กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เข้าใจ Rectangle pattern เพื่อเทรดทอง

  • 0 replies
  • 1,640 views
เข้าใจ Rectangle pattern เพื่อเทรดทอง
« เมื่อ: 01, มิถุนายน 2020, 03:15:49 PM »
อีกรูปแบบของ price action ที่เทรดทองได้ดีคือ Rectangle pattern เพราะตลาดไม่ได้วิ่งเป็นหลัก แต่ส่วนมากจะวิ่งอยู่ในกรอบ จุดประสงค์หลักๆ เพราะขาใหญ่ต้องการสะสม positions เมื่อพวกเขาเข้าตลาดได้ตามต้องการ และมีเทรดเดอร์ที่ถือ Positions ตรงข้ามกับพวกเขามากพอ พวกเขาค่อยดันราคาออกจากกรอบ หรือเกิด Breakout เพื่อใช้ออเดอร์ที่มาจากเทรดเดอร์ที่ถือตรงข้ามที่พวกขาเปิดเทรด รูปแบบ Rectangle เป็นรูปแบบที่หาง่าย และเทรดง่ายถ้าเข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร และมีอะไรที่บอกว่าเข้าสะสม positions ฝั่งไหนในกรอบ

รูปแบบ Rectangle Pattern


กลยุทธการเทรดทองตามรูปแบบนี้ ใช้ได้ทั้งเทรดตามเทรนและเทรดสวนเทรนตอนเริ่มเทรนใหม่ แต่ที่จะทำงานได้ดีกับสถานการณ์เทรดตามเทรน  เพราะเทรนที่กำลังเป็นอยู่จะเป็นตัวช่วยเพิ่มความเป็นไปได้สูงให้กับกลยุทธ์การเทรดนี้ และอีกอย่าง กลยุทธ์การเทรดแบบนี้ถือว่าเป็นรูปแบบการเทรด Breakout ที่ดี หลักการมองหารูปแบบนี้ที่ชาร์ตง่ายมาก หาพื้นที่ๆ ราคามีการเด้งอีก high หรือ low พื้นที่เดียวกันไม่ห่างกันมาก แล้วให้ตีเส้นเป็นแนวรับด้านล่าง แนวต้านด้านบน การที่ราคาจะสร้างแนวรับ-แนวต้านแบบนี้ได้ ก็จะมาจากที่ราคาได้วิ่งมาสักระยะ ส่วนมากจะเป็นเทรนหรือ Momentum แล้วมีการปิดทำกำไรเพื่อสะสม positions เข้าเทรดต่อ แล้วค่อยดันราคาไปต่อ ถ้ามองจากภาพประกอบด้านบนจะเป็น 1 2 และ 3 เราสามารถกำหนด Rectangle pattern เพราะราคาเด้งหรืออยู่ในกรอบแนวรับ-แนวต้าน การกำหนด Rectangle pattern ไม่ยาก เพราะแค่ดูราคาวิ่งอยู่ในกรอบแนวรับ-แนวต้านที่เป็น consolidaiton แต่การที่จะบอกว่าเป็น Bullish หรือ Bearish ก็ต่อเมื่อเกิด Breakout ขึ้น แต่เราสามารถหาความเป็นได้ก่อนที่จะเกิด Breakout ได้ว่าน่าจะเป็น Bullish Rectangle หรือ Bearish Rectangle ด้วยการดูส่วนประกอบอื่น เริ่มที่เลข 1 นำหน้าก่อนที่จะกลายมาเป็น Rectangel pattern วิธีการเทรดที่นิยมกันมากสุดคือเทรดตามเทรน มักจะได้ยินประจำว่า Trend is your friend  ดังนั้นถ้าเราเห็นเทรนชัดเจนก่อนที่จะมาเกิด Rectangle pattern ก็ส่วนมากเป็นไปได้ว่าจะเกิดการ Breakout ต่อไปทางนั้น (แนะนำให้อ่านเรื่อง price structure ที่มาจากการเข้าเทรดประกอบ)  แต่เทรนอาจเกิดคนละทางก็ได้ แต่อีกตัวกรองหนึ่งที่ช่วยได้มากคือ False Breakout ถ้าเกิดขึ้นเพราะว่าช่วงสะสมหรือที่เกิด Rectangle Pattern นั้นขาใหญ่สะสม positions ทางไหน ทำให้รู้ว่าราคาน่าจะไปทางไหนต่อ เพราะ False Breakout เป็นร่องรอยที่ขาใหญ่ไม่สามารถปกปิดได้ถ้าเกิดขึ้น

เข้าใจตรรกะก่อน


จากชาร์ตทองประกอบ ที่เลข 1 ทำเทรนขึ้นไปด้วย Momentum หลังจากที่มีการเข้าเทรด เบรค ressistance ขึ้นไป ทำ new high และทำเทรนขึ้นไป ก่อนที่จะไปทำ Highest สูงสุดและย่อตัวลงในทำกรอบที่ราคาไม่สามารถเบรคขึ้นไปได้  กลายมาเป็น resistance และราคาดันลงมาก็ไม่สามารถเบรค Low ก่อนได้เช่นกัน กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของ Support ในกรอบ ทั้ง Support และ Resistance เป็นส่วนประกอบของ Rectangle pattern ที่เกิดขึ้น สิ่งเราได้คือรู้ว่า Rectangle pattern เกิดขึ้นที่เลข 2 และรู้ว่าเทรนก่อนที่เลข 1 เป็นอย่างไรด้วย แต่เราไม่รู้ว่า Rectangle pattern ที่เกิดขึ้นจะเป็น Bullish pattern หรือ Bearish pattern จนกว่าจะเกิดขึ้น แต่เราก็มีตัวกรองอื่นเพิ่มความเป็นไปได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น Bullish Rectangle pattern มากกว่าข้อ 1 เพราะเรื่องของเทรนที่เกิดขึ้นมาก่อนเป็นตัวกรองแรก ข้อ 2 หางแท่งเทียนยาวๆ ที่วงกลมเลข 2 พอถือได้ว่าเป็น False Breakout เล็ก (ถ้าเห็นเป็น False Breakout ผ่านกรอบลงมาแล้วรีบขึ้นไปยิ่งดี) บอกว่ากรอบพื้นที่ตรงที่กล่าวนี้ ขาใหญ่สะสม Positions ทางด้าน Long ถ้า False Breakout ชัดเจน เราสามารถเปิดเทรดตรงนี้ได้เลย หลังจากแท่งเทียนจบเป็น False Breakout แล้วต่อมาราคาก็เกิดเลข 3 ไปต่อตามเทรนที่เกิดขึ้นมาก่อนที่เลข 1 เพราะก็จะได้ออเดอร์ที่มาจาก stop loss ของเทรดเดอร์ที่เทรดตรงข้ามตอนที่ขาใหญ่สะสม Positions ในกรอบด้วย และเพราะเทรดเดอร์ที่รอเข้าด้วย Buy Stop เมื่อเกิด Breakout ขึ้นไปด้วย เลยทำให้ราคาวิ่งไปต่อจากเทรนก่อนนี้ได้ง่าย

การเปิดเทรด Rectangle Pattern


จากตรรกะที่อธิบายมา การเกิด Rectangle Pattern เป็นการสะสม postions ของขาใหญ่เป็นหลักก่อนที่จะดันราคาไปต่อตามเทรนที่เกิดขึ้นหรือสวนเทรนก็ได้  วิธีการกำหนด Trade Setup วิธีการแรกใช้เทรนที่ก่อนเกิดเป็นตัวช่วย  และใช้เรื่องของ False Breakout เข้ามาช่วย พร้อมทั้งความเข้าใจเรื่องการทำงานของออเดอร์ที่จะมาจาก trapped traders หรือเทรดเดอร์ที่อยู่ตรงกันข้ามเมื่อตอนจบราคาเบรค Rectangle pattern ออกมาเป็น Bullish หรือ Bearish ที่จำต้องออกจากตลาดเพื่อจำกัดความเสี่ยง ส่วนมากก็จะเป็นการกำหนด stop loss เป็นหลัก ก็จะเป็นการเพิ่ม liquidity เข้าไปตรงนั้นด้วย และเทรดเดอร์ที่รอเข้าตลาด เมื่อเห็น stop loss และเข้าใจหลักการทำงาน Liquidity ที่จะมาจากออเดอร์พวกนี้ก็จะกำหนด sell stop หรือ buy stop เข้าไปด้วย ยิ่งเป็นการเพิ่ม liquidity ดังนั้นเมื่อราคาเบรคเลยทำให้เกิด Imbalance ระหว่างออเดอร์ได้ง่ายและเร็ว ดังนั้นจากตรรกะนี้ การเปิดเทรดถ้าเกิด False Breakout ขึ้น ก็จะเป็นโอกาสรอให้แท่งเทียนที่บอก False Breakout จบก่อน และกำหนด stop loss ด้านล่าง โอกาสที่ 2 เทรดเมื่อเกิด Breakout รอให้ราคาเปิดได้จริงว่าเป็น Breakout จริงก่อน ส่วน stop loss ก็จะอยู่กรอบตรงข้ามของ Rectangel pattern ที่โดนเบรค ส่วนการกำหนด take profit เบื้องต้นก็จะอิงจากสัดส่วนของกรอบ Rectangle กำหนดเป็น 2-3เท่า หรือถ้าจะให้ดีให้ดู price structure ของแนวรับ-แนวต้านที่เกินกรอบ Rectangle pattern