กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

อัพเดทตลาด 14 ม.ค. 64 : ทองคำ, EURUSD, น้ำมัน WTI และดัชนี DOW30 by ICM.com

  • 3 replies
  • 4,275 views
อัพเดตตลาดทองคำ (XAU, GOLD) วันที่ 14 มกราคม 2564



วิเคราะห์ทางเทคนิค
ราคาเปิดที่ 1845.760  ต่ำกว่า Daily Pivot (1853.107) EMA 240 และ Ichimoku บนกรอบเวลา M30 แนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ Daily S2 (1829.978) และแนวต้านที่แข็งแกร่งอยู่ที่ Weekly Pivot (1877.387)

แนวรับ: 1839.237 ; 1829.978 ; 1818.107
แนวต้าน: 1860.367 ; 1872.238 ; 1881.497

วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลด $10.7 หรือ 0.58% ปิดที่ $1,854.9 ต่อออนซ์เนื่องจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธันวาคมหลังเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนพฤศจิกายน (เดือนต่อเดือน) และดัชนีราคาผู้บริโภค (ปีต่อปี) ปรับสูงขึ้น 1.4% หลังเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากราคากลุ่มพลังงานปรับเพิ่มสูงขึ้น ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน เตรียมประกาศงบกระตุ้นเศรษฐกิจวันนี้ เพื่อเยียวยาประชาชนและกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด 19 ในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ราคาทองปรับตัวสูงขึ้นผลจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐฯ โดยสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงชื่อถอดถอนทรัมป์ มีมติ 232 เสียง ต่อ 197 เสียง นักลงทุนยังคงจับตารายงานจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานในวันนี้ เวลา 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

คำเตือนการซื้อขาย:
ข้อมูลทั้งหมดที่เราแบ่งปัน เป็นเพียงคำแนะนำส่วนบุคคลเท่านั้น การตัดใจซื้อหรือขายเป็นการตัดสินใจของคุณ ทางเราจะไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ใดๆ ที่เกิดขึ้น

สัญญา CFDs และ Forex เป็นเครื่องมือที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดการสูญเสียเงินอย่างรวดเร็ว อันเนื่องจากความผันผวนของสภาพตลาด คุณควรพิจารณาในรูปแบบของการลงทุน ยกเว้นแต่คุณจะเข้าใจลักษณะของการซื้อขายที่คุณกำลังดำเนินการอยู่หรือขอบเขตที่แท้จริงของความเสี่ยงต่อการขาดทุน กำไรและขาดทุนของคุณจะแตกต่างกันไปตามขอบเขตของความผันผวนของราคาตลาดอ้างอิงที่มีผลต่อการซื้อขาย


ศึกษาพื้นฐานและกลยุทธ์การเทรดเพิ่มเติมที่ https://bit.ly/2CnsQYz

เปิดบัญชีจริงกับ TradeRider ได้ที่นี่ : https://track.icmcapital.com/?t=PyV4CLGJYzQR
ติดตามข่าวสาร กิจกรรมได้ และติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ที่
ICM Line Official: http://line.me/R/ti/p/@824ywdjn
Facebook: ICM Thailand
Live Chat บนเว็บ icm.com

อัพเดตคู่สกุลเงิน EURUSD วันที่ 14 มกราคม 2564



วิเคราะห์ทางเทคนิค
ราคาเปิดที่ 1.21569  ต่ำกว่า Daily Pivot (1.21749) EMA 240 และ Ichimoku บนกรอบเวลา M30 แนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ Daily S2 (1.20921) และแนวต้านที่แข็งแกร่งอยู่ที่ Weekly Pivot (1.22396)

แนวรับ: 1.21269 ; 1.20921 ; 1.20441
แนวต้าน: 1.22097 ; 1.22577 ; 1.22925

วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในตะกร้าเงินปรับขึ้นที่ 90.355 จุดหลังเพิ่มขึ้นจากจุดที่ต่ำกว่า 90 ด้านเงินยูโรปรับตัวลง $1.2200 เมื่อวานนี้ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับลดลงเล็กน้อยในวันพุธ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯส่งสัญญาณว่าจะคงดอกเบี้ยในระยะข้างหน้านี้แม้จะมีภาวะแนวโน้มเงินเฟ้อ  ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้น 1.4% ในเดือนธันวาคมหลังเพิ่มขึ้นจาก 1.2% ในเดือนพฤศจิกายน ผลจากการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มพลังงาน ขณะที่หลายประเทศในยุโรปใช้มาตรการล๊อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดระลอกสอง นักลงทุนยังคงจับตาแถลงการณ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปเวลา 19.30 น. และรายงานจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานในวันนี้ เวลา 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

อัพเดตตลาดน้ำมัน WTI วันที่ 14 มกราคม 2564




วิเคราะห์ทางเทคนิค
ราคาเปิดที่ 52.896 ต่ำกว่า Daily Pivot (53.101) Ichimoku และอยู่เหนือ EMA 240 บนกรอบเวลา M30 แนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ Daily S2 (51.771) และแนวต้านที่แข็งแกร่งอยู่ที่ Daily R1 (53.606)

แนวรับ: 52.276 ; 51.771 ; 50.946
แนวต้าน: 53.606 ; 54.431 ; 54.936

วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ปรับลง 30 เซนต์ หรือ 0.6% เป็น $ 52.91 ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนมีนาคมปรับลด 52 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 56.06  ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหลังสำนักบริหารสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า สต๊อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 4.4 ล้านบาร์เรลสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม คลังน้ำมันดิบสำรองสหรัฐฯปรับลงที่ 3.2 ล้านบาร์เรล ตลาดน้ำมันยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลของการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในสหรัฐฯและทั่วโลก หลายประเทศในยุโรปใช้มาตรการล๊อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด นักลงทุนจับตารายงานจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานในวันนี้ เวลา 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

อัพเดตตลาดดัชนี DOW30 (Dow Jones) วันที่ 14 มกราคม 2564



วิเคราะห์ทางเทคนิค
ราคาเปิดที่ 31088.9 เหนือกว่า Daily Pivot (31079.2) EMA 240 และอยู่ภายใน Ichimoku BLUE CLOUD  บนกรอบเวลา M30 แนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ Daily S1 (30988.4) และแนวต้านที่แข็งแกร่งอยู่ที่ Daily R2 (31267.2)

แนวรับ: 30988.4 ; 30891.2 ; 30800.4
แนวต้าน: 31176.4 ; 31267.2 ; 31364.4

วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับลด 8.22 จุด หรือ 0.03% ปิดที่  31,060.47 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับเพิ่ม 0.23% หรือ 8.65 จุด ปิดที่ 3,809.84 จุด และดัชนีแนสแด็ก ปรับเพิ่ม 56.52 จุด หรือ 0.43% ปิดที่ 13,128.95 จุด ด้านตลาดหุ้นวอลล์สตรีทมีการปรับตัวเล็กน้อยเมื่อวาน เนื่องจากนักลงทุนกำลังรอประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในวันนี้ ดัชนีดาวโจนส์ยังคงไม่ปรับเพิ่ม ผลจากความกังวลต่อการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐฯ ซึ่งโดนัล ทรัมป์เป็นประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่ถูกยื่นถอดถอนถึง 2 ครั้ง นักลงทุนจับตารายงานจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานในวันนี้ เวลา 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย