กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เข้าใจการกระจายออเดอร์ของขาใหญ่สำหรับเทรดทอง

  • 0 replies
  • 1,009 views
การเทรดในตลาดฟอเรก ไม่ว่าจะเปิดเทรดหรือจะออกเทรดก็ตาม ต้องการสิ่งเดียวกันคือออเดอร์ตรงข้าม ณ ราคาที่ท่านต้องการเข้าเทรดหรือออกเทรด เทรดเดอร์รายย่อยอาจไม่เห็นผลกระทบจากเรื่องของออเดอร์ตรงข้ามหรือเรื่องของ Liquidity เพราะว่าเทรดเดอร์รายย่อยเปิดเทรดด้วยจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับขาใหญ่ที่เปิดเทรดมากกว่าไม่รู้กี่เท่า รายย่อยไม่ว่าจะเปิดเทรดหรือปิดเทรดตรงไหน ไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องของ Liquidity เพราะจำนวนที่เปิดเทรดหรือออกจากการเทรดน้อย ต่างจากขาใหญ่เปิด-ปิดเทรดด้วยจำนวนเยอะ

การกระจายออเดอร์มาจากตรรกะอะไร


การที่จะเข้าใจการกระจายออเดอร์จำเป็นต้องเข้าใจว่าขาใหญเปิดเทรดหรือปิดเทรดด้วยเงื่อนไขอะไร เนื่องจากการเปิดในตลาดฟอเรกจะเกิดขึ้นได้ ณ ราคาที่ต้องการเปิดเทรดหรือปิด ต้องมีออเดอร์ตรงข้าม ณ จุดที่ท่านจะเปิดเทรด ออเดอร์ตรงข้ามเรียกว่า Liquidity สำหรับออเดอร์ที่ท่านจะเปิดเทรดที่จะมา match-and-fill  ยกตัวอย่างสถาณการณ์ชาร์ตทองที่ราคาอยู่ในกรอบสีดำ จะเห็นว่าออเดอร์ส่วนมากก็จะอยู่ในกรอบ  พอมาถึงกรอบสีแดง ถ้าขาใหญ่ต้องการจะเปิด Buy บ้างอะไรจะเกิดขึ้น เช่น ขาใหญ่ต้องการเปิด 4,000,000 ออเดอร์ แต่เนื่องจากเทรดเดอร์เทรดอยู่ในกรอบ ความไม่สมดุลย์ไม่เกิดขึ้น การเปิด Buy ของพวกเขาต้องการ Sell ออเดอร์ ณ ราคาที่พวกเขาต้องการเปิดเทรด เช่นกรณีที่พวกเขาเปิดเทรดอะไรจะเกิดขึ้น เช่น ถ้าออเดอร์ตรงข้ามที่เลข 1 มี 1 ล้าน ที่เลข 2 มี 1 ล้าน ที่เลข 3 มี 1 ล้าน และ ที่เลข 4 มี 1 ล้าน จะเห็นการ match-and-fill ออเดอร์จะต่างที่กัน และพวกเขาได้ราคาที่ต้องการแค่ตอนเทรดเลข 1 แต่จำนวนไม่พอ สถานการณ์แบบนี้ การทำกำไรก็ไม่ดี การบริหาร positions ก็ยาก การเปิดเทรดแบบนี้จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Slippage คือเปิดเทรด แต่การเปิดเทรดของท่านจะได้ match-and-fill ที่ราคาต่างกัน


ในทางตรงกันข้าม มองราคาวิ่งอยู่ในกรอบสีขาวบนและล่าง เทรดเดอร์ที่ถือ long positions ในกรอบนั้นๆ ก็จะกำหนด stop loss ต่ำกว่า low ที่ใกล้สุด และก็จะมีเทรดเดอร์อีกกลุ่มที่เข้าใจเรื่องของตรงนี้ก็จะกำหนด sell stops เข้าไปด้วย เลยทำให้ขาใหญ่หาพื้นที่มี liquidity จากออเดอร์ตรงข้ามที่พวกเขาต้องการได้ง่ายจากสิ่งที่ราคาหรือชาร์ตบอกเขา เพราะพวกเขาเข้าใจตลาด และเข้าใจว่ารายย่อยส่วนมากเปิดเทรด และกำหนด stop loss อย่างไร ดังนั้น ถ้าพวกเขาดันราคาปัจจุบันหรือ market price ลงไปแตะ stop orders ที่อยู่พื้นที่ด้านล่างก็จะเกิด sell orders ขึ้นมาทันที และพวกเขายังสามารถเปิดเทรดได้ที่ราคาดีกว่าหรือ Buy lower ด้วย พร้อมทั้งมี Liquidity มากพอ ระดับหนึ่งที่พวกเขาต้องการ แต่จาก กรณีที่ยกตัวอย่างมา พวกเขาต้องการเปิดเทรด 4 ล้านออเดอร์ แม้การดันลงไปสร้าง liquidity มากระดับหนึ่งที่พวกเขาต้องการแต่อาจไม่พอก็ได้ พวกเขาต้องหาวิธีการที่จะเข้าเทรดพื้นที่เดียวกัน มากหรือต่ำกว่าเล็กน้อยเท่านั้น แต่ไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า slippage ด้านบน
การกระจายออเดอร์เลยเกิดขึ้นเพื่อกันเรื่อง slippage และเป็นวิธีการที่พวกเขาสามารถเปิดเทรดได้ตามจำนวนต้องการด้วย วิธีการที่ขาใหญ่ใช้ในการกระจายจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงช่วยกระจาย เพราะพวกเขาต้องการปกปิด buy limit orders ของพวกเขาด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้รายย่อยรู้ว่าพวกเขากำหนด buy limit orders ไว้ตรงไหน วิธีการกระจายออเดอร์แบบนี้เรียกว่า Iceburge Orders  และจะใช้ High-Frequency Trading (HTF)

เทรดทองด้วยการเข้าใจหลักการกระจายออเดอร์


ดูจากชาร์ตทองต่อมาเมื่อเข้าใจหลักการกระจายออเดอร์ ว่าเป็นผลจาการเข้าเทรดของขาใหญ่เป็นหลัก  แม้ว่าเราเข้าใจหลักการเข้าเทรดของขาใหญ่ และเรื่องของ liquidity ที่มาจาก stop orders ก็ตาม แต่ราคาเบรคลงมาอาจลงไปต่อก็ได้ ตอนราคาเบรคลงมา แต่การเข้าเทรดที่เลข 1 และดันราคาขึ้นมาได้ บอกว่าการเข้าเทรดมีส่วนร่วมจากขาใหญ่แน่นอน เพราะสามารถหยุด sell orders ได้และยังดันขึ้นมาด้วย จุดประสงค์เพื่อเข้าเทรดหรือเปล่า แต่ราคาดันไม่สามารถเอาชนะ พื้นที่ swap level หรือ supply ที่เกิดใหม่ได้ ราคาลงมาพื้นที่เดียวกันอีกที่เลข 2 มีการเข้าเทรดและดันราคาพื้นที่เดียวกันอีก ดังนั้นพอถึงข้อมูลตรงนี้ สามารถให้ข้อมูลหลายๆ อย่างว่า เป็นการเข้าเทรดและกระจายออเดอร์ของขาใหญ่หรือเปล่า เพราะ ตอนที่ลงมาเลข 1 เป็นการดันราคาลงมาเพื่อให้เกิด sell orders เป็นการล่า Liquidity ออเดอร์ตรงข้ามเพื่อเข้าเทรดหรือเปล่า แต่เนื่องจากออเดอร์ตรงข้ามไม่พอ พอราคาขึ้นไปตรงพื้นที่ swap เทรดเดอร์ก็จะมองว่าเป็นโอกาสเทรดตาม Breakout ที่เพิ่งเกิดขึ้นตามเทรน ก็จะหันมาเปิด sell orders กันอีกรอบ ดันราคาลงไปเพื่อจะทำ Lower Low ต่อ แต่ราคาไม่สามารถเบรคลงไปได้ มีการเข้าเทรดพื้นที่เดียวกัน ถ้าต่อเนื่องจากตัวอย่างการเข้าเทรดทองด้านบน เช่นอาจมองว่า ขาใหญ่เปิดเทรดที่เลข 1 ได้ 1 ล้าน และมาที่เลข 2 อีก 1 ล้านได้ และเข้าเทรดพื้นที่เดียวกันด้วย ที่เลข 3 และเลข 4 ก็หลักการเดียวกันที่ราคาลงมาที่เลข 2 แต่ดูว่ามีการเข้าเทรดพื้นที่เดียวกัน จะเห็นว่าราคาทำ Higher Low ขึ้นมาทีละนิดหน่อย แต่ก็อยู่พื้นที่เดียวกัน เป็นการได้เข้าเทรดอีก 11 ล้านที่เลข 3 และอีก 1 ล้านที่เลข 4 เมื่อพวกเขาเข้าเทรดได้ตามที่ต้องการ ณ พื้นที่ต้องการ แถมไม่เกิด slippage ด้วย ด้วยการที่พวกเขาเป็นขาใหญ่ก็จะสามารถดันราคาไปตามต้องการได้


ดังนั้น การกระจายออเดอร์เป็นสิ่งที่ขาใหญ่ทำประจำ และก็เกิดขึ้นประจำ นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เราผู้เป็นรายย่อยพอจะสังเกตได้ เพราะแม้ว่าขาใหญ่จะพยายามปกปิดออเดอร์ด้วยหลักการ Iceberg Orders  แต่พวกเขาไม่สามารถปกปิดร่องรอยที่มีการเทรดเกิดขึ้นได้ การเปิดเทรดพื้นที่เดียวกันอาจต่ำกว่าหรือสูงกว่าเล็กน้อย ก่อนที่จะดันราคาไปจริงๆ การเข้าใจหลักการเทรดและกระจายออเดอร์ของขาใหญ่ ก็จะช่วยให้เทรดตามขาใหญ่ได้ดีขึ้น