กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ประเภทของคำสั่งเทรดที่พบได้บ่อยๆ

  • 0 replies
  • 931 views
ประเภทของคำสั่งเทรดที่พบได้บ่อยๆ
« เมื่อ: 24, กุมภาพันธ์ 2021, 04:09:42 PM »
ประเภทของคำสั่งเทรดที่พบได้บ่อยๆ



1. คำสั่งประเภท Market order
คือคำสั่งซื้อหรือขายตราสารทางการเงิน (เช่น เงินตราต่างประเทศ) ณ ราคาปัจจุบันของตราสารนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อหรือขายโดยทันทีไม่ว่าราคาขณะนั้นจะอยู่ที่เท่าไร

ข้อดี :
คำสั่งเทรดจะได้รับการตอบสนองอย่างแน่นอน และภายในเวลาที่รวดเร็ว
ข้อเสีย :
- คำสั่งเทรดอาจได้รับการตอบสนองเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีการซื้อขายหนาแน่น โดยไม่สามารถชะลอเวลาออกไป
- หากตลาดอยู่ในภาวะที่มีความผันผวนสูงมาก (เช่น ช่วงที่มีประกาศข่าวสารสำคัญๆ) หรืออยู่ในภาวะที่ขาดสภาพคล่อง (เช่น ช่วง rollover) คำสั่งอาจไม่ได้รับการสนอง ณ ราคาที่ส่งคำสั่ง

ตัวอย่าง :
- ในช่วงที่ตลาดมีการซื้อขายหนาแน่น โดย EUR/USD มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1.20000 และไม่มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลเป็นพิเศษ หากมีการใช้คำสั่ง Market order แล้ว EUR/USD จะถูกเทรดทันทีที่ระดับราคา 1.20000 หรือราคาอื่นที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น 1.20001-1.20002
- แต่หากขณะนั้นมีการนำเสนอข่าวสารที่ส่งผลต่อตลาดออกมา และราคาปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อมีการใช้คำสั่ง Market order ที่ราคา 1.20000 ผลที่ได้รับอาจกลายเป็นราคาอื่น เช่น 1.20010-1.20020 ซึ่งมีส่วนต่างกว้างถึง 10-20 points

ดังนั้นคำสั่ง Market order อาจใช้ในกรณีคาดว่าจะเกิดเทรนด์สำคัญขึ้นในตลาด เพื่อทำกำไรจากสถานการณ์ที่ราคาจะมีความเคลื่อนไหวในช่วงกว้าง หรือใช้ในกรณีที่ต้องการ cut loss ให้เร็วที่สุด


2. คำสั่งประเภท Limit order

คือคำสั่งซื้อขายตราสารในราคาที่กำหนดเป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งมี 2 แบบ คือ
- Buy limit order = การกำหนดราคาที่จะเข้าซื้อ โดยตั้งช่วงขีดจำกัดไว้ในระดับต่ำกว่าราคาปัจจุบัน
- Sell limit order = การกำหนดราคาที่จะขาย โดยตั้งช่วงขีดจำกัดไว้ในระดับสูงกว่าราคาปัจจุบัน


เทรดเดอร์จะใช้คำสั่ง Buy limit order เมื่อคาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวลงต่ำกว่าระดับปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าซื้อตราสารได้ในราคาที่ต่ำกว่า ในทางกลับกันเทรดเดอร์จะใช้คำสั่ง Sell limit order เมื่อคาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวขึ้นสูงกว่าระดับปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้สามารถขายตราสารได้ในราคาที่สูงกว่า

ข้อดี :
- คำสั่งประเภท limit order จะทำให้สามารถซื้อขายตราสารได้ในราคาที่ดีกว่าระดับปัจจุบันของตลาด
- คำสั่งประเภท limit order จะทำให้ได้ราคาซื้อขายตรงตามระดับที่กำหนดไว้แบบแน่นอนตายตัว หรือได้ในราคาที่ดีกว่าเท่านั้น
ข้อเสีย :
-คำสั่งประเภทนี้ มีโอกาสที่จะไม่ได้รับการตอบสนอง

ตัวอย่าง :
- ในช่วงที่ตลาดมีการซื้อขายหนาแน่น โดย EUR/USD มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1.20000 และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปที่ 1.21000
- หากใช้คำสั่ง Buy limit order ที่ 1.19900 (100 points ต่ำกว่าระดับปัจจุบัน) แล้วต่อมา EUR/USD ปรับฐานลงไปที่ 1.19900 หรือต่ำกว่านั้น ก่อนจะแข็งค่าขึ้นไปที่ 1.21000 ตามที่คาดการณ์ ก็จะทำให้เทรดเดอร์ได้กำไร 100 points
- นอกจากนี้ หากราคาเคลื่อนไหวไปยังระดับที่ดีกว่าจุดที่กำหนด เช่น หากปรับฐานลงถึง 1.19800 (ต่ำกว่าระดับ 1.19900 ที่กำหนดไว้) ก็จะทำให้เทรดเดอร์ได้กำไรเพิ่มอีก

ดังนั้นคำสั่ง Limit order จะใช้ในกรณีที่คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่กำหนด และต้องการทำกำไรให้ได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถ้าราคาไม่เป็นไปตามที่กำหนด (เช่น ไม่ปรับฐานลงมาที่ 1.19900) คำสั่ง Buy limit order ดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการตอบสนอง นอกจากนี้ หากมีเทรดเดอร์จำนวนมากส่งคำสั่ง Buy limit order ที่ 1.19900 เหมือนกัน ก็อาจทำให้ตลาดขาดสภาพคล่องจนไม่สามารถประมวลผลคำสั่งได้ครบสำหรับทุก order และทำให้บางคำสั่งไม่ได้รับการตอบสนอง แม้ราคาจะเคลื่อนไหวไปตรงตามที่กำหนดก็ตาม
------------------------------------------------
เทรดกับ Tickmill : http://bit.ly/MoveToTickmillTR
สนับสนุนข้อมูลโดย : http://bit.ly/TickmillFacebookTR
พบกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคผ่าน TradingView http://bit.ly/tradingviewTR
------------------------------------------------
การเทรด CFDs ด้วยมาร์จิ้นมีความเสี่ยงสูง การขาดทุนสามารถสูงกว่าวงเงินลงทุน ผู้ลงทุนต้องแน่ใจว่าสามารถเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมด