กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

รู้ชัด Inside Bar ก่อนจะเทรดทอง

  • 0 replies
  • 709 views
รู้ชัด Inside Bar ก่อนจะเทรดทอง
« เมื่อ: 21, กุมภาพันธ์ 2021, 05:09:17 PM »
รู้ชัด Inside Bar ก่อนจะเทรดทอง

รูปแบบ Price Action อีกแบบที่เป็นที่นิยมกันเมื่อตีความเป็นแล้วเลือกเทรดถูกที่ ที่นิยมกันคือ Inside Bar แต่อาจไม่เป็นที่นิยมเท่ากับ Pin Bar และ Engulfing Bar ที่บอกถึงการ Rejection อย่างชัดเจนในเรื่องตรรกะของความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ แต่ Inside Bar เป็นอีกรูปแบบที่เทรดเดอร์ต้องรู้และเกิดขึ้นประจำเป็นกัน

Inside Bar รูปแบบเป็นอย่างไร


รูปแบบสำหรับกำหนด Inside Bar ไม่ยากเพราะเป็นรูปแบบ Price Action ที่อ่านจาก 2 แท่งเทียนเป็นหลัก ดูการดูแท่งเทียนเทียบกับแท่งเทียนด้านซ้ายมือ ดูภาพประกอบก่อนก็จะเห็นได้ชัด หลักการคือแท่งเทียนที่เป็น Inside Bar ต้องอยู่ในพื้นที่ของแท่งเทียนก่อนนี้หมด รูปแบบอาจต่างกันออกไปบ้าง ว่าแท่งหน้าเป็น Bullish หรือ Bearish แต่รูปแบบการกำหนดแบบเดียวกันหมด แต่ส่วนของที่เป็น Inside Bar อาจมี 2 หรือ 3 บาร์ก็ได้ [ตรงส่วนนี้ไม่แปลก ท่านต้องเข้าใจการสร้างรูปของแท่งเทียนเป็นอย่างไร แท่งเทียนเป็นการบอกถึงช่วงที่มีการเทรดเกิดขึ้นตรงไหนพร้อมข้อมูลอื่นๆ และมีเวลาแต่ละช่วงแท่งเทียน  ท่านจะเห็นว่าแท่งเทียน Inside Bar เป็นช่วงราคาที่วิ่งอยู่ในกรอบเป็นหลัก ถ้าแท่งเทียนหมดเวลา อาจมีแท่งเทียนตามมาได้เป็นเรื่องปกติ]

มองจากรูป ท่านจะเห็นว่าแท่งเทียน Inside bar เป็นแท่งเทียนวิ่งอยู่ในกรอบของแท่งเทียนก่อนนี้ ความไม่สมดุลย์ไม่เกิดชัดเจน เลยเป็นเรื่องของความไม่แน่นอนระหว่างกำลังจาก Buyers และ Sellers ราคาวิ่งกระจุกอยู่ในกอบ ราคาอาจไปทางไหนก็ได้ ถ้าท่านมองใน timeframe ย่อยจะเห็นตรรกะที่อยู่เบื้องหลัง Inside Bar อย่างชัดเจน

ตรรกะที่อยู่เบื้องหลัง Inside Bar


ถ้ามองการสร้างรูปของแท่งเทียนต่าง timeframe เป็นท่านจะรู้ว่าอะไรที่ช่อนอยู่เบื้องหลัง Inside Bar และจะหาจังหวะเทรดเป็นว่าท่านจะเทรดตามเทรน (Continuation) หรือสวนเทรน (Reversal) ได้หมด การมองแบบนี้ให้ดูว่า Inside Bar เกิดขึ้นอย่างไรจาก timeframe เล็กจะเห็นชัดเจน ดูชาร์ตทางขวามือ ท่านจะเห็นว่าราคาวิ่งเป็นกรอบเล็กๆ หรือบอกว่าเป็นช่วง consolidation ได้ อาจเป็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือแบบ Channel ก็ได้ไม่ต่างกัน สุดท้ายตามมาด้วย Breakout ดังนั้นช่วงเกิด Inside Bar จึงเป็นช่วงทดสอบแท่งเทียนแรก หรือเป็นการสะสม Positions ของขาใหญ่เพื่อดันไปต่อหรือสวนทางก็ได้ เมื่อสำเร็จเลยตามด้วย Breakout เป็นหลัก ดังนั้นการเทรด Insider Bar ก็จะดู Market Structure ดูการเทรดตามเทรน หรือสวนเทรนก็ได้ แต่ต้องอ่านปริบทหรือ Market Structure ที่ Inside Bar สัมพันธ์อย่างไร

เทรด Inside Bar ตามเทรนหรือสวนเทรน

ต่อเนื่องจากตรรกะที่อยู่เบื้องหลัง ถ้าจะให้ดีหา trade setup ที่สัมพันธ์กับ Inside Bar จาก timeframe ใหญ่ เช่น H4 หรือ D1 สำหรับ Day Trading เพราะ Inside Bar บอกถึงความเอาแน่นอนได้ว่าทางฝ่าย Sellers หรือ Buyers แต่ถ้าท่านดู timeframe ใหญ่ขึ้นและดูแท่งเทียนก่อนประกอบ ท่านจะเห็นชัดว่า เทรนเป็นอย่างไร หรือราคาวิ่งถึงพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน แล้วค่อยเห็น Inside Bar


แบบแรก เทรด Inside Bar ตามเทรน

การเทรดตามเทรนหรือรูปแบบการเทรด Inside Bar แบบ Continuation อาจเป็นรูปแบบที่ง่ายต่อการเทรด ถ้ากำหนดเทรนเป็น  เงื่อนไขสำหรับเทรดที่ต้องดูประกอบ


  • ข้อ 1 ต้องเห็นเทรนชัดเจนว่าราคาทำไปทางไหน เช่นอย่างภาพประกอบเป็นการพัฒนาการ Swing high/low ราคาเบรค Resistance ขึ้นมาแล้วลงไปเทส และดันขึ้นมาอีก ทำ Higher High ก่อนที่ราคาลงไปทำ Corrective แล้วดันขึ้นมาก่อนถึง Inside Bar ตามภาพประกอบ จะเห็นว่าเทรนชัดเจนเป็น Bullish
  • ข้อ 2 ไม่เห็นแนวรับ แนวต้านอยู่ใกล้ๆ ตามตัวอย่าง แม้ว่า Resistance ที่อยู่ใกล้ๆ ตอนที่ราคาลงมาทดสอบก่อนดันกลับไปแล้วเกิดรูปแบบ Inside bar ไม่ถือว่าเป็นแนวต้านที่แข็ง เพราะราคาสามารถดันขึ้นไปเกินได้ และ 3 แท่งเทียนต่อเนื่องกัน ตอนที่ราคาทำ New high ก่อนที่จะดันลงมาทำ Higher low บอกถึง Sellers ตรงพื้นที่ตรงนั้นไม่ค่อยมี หรือ Resistance ตรงนั้นน้อย พอเกิด Inside Bar ที่บอกถึงความไม่แน่นอนระหว่าง Sellers และ Buyers แต่เรามีเรื่องของเทรนที่เป็นตัวกำหนดทิศทางอยู่และเทรนเพิ่งเริ่มด้วย

แบบสอง เทรด Inside Bar สำหรับสวนเทรน หรือ Reversal

การใช้รูปแบบ Price Actin แบบ Inside Bar ยังช่วยให้เทรดสวนเทรนได้ง่ายได้ด้วย แต่ต้องมีเงื่อนไขที่จำเป็น


  • ข้อ 1 ต้องเห็น แนวรับ-แนวต้าน ชัดเจน อาจเป็น price level หรือ supply/demand หลักการเดียวกัน สำหรับข้อนี้ ข้อสอง
  • ข้อ 2 เมื่อเกิด Inside Bar ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดสวนเทรน ว่าราคาจะเด้งออกจากแนวรับ-แนวต้าน


ดูเงื่อนไขการเทรดสวนเทรนตรงที่ Inside Bar เลข 1 ดู Market structure ก่อนที่จะสร้าง Resistance ตรงนี้จะเห็นว่าราคาได้เบรค Support ก่อน มองมาทางซ้ายมือจะเห็นพื้นที่ราคา Rejection ก่อนตรงนี้เป็น Support แล้วเบรคลงไป  พอราคากลับมา เห็นราคาเด้งออกด้วย Inside Bar โอกาสเทรดเลยเกิดขึ้น เทรดเดอร์ที่เทรดด้วย Chart pattern ก็จะมองเห็นตรงพื้นที่สร้าง Resistance เป็น Head and Shoulders ด้วย

อีกตัวอย่างที่เลข 2 ที่เกิด Inside Bar เช่นกัน ดู Market Structure ที่เปิดเผยออกมา จะเห็นว่าราคาได้เปิดเผย Support ด้านล่าง ก่อนที่ราคาจจะลงไปยังได้ทำ Higher High ด้วยการเบรค High ก่อนขึ้นมาได้ด้วย เทรดเดอร์ที่เทรด Chart pattern ก็จะมองเป็นรูปแบบ Triple Bottom ด้วยที่เป็นรูปแบบสำหรับเปลี่ยนเทรน

เปิดเทรด Inside Bar และ Stop loss + Take Profit


หลักการเปิดเทรด อิงตามรูปแบบที่กำหนดว่า Inside Bar อย่างไร เช่นอย่างกรณีภาพประกอบด้านบน เป็นการเทรด Reversal เห็น Inside Bar เกิดที่ Resistance พอดี การเปิดเทรดเมื่อราคาเบรค Low แท่งเทียนก่อน Inside Bar ส่วนมากจะเป็นการเปิดเทรดด้วยกำหนด Sell Stop จะได้ที่ราคาต้องการ Stop loss หลักการทั่วไป ก็จะกำหนดเหนือแท่งเทียนก่อนเล็กน้อย Inside Bar แต่บ่อยครั้งที่ราคามักจะมีการล่า Stop แนะนำให้หาพื้นที่อิง High ประกอบ สำหรับกำหนด Stop loss จะดีกว่า ส่วน Take Profit ดูเบื้องต้นก่อนที่ราคาจะกลับมาลงมากสุดแค่ตรงไหน ในตัวอย่างจะเป็นการกำหนด Take profit ตรงพื้นที่ๆ เป็น Bullish Order Block พอดี


ตัวอย่างด้านบนที่บอกว่า มักจะเห็น Stop hunt ประจำก่อนที่จะมีการดันราคาไปจริง เข้าใจหลักการนี้แล้วนำมาใช้ในการกำหนด Stop loss ให้ถูกที่จะลดโอกาสที่ราคาวิ่งมาแตะ Stop loss ที่กำหนดแค่มองแท่งเทียนก่อนอย่างเดียว สิ่งหนึ่งที่เห็นบ่อยเช่นกัน หลังจากราคาล่า stop เสร็จราคาจะวิ่งอย่างรวดเร็ว เพราะ stop order ที่มาจาก trapped traders ที่อยู่ในตลาดที่ทำให้เกิดโครงสร้าง Inside Bar ด้วย ที่จำต้องออกจากตลาด และเทรดเดอร์ที่เทรดใน timeframe ย่อยก็จะมองเห็นเป็น Breakout ที่เกิดขึ้นก็จะรีบหันมาเทรดตาม

สุดท้ายเรื่องของ timeframe ที่เกิด Inside Bar แนะให้ดูที่ H4 ขึ้น เพราะแท่งเทียนเป็นการบอกรายละเอียดของการเทรดที่เกิดขึ้น ยิ่งเป็น timeframe ใหญ่ ยิ่งยืนยันชัดเจนว่าอะไรเกิดขึ้นมากกว่า รูปแบบเดียวกัน แต่เกิดใน timeframe เล็ก