กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ใช้ Fractals เพื่อกำหนด Dynamic Support/Resistance การเทรดชาร์ตทอง

  • 0 replies
  • 1,358 views
หลักการ Fractals ถือได้ว่าเป็นการอธิบายเรื่องของแนวรับ-แนวต้าน ที่เกิดขึ้นตลอดเมื่อราคาเคลื่อนไป แนวรับ-แนวต้านใหม่จะเกิดขึ้นและแนวรับ-แนวต้านเก่าก็จะมีการเบรคเป็นเรื่องปกติ เพราะผลของความไม่สมดุลย์ระหว่าง Sell และ Buy ออเดอร์ที่เข้า และยังเป็นพื้นที่ๆ มี liquidity ที่มากพอจะดันราคาไปเร็ว เมื่อราคาเบรค Fractals ได้ และยังเป็นทูลพอ trading presure ที่กำลังเกิดขึ้นด้วยว่าเป็นอย่างไร ข้อดีหนึ่งของการเทรดทองคือเป็นสินค้ามีที liquidity มาก เลยทำให้ออเดอร์ที่เกิดจาก liquidity พวกนี้ทั้งจากการออกจากตลาดหรือการกำหนดเพื่อจะเข้าเทรดมีจำนวนมาก

กำหนด Fractals อย่างไร


หลักการของ Fractals แบบง่ายๆ คืออ่านค่าจากแท่งเทียน 5 แท่ง ดูแท่งตรงกลางหรือแท่งที่ 3 และ 2 แท่งทางช้ายและ 2 แท่งทางขวาประกอบกัน และดูว่าแท่งที่ 3 สูงกว่าพวกหรือต่ำกว่าพวก เพื่อกำหนด Fractal ว่าเป็น Bearish หรือ Bullish อย่างภาพด้านบนเป็น Bearish Fractal หลักการมองดูแท่งเทียนที่ 3 แล้วมอง 2 แท่งเทียนทางช้ายและขวา แท่งที่ 3 ทำ Highest ได้โดยมีแท่ง 1, 2 , 4 และ 5 เป็น Lower highs หมด ถ้าเป็น Bullish Fractal ก็ตรงกันข้ามคือแท่งเทียนที่ 3 เป็น Lowest Low แท่งเทียนอื่นเป็น Higher Lows หมด จะเห็นว่ารูปแบบที่กำหนด fractals ไม่ได้ยาก แต่สิ่งที่ต้องใส่ใจคือตรรกะที่อยู่เบื้องหลังว่าอะไรทำให้ Fractals เกิดขึ้น เมื่อเข้าใจก็จะนำไปประยุกต์เข้าได้แบบถูกต้องด้วยความเข้าใจตลาด

ตรรกะที่ทำให้เกิด Fractals


จากภาพชาร์ตทองประกอบ การที่ราคาสามารถทำ High High ได้เมื่อมองจากมุมแท่งเทียนแต่ละช่วงเวลา เพราะมีออเดอร์ทางนั้นๆ เกินหมายความว่า trading pressure มากก็จะมาทางทาง Buy เป็นหลัก ไม่งั้นราคาไม่สามารถ เบรค High ก่อนและขึ้นไปทำ Higher High ใหม่ได้เพราะ high ก่อนถือว่าเป็น resistance ด้วย เพราะ high ก่อนดันราคาลงไปได้แสดงว่ามี Sell order พื้นที่ตรงนั้นๆ มากพอ และต่อเนื่องพอที่จะดันราคาลงมาได้ ความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จะบอกเราเอง
ดูว่า Fractrals สร้าง Support/Resistance และตรรกะที่อยู่เบื้องหลังอย่างไร เริ่มที่เลข 2 จะเห็นว่าเป็น Fractal แรกที่สร้างและราคาดันลง บอกถึงการเข้าเทรดตรงนี้มากพอที่จะหยุดราคา และมากพอที่จะดันราคาลงมาทำ Lower Highs ได้ หลังจากขึ้นไปทำ Highest ตรงที่เลข 2 ที่เป็นจุดของ Fractal  อีกอย่างเรื่องของแท่งเทียนและการเทรดบอกถึง trading transactions ที่เกิดขึ้นตรงนั้นๆ ด้วย มาที่เลข 3 และ 4 ก็เป็นจุด Fractal ที่เกิดขึ้นพื้นที่เดียวกัน ตรรกะเดียวกัน มีออเดอร์มากพอที่จะหยุดราคาและทำให้เกิด trading transactions ด้วย เทรดเดอร์ที่ถือ positions ในที่ตรงนี้ ถ้าเป็นส่วนที่ถือ short positions ก็จะกำหนด stop loss เหนือ highs หรือพื้นที่ ราคาเด้งออกหลายรอบเป็นการยืนยัน resistance ไปในตัวด้วย สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของ fractals คือ trading transactions และ trading pressure ที่เกิดขึ้นแต่ละช่วงของแท่งเทียนและต่อเนื่องกันมาเป็นส่วนประกอบของ Fractals ดังนั้น trading pressure ก็จะทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดอยากเทรดไปทางนั้นๆ และเนื่องจากมี trading transactions ที่เกิดขึ้น ถ้าเทรดเดอร์ที่ถือ Positions ตรงข้ามกับ trading pressure ก็จะถูกกดดัน เลยจำต้องหาทางจำกัดความเสี่ยงด้วยการออกจากตลาด ทั้งใช้ stop loss และปิดออกเอง

ดังนั้นหลักการเทรดด้วยการเข้าใจ Fractals ก็จะทำให้เทรดตามเทรน หรือเทรดตามพื้นที่ๆ เป็น key levels เช่นแนวรับ-แนวต้านมีความเป็นไปได้สูง หรือเทรดตามเทรนได้ง่าย เพราะการที่ราคาเบรค high ก่อนได้ถือว่าเป็นผลพิสูจน์ของความไม่สมดุลย์ ส่วนมากก็จะมาจากการเข้าเทรดเป็นหลัก มากกว่าการออกจากการเทรด
ดูที่เลข 5 จะเห็นว่าราคาส่วนมากจะทำการเบรค low ก่อนที่เลข 1 หรือจุดที่เป็น Bullish fractal ที่ดันราคาขึ้นไป เพราะเรื่องของ liquidity ที่สามารถใช้ประโยชน์จาก stop orders ที่มาจาก stop loss และ sell stop ที่อิงการเทรดจาก Fractal ที่เลข 1 ดังนั้นจุดต่อมาที่ Fractals นอกจากจะบอกเรื่องของ dynamic resistance/support แล้ว ถ้าเข้าใจเรื่องของ liquidity ที่มาจาก stop orders และการเข้าเทรดและออกเทรด ต้องการออเดอร์ตรงข้ามเสมอ เป็นสิ่งขาใหญ่ต้องการ มักจะเห็นการเบรคหลอกในรูปแบบพวกนี้เป็นประจำเป็นเรื่องปกติ อย่างที่เลข 5 เองราคายังเบรค Low ที่เลข 1 ก่อนค่อยดันขึ้นมา จากจุดนี้มองได้อีกอย่างว่า 2 ส่วนแท่งเทียนแรกที่อยู่ด้านหน้า Highest หรือ Lowest ที่เป็นส่วนจุด Fractals เป็นตัวหลอก กระตุ้นให้เทรดเดอร์ออกออเดอร์ไปทางนั้นๆ และดันกลับด้วย 2 แท่งเทียนหลักจาก Highest หรือ Lowest ที่มี trapped traders ที่อยู่ในส่วนของโครงสร้างด้วย เลยทำให้ราคาวิ่งง่ายขึ้น เพราะเทรดเดอร์พวกนี้จำต้องออก เพราะราคาไม่ได้ไปทางที่พวกเขาเปิดเทรด

จุด fractions พื้นที่ใกล้ๆ กัน ช่วยให้หาพื้นที่แนวรับ-แนวต้านได้ง่าย


หลักการเบื้องต้นของแต่ละ fractal คือการที่ราคาสร้าง dynamic support/sistance แต่ละจุดๆ ไป แต่ถ้า fractals เกิดขึ้นพื้นที่ใกล้เคียงกัน ก็จะทำให้เรากำหนดพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน หรือพื้นที่เราสามารถหา liquidity ได้ง่ายจากภาพชาร์ตทองด้านบน Fractal ที่เลข 6 7 12 และ 13 ถือว่าเปิดพื้นที่เดียวกันหมด หรือแม้แต่พื้นที่ Fractal ที่เลข 2 3 และ 4 ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นพื้นที่เดียวกัน เพราะพื้นที่พวกนี้เกิดจากเทรดเดอร์ที่สนใจพื้นที่เดียวกัน แต่ไม่ได้ราคาเดียวกัน เลยทำให้เกิดกองออเดอร์ลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นหรือ order cluster ประเภทเดียวกันในพื้นที่ราคาใกล้เคียงกัน  ดังนั้น หลักการ Fractals ช่วยให้เราเข้าใจและหาพื้นที่พวกนี้ได้ง่าย และอีกจุดที่ต้องมองคือ fractals กับ price structure ที่เกิดขึ้น ดูที่เลข 5, 8, 10 และ 11 ส่วนของ Fractal ใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นส่วนสำคัญของการทำเทรน เพราะ Lowest แต่ละจุดสูงขึ้นต่อเนื่อง บอกถึงเทรนกำลังกลับมา บอกถึง trading pressure เกิดขึ้นมาตอนไหน