กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

คู่มือการหาแนวรับ-แนวต้าน ฉบับเข้าใจง่าย ด้วยอินดิเคเตอร์ Support and Resistance

  • 0 replies
  • 708 views
คู่มือการหาแนวรับ-แนวต้าน ฉบับเข้าใจง่าย ด้วยอินดิเคเตอร์ Support and Resistance

แน่นอนว่า คงไม่มีเทรดเดอร์หรือผู้ที่อยู่ในวงการการลงทุนคนใดไม่รู้จักแนวรับและแนวต้าน เนื่องจากแนวรับแนวต้านเป็นหลักการที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปในตลาดการเงินต่างๆ รวมไปถึงการเทรดสินทรัพย์และตราสารทุกประเภทเลยก็ว่าได้


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้หลักการนี้จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่เนื่องด้วยกลยุทธ์แนวรับแนวต้านที่หลากหลาย ทำให้มันยังคงเป็นที่ถกเถียงว่าวิธีใดถูกและวิธีใดผิด แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่ดี ว่าแนวรับแนวต้านนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวิเคราะห์กราฟเทคนิคในแพทเทิร์นกราฟที่แตกต่างกันออกไป และที่สำคัญ แนวรับแนวต้านยังช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ทิศทางของเทรนด์หรือราคาได้อีกด้วยครับ

เอาล่ะ! บทความนี้จะพาเทรดเดอร์ทุกท่านไปเรียนรู้วิธีการหาตำแหน่งเส้นแนวรับแนวต้านดังกล่าว รวมไปถึงตำแหน่งแนวรับแนวต้านที่ดีที่สุดในการเทรด ถ้าพร้อมแล้วล่ะก็... ไปลุยกันเลย!!

แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร?

กลยุทธ์แนวรับแนวต้านนั้นไม่ได้ยากอย่างที่ท่านคิด เพียงแค่ท่านทำความเข้าใจว่า: แนวรับและแนวต้าน คือ ตำแหน่งที่เทรนด์จะสิ้นสุดลง โดยหากเทรนด์นั้นอยู่ในขาขึ้นก็จะต้องเผชิญกับแนวต้านที่ทำให้เทรนด์ขาขึ้นนั้นสิ้นสุดและกลับตัวเป็นขาลง ในขณะเดียวกัน หากเทรนด์นั้นอยู่ในขาลง ก็จะต้องพบเจอกับแนวรับซึ่งคอยรองรับไม่ให้เทรนด์ร่วงลงไปกว่านั้น แล้วเด้งกลับมาเป็นขาขึ้นแทน

นอกจากเส้นแนวรับแนวต้านแล้ว เทรดเดอร์ยังต้องพิจารณาโซนหรือบริเวณที่จะเกิดแนวรับแนวต้านอีกด้วย เนื่องจากบางครั้งแนวรับแนวต้านนั้นไม่ได้มีเพียงจุดหรือตำแหน่งเดียว เพราะท่านสามารถระบุตำแหน่งแนวรับแนวต้านโดยอาศัยกลยุทธ์อื่นๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น ความท้าทายในการหาแนวรับแนวต้านเพื่อพิจารณาการแกว่งตัวของราคาตามอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ก็คือ การมีแนวรับแนวต้านหลายตำแหน่งนั่นเองครับ


ในขณะเดียวกัน ท่านสามารถนำคุณสมบัติของอินดิเคเตอร์ชนิดอื่นๆ เช่น Fibonacci, Pivot Point และ Wolves Wave มาใช้เป็นเครื่องมือในการหาแนวรับแนวต้านได้อีกด้วย

แนวรับ (Support) คืออะไร?

หากราคาที่กำลังร่วงลงมา หยุดอยู่ ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่คอยกั้นไม่ให้ราคาร่วงมากไปกว่านั้น ตำแหน่งดังกล่าวก็คือ "แนวรับ (support)" นั่นเองครับ ซึ่งในการประเมินความแข็งแกร่งของแนวรับดังกล่าว ท่านจะต้องพิจารณาว่าแนวรับนั้นจะก่อให้เกิดการกลับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือจะเป็นเพียงการหยุดเคลื่อนไหวชั่วคราว เพื่อร่วงต่อหลังจากนั้น โดยเมื่อราคาถึงจุดแนวรับ นั่นหมายความว่า สินค้านั้นมีความต้องการซื้อมากกว่าความต้องการขาย

เทคนิคการหาแนวรับ

เคล็ดลับการหาแนวรับ มีขั้นตอนดังนี้:


  • หาตำแหน่งจุดกลับตัวของขาลง
  • ลากเส้นจากจุดดังกล่าว
  • พิจารณาจำนวนจุดที่เชื่อมต่อกันบนเส้นดังกล่าว หากมีมากกว่า 3 จุดขึ้นไป แสดงว่าเส้นนั้นเป็นแนวรับที่แข็งแกร่งนั่นเอง

หากท่านกำลังเทรดด้วยกลยุทธ์เทรดระยะยาว ตำแหน่งแนวรับก็จะเป็นตัววัดชะตาการเทรดที่ดีเลยทีเดียวครับ

โซนแนวรับ (Support Zone) คืออะไร?

โดยส่วนใหญ่โซนแนวรับนั้นจะใช้สำหรับการเทรดในกรอบเวลา (timeframe) ที่นานยิ่งขึ้น เนื่องจากโซนแนวรับจะต้องอาศัยบริเวณระดับราคาที่กว้างๆ ตามระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งเมื่อราคาไม่สามารถเด้งกลับจากจุดแนวรับหนึ่งๆ ได้จริง เทรดเดอร์ก็อาจใช้จุดแนวรับที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งก่อนหน้าเป็นแนวรับต่อไป ด้วยหลักการนี้เองทำให้จุดแนวรับหลายจุดเหล่านั้น กลายเป็น "โซนแนวรับ" ในที่สุด

แนวต้าน (Resistance) คืออะไร?

แน่นอนว่า แนวต้านก็ต้องตรงกันข้ามกับแนวรับ จริงไหมล่ะครับ? พูดง่ายๆ ก็คือ แนวต้าน หมายถึง บริเวณที่กั้นไม่ให้ราคาพุ่งขึ้นไปได้มากกว่านั้นอีกแล้ว ซึ่งเมื่อท่านพบเห็นจุดแนวต้าน นั่นหมายความว่า มีแรงขายมากกว่าแรงซื้อ ณ บริเวณดังกล่าว

เทคนิคการหาแนวต้าน

เคล็ดลับการหาแนวต้าน มีขั้นตอนดังนี้:


  • ลากเส้นที่เชื่อมต่อกันระหว่างจุดการกลับตัวต่างๆ
  • หากเส้นดังกล่าวเชื่อมต่อจุดมากกว่า 3 จุดขึ้นไป เส้นนั้นก็จะเป็นแนวต้านนั่นเอง
  • และยิ่งมีการเชื่อมต่อระหว่างจุดการกลับตัวมากเท่าไหร่ แนวต้านนั้นก็จะยิ่งแข็งแกร่งมากเท่านั้น

และหากแนวต้านดังกล่าวก่อให้เกิดการกลับตัวก่อนหน้านั้นมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป พึ่งระลึกไว้เสมอว่านั่นไม่ใช่เรื่องบังเอิญครับ แต่เป็นแพทเทิร์นในการกลับตัวต่างหาก โดยท่านสามารถใช้หลักการเดียวกันนี้ในการตีเส้นแนวโน้ม (Trend line) ได้เช่นกัน

โซนแนวต้าน (Resistance Zone) คืออะไร?

เช่นเดียวกับโซนแนวรับ เทรดเดอร์จะต้องจับตาดูการกระจุกตัวของจุดแนวต้านหลายๆ จุดในบริเวณหนึ่งๆ รวมถึงการย้ายตำแหน่งการกลับตัวที่จะก่อให้เกิดโซนแนวต้านในที่สุด

วิธีดาวน์โหลดอินดิเคเตอร์แนวรับแนวต้านที่ดีที่สุด

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า เทรดเดอร์สามารถใช้อินดิเคเตอร์หลากหลายประเภทในการหาแนวรับแนวต้านได้ และยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเครื่องมือที่ช่วยบ่งบอกโซนแนวรับแนวต้าน หรือที่เรียกว่าอินดิเคเตอร์ Support and Resistance Zone ที่ท่านสามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ฟรี อีกด้วย!

ดาวน์โหลดอินดิเคเตอร์ S&R สำหรับ MT4

ท่านสามารถใช้งานอินดิเคเตอร์ดังกล่าวบนแพลตฟอร์ม MT4 ตามขั้นตอนดังนี้:


  • ดาวน์โหลดไฟล์ Zip จากลิงก์ด้านบน
  • จากนั้น Extract ไฟล์ดังกล่าว แล้วเปิดแพลตฟอร์ม MT4 ขึ้นมา (สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์แบนเนอร์ MetaTrader 4 ด้านบน)
  • หลังเปิด MT4 แล้ว ไปที่ FIle -> Open Data Folder -> MQL4 -> Indicators แล้วย้ายไฟล์ที่ท่านได้ทำการ extracr แล้วลงไปในโฟลเดอร์ indicators นั้น
  • ปิดและเปิดแพลตฟอร์ม MT4 ใหม่ จากนั้นเลือก Insert -> Indicators -> Custom

ท่านสามารถรับชมขั้นตอนการติดตั้งอินดิเคเตอร์ support and resistance บน MT4 ได้จากวิดีโอด้านล่างนี้:


หากท่านต้องการให้อินดิเคเตอร์นั้นปรากฎอยู่บนกราฟราคา โปรดคลิก "OK" ในหน้า "Allow DLL imports" รับรองได้เลยว่า อินดิเคเตอร์ดังกล่าวนั้นจะมาพร้อมกับความยืดหยุ่นที่ให้ท่านสามารถปรับแต่งและตั้งค่าได้ตามที่ท่านต้องการ ตัวอย่างเช่น ท่านสามารถตั้งระดับที่แสดงตามช่วงเวลา, ขั้นต่ำการเชื่อมต่อระหว่างตำแหน่ง, และคุณสมบัติอื่นๆ ในเมนู "Display option"

ที่สำคัญ เมนู "Level Setting" จะช่วยให้ท่านสามารถปรับแต่งความว่องไวในการ Breakout, ความกว้างของระดับในแนวตั้ง รวมไปถึงความถี่ในกราฟราคา ยังไงก็ลองโหลดไปเล่นกันดูนะครับ

ขอให้เทรดเดอร์ทุกท่านโชคดีกับการเทรด! แล้วอย่าลืมหมั่นเพิ่มความรู้ในการเทรดเพิ่มเติม ด้วย คลาสสอนเทรดออนไลน์ และ บทเรียนการเทรด จาก MTrading ทุกครั้งที่ท่านมีข้อสงสัยใดๆ สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากทีมงานของเราผ่านทาง Live Chat บนหน้าเว็บไซต์ MTrading.com

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
รับโบนัส $30! พร้อมเทรด Forex สเปรดเริ่มจาก 0 ที่ MTrading


รับ $30 Bonus จาก MTrading