กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner Channel

  • 0 replies
  • 788 views
เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner Channel
« เมื่อ: 27, กุมภาพันธ์ 2021, 05:59:36 AM »
เทรดสิ่งที่เห็นด้วย Keltner Channel

อินดิเคเตอร์อีกตัวที่เป็นที่นิยมกันในการกำหนดเทรนคือ Keltner Channel จะใช้ในการกำหนดและเทรดด้วยหลักการของเทรน เช่นดู Overbought/Oversold เพื่อหาเทรดจุดกลับตัว หรือว่าจะดูว่าเทรนหลักเป็นขาขึ้นหรือขาลงเพื่อเทรดตามเทรนเมื่อราคาลงมาทดสอบเทรน หลักการเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands คือเป็นกรอบเทรนหรือ Trend Channel ให้ดูเทียบกับราคาปัจจุบัน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ถ้าใช้กับ Market structure ก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้เข้ามาอีกระดับหนึ่งสำหรับ Trade setup

Keltner Channel คืออะไร


Keltner Channel เป็นอินดิเคเตอร์บอกเรื่องของเทรนหรือ Trend following เป็นหลัก รูปแบบการนำเสนอก็จะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands แต่วิธีการในการหาค่าจะต่างกัน [ Keltner ใช้ ATR ในการหาค่า ส่วน Bollinger Bands ใช้ Standard Deviation ] ตัวอินดิเคเตอร์จะเสนอกรอบเทรนหรือ Channel ด้วย 3 เส้น เส้นกลางสำหรับกำหนดเทรนจากการหาค่าจาก EMA 20 ที่กำหนดใน Settings [สามารถเพิ่ม Moving Average กำหนดค่าวิธีการคำนวณเป็น Exponential เป็น 20 เปรียบเทียบได้] ส่วนเส้นด้านบนหาค่าจาก EMA +( 2 x ATR) และเส้นล่างหาค่าจาก EMA – (2 x ATR) เมื่อ 3 เส้นรวมกันก็จะได้กรอบเทรนสำหรับราคา

โดยการกำหนดเทรนจะอิงราคากับเส้นกลางหรือ EMA 20 ถ้าราคาเหนือกว่าเป็นเทรนขึ้น และถ้าราคาต่ำกว่าเป็นเทรนลง ถ้าราคาเริ่มออกจากเส้นกลางเป็นการเริ่มทำเทรนไปทางนั้นๆ ถ้าถึงเส้นบน ถือว่าเทรนไปมากหรือ Overbought ราคาอาจไปต่อแรงช่วงนี้ หรืออาจเด้งกลับมาหาเส้นกลางเพื่อทดสอบเทรนขึ้น การกลับมาเส้นกลางแล้วเด้งออกอีกรอบเป็นโอกาสที่เทรดเดอร์จะได้เทรดตามเทรนขึ้นหรือหลักการเทรด Pullback นั่นเอง และถ้าราคาต่ำกว่าเส้นกลางเป็นเทรนลง หาโอกาส Sell เป็นหลัก ถ้าราคาไปถึงเส้นล่างพื้นที่ Oversold ราคาได้ลงไปเยอะ อาจไปต่อได้อีกอย่างรวดเร็วและอาจเด้งกลับมาทดสอบเทรนที่เส้นกลาง ถ้าราคาหักลงต่อก็จะเป็นโอกาสเปิดเทรดแบบ Pullback สำหรับตามเทรนลง


อธิบายแบบง่ายๆ  การตีความเทรนก็จะเห็นได้ชัดเมื่อ Keltner Channel เอียงและการตีความความแคบระหว่างเส้นบนและเส้นล่าง ถ้าห่างน้อยบอกความผันผวนน้อย ถ้าห่างมากบอกความผันผวนมาก เช่นถ้าไม่เอียงไปทางไหน ราคาอยู่ในกรอบหรือ Consolidation ถ้าเอียงขึ้นเป็นเทรนขึ้น ถ้าเอียงลงเป็นเทรนลง  และเนื่องจากกรอบบนและล่างถือว่าเป็นพื้นที่ที่ราคาได้ดันไปเยอะหรือบอกถึง Overbought/Oversold ไปด้วยเลยทำให้เราสามารถเทรดจังหวะเทรนได้ดี และต้องระวังด้วยว่า อย่างกรณีที่เลข 1 และเลข 2 ราคาไปเกิดเส้นบน นอกจากบอก Overbought แล้วว่าราคาอาจเกิด Reversal ได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เห็นอีกประจำคือ ก็จะเกิด Momentum ได้ดีด้วยเพราะเมื่อเกิด Overbought/Oversold ขึ้นหมายความว่าตอนนั้น Imbalance ออเดอร์อยู่ทางใดทางหนึ่งมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้ Keltner Channel เมื่อมองจากชาร์ตคือเห็นกรอบเทรนว่าตอนนั้นๆ เป็นอย่างไร

Keltner Channel กับ Swing Highs/Lows

หลักการเทรด Keltner Channel คือดูราคาปัจจุบันสัมพันธ์กับ Trend channel อย่างไร แบบเดียวกันกับ Bollinger Bands คือค่าราคาเหนือเส้นกลางถือว่าเป็นเทรนขึ้น เทรดตามตอนราคาย่อตัวมาทดสอบหรือเริ่มออกจาก จนไปถึง เส้นบนให้หาจังหวะปิด พอราคาไปถึงเส้นบน ราคาวิ่งไปเยอะแล้ว Overbought โอกาสที่ราคาจะย่อกลับมาหาเทรนมีสูง ก็ให้ดู Price Action หรือสัญญาณที่บอกการ Rejection แล้วหาโอกาสเทรดสวนเทรนหรือ Reversal ในทางกลับกันสำหรับเทรนลงหรือราคาต่ำกว่าเส้นกลาง แต่ตรงที่เมื่อราคาไปเยอะแล้วถึงเกินพื้นที่ เส้นบนหรือเส้นล่างที่เป็น Overbought/Oversold ราคาอาจไปต่อก็ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร Keltner Channel เป็นการกำหนดเทรนด้วยการหาค่าจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้ยืนยันสิ่งที่จะเกิดขึ้นแค่บอกความเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นอย่างไร จากสิ่งที่เกิดขึ้นผ่านมา ถ้าเราสามารถหาจุดที่ราคาเคยเกิดร่องรอยอะไรบางอย่างไว้ แล้วใช้ข้อมูลจาก Keltner Channel ก็จะเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้น นั่นคือความสำคัญของ Swing highs/lows หรือตัวสร้าง Market structure


มองดูชาร์ตอีกรอบด้วยการกำหนด Swing highs/lows คร่าวๆ เข้าไปพื้นที่เรากำหนด Keltner Channel ในการกำหนดกรอบเทรนหรือการเคลื่อนของราคา ดูเลข 1 ราคากลับขึ้นมาเบรคเส้นกลางแล้วดันขึ้นไป ดูจุด Swing high/low ที่ตีประกอบ ราคาโต้ตอบหลายรอบมาก พอราคาไปแตะเส้นบนได้ก็ดันลงมา บอกถึง Reversal สั้นๆ หรือเป็นการทดสอบตอนที่ราคาเบรคขึ้นมาก็ว่าได้  แล้วราคามาหยุดและเด้งอีกที่เส้นกลาง เกิดหางยาวๆ  ที่บอกถึง Buyers เข้ามาจะดันต่อเพราะ buying pressure ตรงเลข 1 มีข้อเสียอย่างเดียวคือ ราคายังไม่เบรคจุด Swing high ด้านบนเท่านั้นเอง แต่เราก็เห็น Build-up หรือกรอบ consolidation แคบๆ ตรงเส้นกลางพอดี บอกถึงแรงอ่อนจาก Sellers ดังนั้นโอกาสที่ราคาจะเบรคขึ้นก็มี

เลข 2 เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ Keltner Channel พร้อมทั้งหลักการ Swing Highs/Lows เพราะราคาลงมาอย่างแรกและเบรคจุด Swing low ก่อนที่เลข 1 ลงไปเกินเส้นล่างของ Keltner บอกถึง Oversold บอกถึงการเปลี่ยนข้างอย่างชัดเจน ราคากลับมาทดสอบ ก่อนที่จะไปที่เลข 2 แต่ราคาไม่ลงไปทำ New Low ใหม่ได้ ดันกลับมาเบรคเส้นกลาง เปลี่ยนจากมุมมองเทรนลงเป็นเทรนขึ้นถ้ามองจากมุม Keltner Channel แต่พอราคาดันมาถึงพื้นที่ Swing ก่อนที่ราคาจะเบรคลงไป เป็นราคาเด้งออกจากพื้นที่เส้นบนพอดี บอกถึง Overbought โอกาสที่จะเกิด Reversal เป็นไปได้ พอราคาต่ำกว่าเส้นกลางเปลี่ยนเทรนลงอีกรอบ ก็เป็นโอกาสเปิดเทรด Sell ตามเทรน แต่ถ้าท่านเห็นราคาเด้งหรือ Rejection ที่ตรง Swing ที่โดนเบรคไปและพื้นที่เส้นบนด้วย ท่านจะเปิดเทรดก่อนเมื่อเห็นราคายืนยันก่อนที่ราคาจะลงไปต่ำกว่าเส้น ที่พื้นที่เลข 4 5 และ 6 ก็เป็นหลักการเดียวกัน


อีกวิธีการที่จะใช้ Keltner Channel เข้าเทรดด้วยหลักการของการใช้อินดิเคเตอร์คือ เป็นการวิเคราะห์หลาย timeframe ด้วยค่า Settings เดียวกัน เช่นอย่างภาพประกอบดูที่ H1 และ M15 แล้วดูจุด Swing high/low ประกอบก็จะช่วยในการหาจุดเข้าได้ดี