาทบทวนส่วนประกอบของ Ichimoku ก่อนมี


  • Tenkan-Sen หรือ Conversion line หรือ turning line
  • Kijun-Sen หรือ Base line หรือ Standard
  • Senkou Span A หรือ Leading Span A
  • Senkou Span B หรือ Leading Span B
  • Chikou Span หรือ Lagging Span

วิเคราะห์ Kumo หรือ Cloud หรือเมฆ

เส้นของ Senkou Span A และ Senkou Span B เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด Kumo  ข้อมูลที่ได้จาก Kumo จะเป็นเรื่องของเทรน เนื่องจากการที่ plot ไปข้างหน้าด้วย Kumo เป็นบอกถึงเทรนที่เป็นอยู่และเทรนที่น่าจะเกิดขึ้น การวิเคราะห์เทรนจาก Kumo ก็จะมาจากส่วนประกอบของ Kumo เอง และ Komu กับส่วนประกอบอื่นและราคา


  • สีของ Kumo ผลจากตำแหน่งของเส้น Senkou Span A และ Senkou Span B – ถ้า A เหนือกว่า B บอกว่าเป็น Bullish Trend  ที่บอกว่า Up Kumo แต่ถ้า A ต่ำกว่า B ก็จะเป็น Bearish Trend ที่บอกว่า Down Kumo ในภาพประกอบ และการตัดกันหรือเปลี่ยนตำแหน่ง บอกถึงความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนเทรน
  • ระยะห่างระหว่างเส้นหรือบอกว่าเป็นความหนาของ Kumo  ยิ่งห่างมากหรือเมฆหนามาก บอกถึงความแข็งของเทรน ถ้าแคบหรือหนาน้อยบอกเทรนอ่อน โอกาสที่ราคาจะเบรคเทรนได้ง่าย และขอบบนและล่างของ Kumo หรือเมฆ ยังถือว่าเป็นแนวรับ-แนวต้านด้วย
  • Kumo กับราคา เป็นการดูเทียบกับราคา ถ้าราคาอยู่เหนือ Kumo เป็น Bullish ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่า Kumo เป็น Bearish
  • Kumo กับ Chikou Span – ถ้า Chikou Span อยู่เหนือ Kumo ถือว่าเป็น Bullish Trend ถ้าต่ำกว่า ถือว่าเป็น Bearish Trend ถ้าอยู่ข้างใน Kumo ถือว่าไม่ทำเทรน Chikou Span ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการยืนยันเทรนเพราะไม่ได้เทียบกับราคาเดียวกัน แต่เทียบกับแท่งเทียนย้อนหลัง
  • Kumo กับ Kijun-Sen และ Tenkan-Sen แม้ว่าตำแหน่งของเส้น Kijun-Sen และ Ktenkan-Sen จะเทียบกับราคาเป็นหลัก แต่ก็ถือตำแหน่งของเส้นทั้งสองเมื่อเทียบกับ Kumo ถือว่าสำคัญเช่นกันเพราะช่วยบอกความแข็งของเทรนได้ ถ้าตำแหน่งทั้งสองเส้นห่างจาก Kumo เทรนน่าจะไปต่อทางนั้นๆ

วิเคราะห์ส่วนประกอบอื่นๆของ Ichimoku

ก่อนได้อธิบายหลักการวิเคราะห์ Kumo ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของระบบเทรด Ichimoku แต่การที่จะตีความเพื่อเทรดด้วยระบบนี้ จำเป็นต้องวิเคราะห์ทุกส่วนประกอบด้วยกัน ทั้งระหว่างส่วนประกอบกันเอง และส่วนประกอบต่อราคาด้วย การวิเคราะห์ส่วนประกอบอื่นดังต่อไปนี้


  • Chikou Span กับราคา – ถ้าตัดราคาขึ้น ถือว่าเป็นสัญญาณ Bullish และถ้าตัดราคาลงมา ถือว่าเป็นสัญญาณ Bearish [เส้น Chikou Span คือเส้นที่แสดงราคาปัจจุบันย้อนลงไป 26 แท่งเทียนตามที่กำหนด ในอินดิเคเตอร์ และต้องไม่ลืมว่าที่บอกว่าราคาคือตัดราคาตรงแท่งเทียนที่ย้อนหลังเช่นกัน] และยิ่งราคาอยู่เหนือกว่า Kumo ด้วย และเส้น Chikou Span ตัดขึ้น ยิ่งบอกถึงสัญญาณที่ชัดเจนหรือแข็งกว่าเดิมอีก ถ้าตัดลงและราคาต่ำกว่า Kumo ก็มีผลตรงกันข้าม แต่ถ้า Chikou Span อยู่ใน Kumo แสดงว่าราคาไม่ทำเทรน
  • Kijun-Sen กับราคา – เส้น Kijun-Sen ถือว่าเป็นแนวรับ-แนวต้าน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการกำหนดเทรน ถ้าราคาตัดขึ้นถือว่าเป็นสัญญาณ Bullish ถ้าราคาตัดลงเป็นสัญญาณ Bearish  และยังต้องดูการตัดกันระหว่างราคากับเส้นนี้ว่าเหนือหรือต่ำกว่า Kumo ด้วยก็จะเพิ่มความแข็งของสัญญาณขึ้นไปอีกระดับเช่น ถ้าราคาตัดเส้น Kijun-Sen เหนือ Kumo ถือว่าสัญญาณแข็งมาก ถ้าตัดกันแต่อยู่ใน Kumo ถือว่าธรรมดา แต่ถ้าตัดกันขึ้นแต่อยู่ต่ำกว่า Kumo ถือว่าสัญญาณ Bullish อ่อนมากเป็นต้น นอกจากนั้นเรื่องของระยะห่างระหว่าง Kijun-Sen และราคา ก็สื่อความหมายเช่นกัน หรือถ้าเป็นเส้นตรงก็จะเป็นช่วงตลาด flat หรือ sideway
  • Tenkan-Sen กับราคา – เส้น Tenkan-Sen จะโต้ตอบกับราคาเร็วกว่า Kijun-Sen เพราะแท่งเทียนกำหนดน้อยกว่า จะใช้บอกการเคลื่อนไหวหรือ momentum จะใช้กับ Kijun-Sen เป็นหลัก และตีความประกอบกับ Kumo ด้วย
  • Chikou Span กับ Kijun-Sen – ถ้าเส้น Chikou Span เหนือกว่า Kijun-Sen ถือว่าสัญญาณเป็น Bullilsh ถ้าต่ำกว่าเป็น Bearish เพราะต้องไม่ลืมว่า Kijun-Sen ถือว่าเป็นแนวรับ-แนวต้านที่แข็ง และแข็งกว่า Tenkan-Sen ดังนั้นหลักการเบื้องต้น ถ้าตราบใดที่ Chikou Span เหนือกว่า Kijun-Sen ถือว่าการเคลื่อนไหวทาง Bullish ยังแข็งอยู่ ในทางตรงกันข้ามถ้าต่ำกว่า และก็ไม่แปลกที่จะเห็นเส้น Chikou Span จะเด้งออกจาก Kijun-Sen ก่อนการเคลื่อนไหวเยอะๆ
  • Tenkan-Sen กับ Kijun-Sen – การตัดกันระหว่างเส้น Tenkan-Sen และ Kijun-Sen บอกการเปลี่ยนหรือต่อเนื่องของเทรนเช่น ถ้ากรณีเส้น Tenkan-Sen ตัดเส้น Kijun-Sen ขึ้นและอยู่เหนือ Kumo ด้วย บอก สัญญาณ Bullish ที่แข็งมาก ถ้าตัดกันมี  Kumo สัญญาณธรรมดา และถ้าตัดใต้ Kumo ถือว่าสัญญาณ Bullish อ่อนมาก  ส่วนการตัดลงก็ตรรกะตรงกันข้าม

การกำหนดเทรน

จากที่แยกอธิบายแต่ละส่วนประกอบเพื่อให้เข้าใจ แต่การที่จะวิเคราะห์เทรนหรือหาพื้นที่ trade จำเป็นต้องใช้ทุกส่วนประกอบกันเพื่อจะได้เห็นภาพรวม และด้วยการมองจากจุดเดียวด้วย Ichimoku

ตามที่กำหนดมาเมื่อกำหนดเทรนขาขึ้นหรือ Bullish ส่วนประกอบของ Ichimoku จะเป็นดังต่อไปนี้


  • ราคาต้องอยู่เหนือ Kumo, Tenkan-Sen และ Kijun-Sen
  • Kumo ต้องมีระยะห่างมาก หรือเมฆหนาและ Bullish
  • Tenkan-Sen ได้ตัด Kijun-Sen ขึ้นและอยู่เหนือ Kumo
  • Chikou Span อยู่เหนือทั้ง Kumo, Tenkan-Sen, Kijun-Sen และราคา

ตามที่กำหนดมาเมื่อกำหนดเทรนขาลงหรือ Bearish ส่วนประกอบของ Ichimoku จะเป็นดังต่อไปนี้


  • ราคาต้องอยู่ใต้ Kumo, Tenkan-Sen และ Kijun-Sen
  • Kumo ต้องมีระยะห่างมาก หรือเมฆหนา และ Bearish
  • Tenkan-Sen ได้ตัด Kijun-Sen ลง และอยู่ใต้ Kumo
  • Chikou Span อยู่ใต้ ทั้ง Kumo, Tenkan-Sen, Kijun-Sen และราคา


ตัวอย่างจากภาพ เริ่มที่เลข 1 ที่ถือว่าเป็นราคาปัจจุบัน 

ราคาต่ำกว่า Tenkan-Sen และ Kijun-Sen และเห็น Tenkan-Sen ตัด Kijun-Sen ลงล่างและใช้ Kumo ด้วย แต่ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้น อาจไม่เห็น Kumo เป็น Bearish  แต่ที่ต้องการให้ดูประกอบคือที่เลข 4 ที่ Kijun-Sen เป็นส้นตรงก่อน บอกตลาด flat ไม่วิ่งไปไหน แล้วค่อยเบรคลงมา แล้วมองย้อนหลัง 26 แท่งเทียนตรงที่เลข 5 จะเห็นว่าต่ำกว่าราคาที่บอกการยืนยันจากอดีต มองไปทางขวามือ อนาคต ดูที่เลข 7 จะเห็นว่า Kumo ได้เปลี่ยนตำแหน่งกัน หรือเปลี่ยนข้างหรือเปลี่ยนสี แต่อาจมองย้อนมาที่เลข 6 จะเห็นจุดที่ Kumo เปลี่ยนข้างเป็น Bearish จากนั้นก็จะเห็นว่าราคาลงมาอย่างมาก


อีกภาพประกอบในการวิเคราะห์ ภาพที่เราเห็นเมื่อจะเทรด จะอยู่ในส่วนกรอบสว่าง แล้วไล่เลียงตามส่วนประกอบของ Ichimoku กันเอง และกับราคา ก็จะเห็นภาพเช่นตัวอย่างบน

จะเห็นว่าการใช้ Ichimoku ต้องใช้ทุกส่วนประกอบกันและราคา เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมตลาดทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตเพื่อกำหนดการเทรด แต่ต้องฝึกสายตาให้คุ้นก่อน เพราะมองดูผิวเผิน อาจเป็นภาพที่ซับซ้อนเพราะส่วนประกอบการนำเสนอบนชาร์ตมีมากถึง 5 ส่วน วิธีการง่ายสุดให้มองที่ Kumo ก่อนเทียบกับราคาเพื่อดูเทรนปัจจุบันและที่น่าจะเกิดในอนาคต เพื่อดูภาพรวมโดยง่าย แล้วค่อยมองส่วนอื่นๆ ประกอบเพื่อลงรายละเอียด