กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดทองด้วย Ichimoku Kinko Hyo ตอน 1 ส่วนประกอบ

  • 0 replies
  • 900 views
เทรดทองด้วย Ichimoku Kinko Hyo ตอน 1 ส่วนประกอบ
« เมื่อ: 21, มีนาคม 2021, 08:02:18 PM »
เทรดทองด้วย Ichimoku Kinko Hyo  ตอน 1 ส่วนประกอบ

หลักการเทรดด้วยอินดิเคเตอร์ Ichimoku Kinko Hyo  แม้ว่าดูแรกๆ อาจจะดูซับซ้อน เพราะส่วนประกอบของอินดิเคเตอร์นี้ประกอบด้วย 5 ตัวแปรหลักๆ ในการนำมาหาค่า และยังมีการตีความจากสิ่งที่เกิดขึ้นและการตีความระหว่างกันเองและระหว่างราคากับค่าพวกนี้อีก แต่เมื่อเข้าใจหลักการทำงานของอินดิเคเตอร์  จึงไม่แปลกเลยที่ทำไมจึงเป็นระบบเทรดอีกอย่างที่เทรดเดอร์นิยมกัน อินดิเคเตอร์ตัวนี้เมื่อตีความได้ก็จะบอกภาพรวมของตลาดทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ประกอบไปด้วยเรื่องของเทรน แนวรับ-แนวต้าน จุดเข้าเทรดและออกเทรด แล้วยังบอกถึงความแข็งของเทรนว่าเป็นอย่างไร และยังใช้ได้กับทุกตลาดและทุก timeframe [บทความชุดนี้จะไม่เน้นอธิบายรายละเอียดการหาค่าแต่ละส่วนประกอบ แต่เน้นไปที่การตีความและการใช้งานเป็นหลัก]

ส่วนประกอบของ Ichimoku Kinko Hyo


ก่อนที่จะเข้าใจระบบเทรดด้วย Ichimoku Kinko Hyo [ต่อไปจะเรียกแค่ว่า Ichimoku] ต้องเข้าใจส่วนประกอบก่อน ว่าส่วนประกอบพวกนี้เป็นตัวสร้างระบบ Ichimoku อย่างไร แต่ละตัวสัมพันธ์กันกับตัวอื่นๆ และสัมพันธ์กับราคาตลาดอย่างไรสำหรับกำหนดระบบเทรด ในบทความนี้จะใช้ค่า default ของอินดิเคเตอร์คือ 9-26-52 เป็นหลัก ส่วนประกอบมีดังต่อไปนี้ [ค่าแท่งเทียนหรือ Period อิงจากที่กำหนดในอินดิเคเตอร์]


  • Tenkan-Sen หรือ Conversion line หรือ turning line หาค่าจาก (Highest High + Lowest)/2 จาก 9 แท่งเทียน
  • Kijun-Sen หรือ Base line หรือ Standard line หาค่าจาก (Highest High + Lowest)/2 จาก 26 แท่งเทียน
  • Senkou Span A หรือ Leading Span A เป็นการหาค่าจาก (Tenken-Sen + Kijun-Sen)/2 – จะ plot ไปข้างหน้า 26 แท่งเทียน
  • Senkou Span B หรือ Leading Span B เป็นการหาค่าจาก (Highest High + Lowest)/2 จาก 52 แท่งเทียน  จะ plot ไปข้างหน้า 26 แท่งเทียน
  • Chikou Span หรือ Lagging Span เป็นค่าราคาปัจจุบัน แต่เวลาย้อนหลัง 26 แท่งเทียนเพื่อเปรียบเทียบอดีต - จะ plot ย้อนหลังไป 26 แท่งเทียน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจภาพรวมที่ Ichimoku เสนอก่อนเป็นอย่างไร ค่อยลงรายละเอียดแต่ละส่วนประกอบว่าช่วยในการตีความตลาดอย่างไร Ichimoku เสนอข้อมูลมากกว่าอินดิเคเตอร์อื่นๆ คือมีทั้ง 3 ส่วนด้วยกันได้แก่อดีต ปัจจุบันและอนาคต (Past + Present + Future) เพื่อเปรียบเทียบจากค่าที่กำหนดในอินดิเคเตอร์ เมื่อแบ่งออกเป็น 3 ส่วนก็จะได้ดังภาพ


นอกจากส่วนประกอบ 5 ส่วนแล้ว ยังต้องเอาส่วนที่เป็นราคาตลาดหรือ Price มาประกอบด้วย


  • ส่วนปัจจุบัน ดูราคากับ Tenkan-Sen และ Kijun-Sen และ Cloud หรือ Kumo จากเส้น Senkou Span A + Senkou Span B ที่เป็นเทรนปัจจุบัน
  • ส่วนอนาคต หรือที่น่าจะเป็นไปได้จากข้อมูลที่ใช้ มาจากการหาค่าพื้นที่หรือ Cloud หรือ Kumo ก็จะเห็นว่าน่าจะเป็นเทรนทางไหน แนวรับแนวต้านอย่างไร
  • ส่วนอดีตเป็นการเทียบราคาปัจจุบัน ย้อนแท่งเทียนไป 26 แท่งเทียน ตามที่กำหนดว่าราคานี้สัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยในอดีตเป็นอย่างไร

การที่จะใช้ Ichimoku เป็นระบบในการอ่านตลาดจำเป็นต้องทำความเข้าใจแต่ละส่วนประกอบก่อนว่าหมายความอย่างไร และใช้กับส่วนประกอบอื่นหมายความอย่างไร เพราะเมื่อท่านใช้ Ichimoku เป็นไม่เพียงแค่หาจุดเข้าเทรดและออกเทรดเป็น แต่ Ichimoku ให้ข้อมูลสำคัญจากตลาดต่อท่านด้วยคือ เรื่องของเทรน เรื่องของความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น และแนวรับ แนวต้านหลักๆ

Kumo หรือ Cloud ที่เกิดจาก Senkou Span A และ Senkou Span B


Kumo หรือเรียกกันว่า Cloud หรือเมฆ ที่เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของ Ichimoku คือพื้นที่ระหว่าง Senkou Span A และ Senkou Span B โดย Cloud ที่ได้มาจะเป็นทั้งพื้นที่แนวรับ-แนวต้านปัจจุบัน และบอกแนวรับ-แนวต้านที่น่าจะเกิดขึ้นด้วยหรือส่วนอนาคต เพราะว่า Cloud ที่ได้จะ plot ไปข้างหน้า 26 แท่งเทียน เลยบอกแนวรับ-แนวต้านที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต หลักการคือ ถ้าเส้น Senkou Span A มากกว่า Senkou Span B ถือว่าเป็น Bullish และตรงกันข้ามถ้า Senkou Span A ต่ำกว่า Senkou Span B ถือว่าเป็น Bearish และยังต้องดูเรื่องของรูปร่างและส่วนสูงระหว่างกันด้วย ถ้าพื้นที่ Kumo เป็นสี SandyBrow จะเป็น Bullish และถ้าเป็นสี Thistle จะเป็น Bearish จะเห็นว่าสีเปลี่ยนตามเส้น Senkou Span A และ B ตัดกันนั่นเอง อีกส่วนที่ต้องดูคือเรื่องของระยะห่างหรือ Height ระหว่า Senkou Span A และ B เป็นอย่างไร ถ้าระยะห่างมาก ก็จะได้ Kumo หรือ Cloud มากใหญ่ขึ้นบอกถึง Volatility เลยบอกถึงว่า Support/Reistance แข็งกว่าพื้นที่ที่มี Cloud เล็กๆ ด้วย หรือบอกได้ว่าถ้าพื้นที่ Cloud น้อยๆ หรือเล็ก ก็บอกว่าแนวรับ-แนวต้านตรงนั้นอ่อน ราคาก็จะสามารถผ่านได้ง่าย หรือเบรก หรือเปลี่ยนเทรนนั่นเอง  ดังนั้นการเปลี่ยนตำแหน่งระหว่าง Senkou Span A และ B ด้วยการตัดกันระหว่าง 2 เส้น ก็จะบอกถึงความเป็นไปได้ที่เทรนจะเปลี่ยน

Chikou Span หรือ Lagging span


ส่วนประกอบนี่ถือว่าง่ายสุดเพราะทำงานแค่ว่าราคาปัจจุบัน แต่ย้อนหลังเทียบไป 26 แท่งเทียนก่อน ตามตัวอย่างจะเป็นอย่างภาพขวาสุดเลข 3 ราคาปัจจุบันและย้อนหลังแท่งเทียนไป 26 แท่งเทียน [ตามที่กำหนดไว้ใน Settings] Chikou Span สำคัญและยังใช้ง่ายด้วย แค่เมื่อเห็น Chikou Span ตัดราคากำลังขึ้น เป็นสัญญาณการเทรดหรือ trading signal  บอก Buy และถ้าตัดราคาลงเป็นสัญญาณบอก Sell อย่างในภาพประกอบที่เลข 1 และเลข 2

ต่อเนื่องจากการตัดกันระหว่าง Chikou Span กับราคา เราสามารถกำหนดได้ trading bias ว่าจะเทรดทางไหนเป็นหลักว่าถ้าจะหา Sell signal ต้องเห็นเส้น Chikou Span อยู่ต่ำกว่าราคา และถ้าจะหา Buy signal ต้องเห็น Chikou Span อยู่เหนือกว่าราคา อย่างกรณีที่เลข 3 จะเห็นว่า Chikou Span ได้ตัดราคาขึ้นมา

นอกจากนั้น จากภาพประกอบจะเห็นว่า Chikou Span ยังช่วยให้หาแนวรับ-แนวต้านว่าอยู่ตรงไหนด้วย

ส่วนประกอบ Tenkan-Sen และ Kijun-Sen


เส้น 2 เส้นนี้หลักการนำเสนอกล่าวได้ว่าเป็นแบบเดียวกันกับเส้น Moving Average ที่ต่างค่า Periods กัน 2 เส้น แต่ต่างกันที่หลักการคำนวณหาค่า เพราะเส้น Moving Average จะหาค่าจากราคาปิดเป็นหลัก ส่วน Kijun-Sen และ Tenken-Sen จะหาค่าจาก Highest/Lowest  จากกพื้นที่ อิงตามค่าแท่งเทียนหรือ Periods ถ้าจำนวนมากกว่าก็จะแข็งกว่า หรือเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า เส้นที่ได้จาก Kijun-Sen และ Tenken-Sen เลยเป็นเทรนและบอกแนวรับ-แนวต้านอัตโนมัติปัจจุบันไปในตัวด้วย การตัดกันระหว่างเส้นที่แท่งเทียนน้อย [เส้นสีแดง] กับแท่งเทียนมากกว่า [เส้นสีน้ำเงิน] ก็จะบอกเทรนเปลี่ยนและบอกจุดเข้าเทรดด้วย เส้นที่มีแท่งเทียนมากกว่าเส้นสีนำเงินก็จะสำคัญมากกว่าเส้นสีแดง  การตัดกันบอกสัญญาณการเปิดเทรด การที่เส้น Kijun-Sen เป็นเส้นตรงบอกสถานะตลาดว่าไม่วิ่งไปไหนหรือ sideway หรือ flat market นอกนั้น เส้น Kijun-Sen ยังเป็นแนวรับ-แนวต้าน ตามภาพประกอบด้วย

Ichimoku ต้องใช้ทุกส่วนประกอบกัน จะเห็นภาพชัดเจนว่าระบบเทรดทำงานและบอกตลาดทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตอย่างไร บทความต่อไปจะเป็นการใช้แต่ละส่วนประกอบในการวิเคราะห์ตลาด