กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

รูปแบบ Cup and Handle ที่ชาร์ตทอง

  • 0 replies
  • 612 views
รูปแบบ Cup and Handle ที่ชาร์ตทอง
« เมื่อ: 27, กุมภาพันธ์ 2021, 05:34:58 AM »
รูปแบบ Cup and Handle ที่ชาร์ตทอง

รูปแบบ chart pattern อีกอย่างที่ถือว่าเป็นบ่อยเพราะเป็นรูปแบบที่ราคาทดสอบแนวรับ-แนวต้าน ตามมาด้วย price consolidation ตอนปลายที่บอกเป็นนัยว่าความแข็งทางด้าน Sellers หรือ Buyers ลดลงเพราะราคาสามารถ สุดท้ายมักจะตามด้วย Breakout เลยทำให้เกิดรูปแบบ Cup and Handle รูปแบบเดิมๆ ก็จะเกิดขึ้นบ่อยเหมือน chart patterns อื่นๆ ที่เกิดขึ้นสะท้อนพฤติกรรมของเทรดเดอร์เมื่อเจอสถานการณ์แบบเดิมๆ มักจะมีพฤติกรรมโต้ตอบแบบเดิมๆ เทรดเดอร์ที่เข้าใจสามารถหาโอกาสเทรดตาม liquidity ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบนี้ได้ง่าย

รูปแบบ Cup and Handle


หลักการกำหนดรูปแบบ Cup and Handle ไม่ยาก ดูภาพส่วนด้านบน เลข 1 จะเป็นพื้นที่แนวต้านหรือ Resistance ราคาลงมา แล้วเด้งขึ้นไปกลับที่จุดเดิมหรือ Resistance เป็นการทดสอบอีกรอบ แต่ราคาไม่สามารถดันลงมาแบบก่อนได้ แต่ราคากลับ consolidation พื้นที่แคบๆ ที่เลข 3 อาจเป็น Channel หรือ Triangle ราคาต้องไม่สามารถเบรคลงมา Low พื้นที่เลข 2 ตอนที่ราคาลงมาทำ แล้วขึ้นไปหา Resistance และที่เลข 3 ดันลงมาได้นิดหน่อยกลับเป็นการสร้าง consolidation หรือ Build-up ใกล้ๆ พื้นที่ Resistance (ตรงส่วนนี้เป็น Handle) ตรงพื้นที่ Handle อาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือ Triangle ก็ได้ ที่สำคัญต้องเป็นกรอบแคบๆ แถวพื้นที่ Resistance เพราะได้รู้ถึง Strength ของแต่ละข้าง ฝ่าย Sellers และ Buyers เป็นอย่างไร คือราคาสามารถสร้าง consolidation แคบๆ ตรงส่วนที่ Handle ได้เพราะ Sellers ไม่มากพอที่จะดันราคาลงมาหรือเพราะ Buyers มากพอที่จะดันราคาขึ้นไปไม่ให้ Sellers ดันลงมาแบบตอนที่ทำ Low เป็นส่วนประกอบของ Cup ได้ เลยมักจะตามมาด้วย Breakout

Cup and Handle กับ order flow


การเข้าใจตรรกะเรื่องของ Order flow ที่อยู่เบื้องหลัง pattern เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ท่านเทรดด้วยความมั่นใจและสามารถเข้าใจว่าทำไมขาใหญ่สนใจ ก่อนอื่นต้องอ่าน Market structure ก่อนว่าเกิดขึ้นอย่างไร และ Cup and Handle มาเป็นส่วนหนึ่งของ Market structure ตรงนี้อย่างไร  ดูตรงกรอบที่ Highlight ที่ราคาเบรคและลงไปทำ Low ได้ก่อน เมื่อเกิดตรงนี้เทรดเดอร์ที่มองก่อนหน้านี้ก็จะมองเห็นว่าเทรนเปลี่ยนเพราะเป็นการเบรคลงด้วย Impulsive move รอเทรดอีกรอบด้วยราคาย่อตัวกลับมาที่ราคาเบรค ตรงนั้นที่ตีเส้นสีแดง เลข 1 จากแนวรับ (support) กลายมาเป็นแนวต้านหรือ Resistance ก็มีการเปิดเทรดตาม ราคาก็สร้าง market structure ตามคาด แต่สำคัญตรงที่เลข 2 ที่บอก Lower Low การที่ราคาเบรค Low ก่อน แทบไม่เห็นการเบรคแรงๆ แบบมี Impulsive move/Momentum แถวนั้น ทำ Lower Low ได้นิดเดียว หรืออาจมองเป็นพื้นที่เดียวกันก็ว่าได้  แล้วต่อมาราคาเริ่มดันกลับขึ้นมาสามารถทำ Higher Low ขึ้นมาได้ สุดท้ายมาถึง Resistance ที่เลข 1 ได้จาก Retracement มาหา Swap resistance ครั้งแรก จนมาครั้งที่สอง รูปแบบเป็นแบบถ้วยกาแฟหรือ Cup เทรดเดอร์ที่มองเห็นราคามา Resistance ถึง 2 ครั้งก็จะมองหาโอกาสเทรดอีกรอบ เท่ากับเพิ่ม liquidity เข้าตลาดทั้งด้วยการกำหนด sell limit หรือเปิดเทรดเองด้วย Sell market order และเทรดเดอร์แบบ Breakout ถ้าราคาเบรคก็เท่ากับเพิ่ม liquidity เข้าตลาด แต่พอราคาไม่สามารถเบรคที่เลข 3 ได้ กลับกลายเป็นทำ consolidation หรือ channel เป็นส่วนของ Handle ของรูปแบบ Cup and Handle มองย้อนกลับมา เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดที่กำไรอยู่ก็ได้กำไรไม่มาก ทั้งที่ trapped traders ก็มีเยอะ

แต่พอราคาทำ Handle หรือกรอบ เป็นการบอกทางฝ่าย Sellers เริ่มมีเทรดเดอร์อื่นลงด้วย และเทรดเดอร์ที่ถือ short positions ก็จะกำหนด stop loss ด้วยการอิงพื้นที่ Resistance หรือ High ขึ้นมา และเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดเมื่อราคาเกิดเบรคก็กำหนด buy stop เข้าไปพื้นที่เดียวกันด้วย ทำให้เกิด buy liquidity ในพื้นที่นั้นมาก ถ้าราคาแตะได้ เลยทำให้เกิด Breakout ได้ง่าย

มองส่วนนี้ เราอาจมองส่วนของ Handle เป็นการเทรด Breakout ที่แนวรับ-แนวต้านก็ว่าได้ สิ่งที่เป็นตัวบอกว่าน่าจะเกิด Breakout หรือทำให้เกิด Cup and Handle คือ Build-up หรือราคาทำกรอบ consolidation แคบๆ ที่พื้นที่แนวต้านได้

Cup and Handle กับ Entry + Stop loss + Take Profit


Cup and Handler เป็นแค่รูปแบบชาร์ตที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Head and Shoulders, Double Top/Bottom เป็นต้น ถ้าเราเข้าใจ Market structure ที่เกิดขึ้นก็จะรู้ว่าน่าจะกำหนดเปิดเทรด กำหนด stop loss และ กำหนด take profit ตรงไหน ส่วนสำคัญเมื่อจะเปิดเทรดรูปแบบชาร์ตนี้ ให้เข้าใจตรงส่วน Handle เพราะตรงจุดนี้จะช่วยให้ท่านเข้าเทรดได้ตรงจุด และกำหนด stop loss ได้ด้วยด้วย เพราะจะตามมาด้วย Breakout ดังนั้นเมื่อเกิด Breakout ขึ้น อาจจบด้วยเป็น False Breakout หรือ Real Breakout ต้องรอให้แท่งเทียนปิดก่อน ข้อมูลตรงนี้เลยมีผลต่อการเปิดเทรด

อย่างกรณีด้านบน เปิดเทรดด้วย Buy stop ที่ตรงจุดที่หรือเหนือกว่า Resistance เล็กน้อย หรือกำหนดเทรดเมื่อเห็นแท่งเทียนเบรคขึ้นและปิดได้จริงไม่ได้หลอก ราคาสามารถปิดบนได้ค่อยเปิดเทรดด้วย Market order การเปิดเทรดแบบแรก ก็จะทำให้เรื่องของ Risk:Reward ดีกว่าเพราะได้เข้าเทรดตอนที่ราคาเกิด Breakout เลย แต่ถ้าเป็นประเภทหลังรอการยืนยัน ราคาได้มีการขยับไปแล้วทำให้ Risk มากขึ้นแต่ Reward ลดลง


อีกตัวอย่างเห็นราคาทดสอบ Resistance หลายรอบตามด้วยสร้าง consolidation แคบๆ ขึ้นไปหรือมองเป็น Channel up ก่อนที่ราคาจะเบรคจริงยังเห็น build-up แคบๆ อีก [ส่วน Build-up ดูใน timeframe ย่อยลงไปจะเห็นรายละเอียดชัด หลักการคือต้องเห็นวิ่งในกรอบแคบๆ highs/lows แถวแนวรับ- แนวต้าน ให้ดูการสร้าง market structure ก่อนจะมาถึงตรงนี้ประกอบ] เปิดเทรดเมื่อเห็น Build-up ชัดเจนเพราะว่าจะช่วยให้ท่านหาพื้นที่กำหนด stop loss ได้แคบและถูกจุด ตามภาพตัวอย่างประกอบ