กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดทองด้วย Oanda Order Book 1 – ภาพรวม

  • 0 replies
  • 5,642 views
เทรดทองด้วย Oanda Order Book 1 – ภาพรวม
« เมื่อ: 21, พฤษภาคม 2020, 05:39:43 PM »
เทรดทองด้วย Oanda Order Book 1 – ภาพรวม

การอ่านชาร์ตทองเทรดเดอร์มีหลายวิธีการวิเคราะห์เช่น Fundament Analysis, Technical Analysis หรือ Sentiment Analysis แล้วแต่รูปแบบที่เทรดเดอร์ถนัดเพื่อช่วยกำหนด trade seutp และการถือ position ว่าจะใช้รูปแบบการเทรดแบบไหน การวิเคราะห์ด้วย Sentiment Analysis คือการวิเคราะห์ว่าเทรดเดอร์ถือ postions และกำหนด orders ต่อสินค้าที่เทรดอย่างไร แต่วิธีการเทรดแบบนี้ ต้องได้ข้อมูลที่มาจากโบรกเกอร์ แต่เนื่องจากตลาดฟอเรก การเทรดเป็นแบบ Distributed trading server ไม่ใช่แบบ Centralized Trading Sever อย่างในการเทรดของ Futures หรือ Options โบรเกอร์ฟอเรกเลยไม่เปิดเผยข้อมูลพวกนี้ เราอาจเห็นเรื่องของ Sentiment มีหลายโบรกเกอร์ทำทูลเรื่องนี้ แต่ไม่ได้ละเอียดอย่างของโบรกเกอร์ Oanda ที่นำเสนอเรื่องของ Sentiment Analysis ได้ดีมาก เพราะทำออกมาในรูปแบบ Orderbook ให้ลูกค้าเห็นว่าข้อมูลที่เทรดเดอร์ของ Oanda เทรดทองอย่างไร

Oanda Order Book คืออะไร


Order Book คือบริการรายงานสถานะข้อมูลของออเดอร์ที่รอเข้าตลาด (open orders) และออเดอร์ที่อยู่ในตลาด (open positions) ของลูกค้าที่เทรดกับโบรกเกอร์ Oanda  เลยทำให้เรารู้ว่า Sentiment หรือ positions ที่ลูกค้าของ Oanda เป็นอย่างไร และมีการรอเข้าอีก เช่นกำหนด pending orders หรือการจะออก take profit หรือ stop loss ตรงไหน เพราะ Oanda Order Book บอกมากกว่าแค่ Sentiment อย่างที่หลายๆ โบรกเกอร์รายงานแค่มีข้างไหนถือ positions มากกว่าที่โบรกตัวเอง แต่ Order Book ของ Oanda บอกรายละเอียดของ Sentiment ด้วย คือบอกว่ามีการถือ positions ตรงไหน บอกว่ามีการกำหนด Limit orders, stop orders, take profit และ sto ploss ตรงไหนด้วย ทาง Oanda ก็ได้เสนอ Oanda Order Book ออกเป็นเวอร์ชั่นทางเว็บและสำหรับ Metatrader 4  โดยเวอร์ชั่นที่เป็นเว็บสามารถเข้าถึงได้ฟรี แต่ถ้าเป็นเวอร์ชั่นที่สำหรับ Metatrader ต้องเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ Oanda เท่านั้นซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกัน การนำเสนอทางเว็บก็จะเสนอย้อนหลัง 24 ชั่วโมงหรือ 24 แท่งเทียนของชาร์ต D1 เป็นหลัก ส่วนการอัพเทดข้อมูลก็จะทุก 20 นาที ถ้าต้องการอัพเดทข้อมูลทุก 5 นาทีต้องเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์และฝากทุนขั้นต่ำตามที่ทางโบรกเกอร์กำหนด


ก่อนอื่นท่านต้องเข้าใจว่า Oanda OrderBook นำเสนออย่างไร OrderBook ทาง Oanda จะแสดงเฉพาะข้อมูลคู่เงินที่มีรายการเทรดมาก (AUDJPY AUDUSD EURAUD EURCHF EURGBP EURJPY EURUSD GBPCHF GBPJPY GBPUSD NZDUSD USDCAD USDCHF USDJPY XAUUSD และ XAGUSD) มีข้อมูลทองหรือ XAUUSD ให้เราดูด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Open Orders และ Open Positions (เวอร์ชั่นที่เป็นเว็บแสดงแค่แท่งเทียนสำหรับย้อนเวลาด้านล่าง และราคาในกรอบข้อมูล ไม่ได้แสดงผลชาร์ตประกอบแบบใน Metatrader 4 แต่ก็เห็นตำแหน่งหรือ cluster ของ orders และ positions ได้ง่าย) ในที่นี้จะอธิบายเวอร์ชั่นที่เป็นเว็บเพราะว่าเทรดเดอร์ที่ไม่ได้เปิดบัญชีเทรดกับ Oanda ก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายแค่เปิดทางเว็บเท่านั้นเอง

เลข 1 เลือกสินค้าที่เราต้องการดูรายละเอียด Order Book ในที่นี้เลือก XAUUSD

เลข 2 3 และ 4 เลือกโหมดที่ต้องการดู ว่าจะดู Open Orders หรือ Oper Positions หรือทั้งหมด เรื่องออเดอร์คือ Open Orders คือออเดอร์ที่มีการกำหนด pending รอเพื่อเข้าหรือออกตลาด ถ้าอธิบายด้วยเรื่องออเดอร์ใน Metrader ส่วนของ Open Orders ก็ประกอบด้วย Sell Limit, Buy Limit, Sell Stop, Buy Stop, Stop Loss และ Take Profit ส่วน Open Positions เป็น Positions หรือออเดอร์ที่มีการเปิดเทรดแล้ว และยังถืออยู่ในตลาดเรียกว่า Position ถ้าตอนเปิดเทรดเป็น Buy ก็เป็น Long Position ถ้าตอนเปิดเทรดเป็น Sell ก็เป็น Short Position


ภาพประกอบส่วน Open Orders และ Open Positions ดูที่ส่วนของ Open Orders ก่อน เราจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ อิงตามราคา Bid และทิศทางของ Pending orders ที่กำหนดเข้าไปเลข 1 ราคาเหนือกว่าราคา Bid และเป็นออเดอร์ที่กำหนดรอเข้าเลยต้องเป็น Sell Limit และยังมาจาก Take Profit ของเทรดเดอร์ที่ถือ Long positions จากทางขวามือที่กำไรหรือ in profit ราคาตำแหน่งอยู่ต่ำกว่าราคา Bid (หลักการทำงานของออเดอร์ในตลาดฟอเรก เมื่อออกจากตลาดไม่ว่าจะเป็นการออกด้วย Take Profit หรือ Stop Loss หรือปิดออกเอง เท่ากับท่านเปิดเทรดออเดอร์ตรงข้าม position ที่ท่านจะออก ณ ราคานั้นด้วยล้อตเท่ากัน ดังนั้น Take Profit เลยเป็น pending order ประเภทหนึ่ง)  ที่เลข 2 ส่วนทางซ้ายมือเป็นฝั่ง Sell และราคาต่ำกว่า Bid  ก็เท่ากับพื้นที่ของ Sell Stop จากเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าตลาด และ Stop loss ของเทรดเดอร์ที่ถือ Long positions ถ้ามองในส่วนของ Position ที่กำลังติดลบ ที่เลข 3 ทางขวามือเป็นฝั่ง Buy order และอยู่เหนือกว่าราคา Bid ก็จะเป็นพื้นที่ของ Buy stop ออเดอร์ที่กำหนด pending เข้าไปเพื่อรอเข้าตลาดตามเงื่อนไข และ Stop loss ออเดอร์จากกลุ่มเทรดเดอร์ที่ถือ Short position ที่กำลังติดลบอยู่ และที่เลข 4 เป็น Buy Limit ออเดอร์ที่ต้องการเข้าตลาดต่ำกว่าราคา Bid และยังมี Take Profit จากเทรดเดอร์กลุ่มที่ถือ Short positions ที่อยู่เหนือกว่าราคา Bid ด้วยที่กำลังกำไรอยู่ตอนนี้

มาฝั่ง Open Positions การแบ่งก็จะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง อิงราคา Bid และทิศทางที่ถือ position นั้นๆ อยู่คือถ้าเป็น Short positions ฝั่งทางซ้ายมือ อยู่เหนือราคา Bid ก็กำลังกำไร (in profit)  ก็จะเป็นพื้นที่เลข 1 ถ้าต่ำกว่าราคา Bid ก็กำลังติดลบ (in loss) ก็เป็นพื้นที่เลข 2 ทางขวามือจะเป็นฝั่งของ Long Positions ถ้าเหนือราคา Bid ก็เป็นพื้นที่ติดลบหรือ in loss และถ้าเป็นพื้นที่ต่ำกว่าราคา Bid ก็เป็น Long positions ที่กำลังกำไรหรือ in profit
เลข 5 ต่อ (ของภาพแรก) จะเป็น Snapshot Time ที่บอกว่า ข้อมูลที่แล้วอยู่ตามเส้นที่เลือกเวลาที่เลข 7 ข้อมูลเรื่อง Open Orders และ Open Positions เป็นอย่างไร
เลข 6 จะเป็นแท่งเทียนที่ย้อนหลังที่สามารถลากเส้นเวลาที่เลข 7 ไปมาย้อนหลังได้เพื่อดูข้อมูลย้อนหลัง โดยทาง Oanda จะแสดง Order Book ย้อนหลัง 24 ชั่วโมง เลยเสนอเป็นแท่งเทียน 24 แท่ง ให้เลือกที่เส้นตรงเลข 7 แล้วลากไปมาจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล Order Book ที่เกิดขึ้น

Oanda Order Book เวอร์ชั่นเว็บ https://www1.oanda.com/forex-trading/analysis/forex-order-book