กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ใช้ Stochastic Oscillator ยืนยันชาร์ตเปล่าอย่างไร

  • 0 replies
  • 1,345 views
ใช้ Stochastic Oscillator ยืนยันชาร์ตเปล่าอย่างไร

อินดิเคเตอร์ Stochastic เป็นอีกตัวที่นิยมกันมาก เพราะทำความเข้าใจหลักการทำงานง่าย และเป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ยืนยันการเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี บอก Market Sentiment โดยเฉพาะเรื่องของ Oversold/Overbought ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร ตอนนั้นๆ เป็นอย่างดี เลยทำให้เทรดเดอร์ที่ใช้ข้อมูลจากอินดี้ตัวนี้มาพยากรณ์การกลับตัวหรือเปลี่ยนเทรน หรือเทรดตามเทรน หลังจากที่ราคาได้เกิดการกลับตัว นอกจากนั้นยังบอกว่าจะเข้าเทรดตอนไหนได้ด้วย

เข้าใจหลักการตลาดเบื้องต้นก่อนใช้อินดิเคเตอร์


การเข้าใจการทำงานของตลาดเบื้องต้นจำเป็น เพราะว่าการใช้อินดิเคเตอร์ โดยเฉพาะประเภท Oscillator ที่เป็นตัวยืนยันการเคลื่อนไหวของราคา เมื่อเข้าใจภาพรวมการเคลื่อนไหวของราคาก็จะทำให้ใช้ทูล Stochatic ช่วยได้ถูกที่และเวลา ในการเข้าเทรดหรือออกเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักเบื้องต้นง่ายๆ มีดังนี้  ก่อนที่จะใช้ Stochastic

•   เข้าใจเรื่องของการทำเทรนด้วยหลักการ swing highs/lows  การเคลื่อนไหวราคามี 2 อย่างคือทำเทรน หรือวิ่งอยู่ในกรอบหรือที่เรียกว่า flat market หรือ choppy market เมื่อราคาทำเทรนก็จะง่ายต่อการเทรด เพราะเกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก sellers และ buyers ออกมา โดยเฉพาะขาใหญ่มีส่วนร่วมด้วยเพราะ ขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะเลยทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ขึ้นได้ง่าย เนื่องจาก Stochastic อ่านข้อมูลจากราคาที่เกิดขึ้น เมื่อราคาทำ highs/lows ก็ควรจะเป็นไปทางเดียวกัน แต่ถ้าราคาทำ High/Low ต่างจาก Stochastic ทำ High/Low นั่นคือตัวบอกเรื่องของ Divergence ที่กำลังเกิดขึ้น จะทำให้โอกาสเทรดสวนเทรนได้แต่แรกๆ

•   เข้าใจ Resistance ของการเคลื่อนไหวราคา เปรียบได้กับกำแพง เมื่อราคาวิ่งไปถึงพื้นที่ตรงนั้นราคาเด้ง มีการเด้งบ่อย และมีการทะลุกำแพงหรือเบรค ที่เห็นหลักการมองพื้นที่ต้านทานแบบนี้เป็นแนวรับ-แนวต้าน หรือพื้นที่ที่จะเกิดต้านทานหรือ supply/demand เป็นต้น วิธีการง่ายๆ ด้วยการดูว่าราคาเด้งตรงไหน และสำคัญดูผลที่ตามมาแต่ละครั้งเมื่อราคาเจอกำแพงหรือพื้นที่ต้านทานตรงนี้ด้วยว่าเป็นอย่างไร


อย่างภาพประกอบ ดูเรื่องของ Swing highs/lows ก่อนเพราะจำเป็นในการช่วยดูว่าราคาทำเทรนหรืออยู่ในกรอบแคบๆ หรือ flat แบบง่ายๆ การเข้าใจราคาทำเทรนด้วยหลักการ swing  เช่นราคาทำเทรนลง ราคาต้องทำ Lower lows (1) ตามด้วย Low highs (2) ตามด้วย Lower Lows (3) ใหม่ได้เรื่อยๆ ส่วนสำคัญสุดที่เลข 3 เพราะราคาเบรคแล้วไปต่อ เลยทำให้เกิดเทรน  และส่วนที่สองเรื่องของพื้นที่ต้านทานหรือเรียกรวมๆ ว่า Resistance ที่ราคาเด้ง เปรียบเทียบได้กับกำแพงถ้าราคาเปรียบเทียบกับลูกบอล ไปถึงแล้วเด้งออก พื้นที่ราคาเด้ง หาได้ไม่ยากจากชาร์ตเปล่า ทำให้เราหาแนวรับ-แนวต้านได้ง่าย (แนวต้านหรือ Resistance คือราคาวิ่งไปเจอกำแพงราคาด้านบนแล้วเด้งลง ส่วนแนวรับหรือ Support ราคาวิ่งไปเจอกำแพงหรือพื้นที่ด้านล่างแล้วเด้งขึ้น) จะเห็นว่าหลักการของการพัฒนาเทรนด้าน swing highs/lows ได้สร้างพื้นที่ต้านทานหรือ resistance ไปในตัวด้วย เลยบอกว่าทั้งสองเป็นหลักการมองตลาดเบื้องต้นที่ถือว่าง่าย และถ้าใช้ Stochastic Oscillator เข้าไป ก็จะทำให้เราหา trade setup ได้ง่ายว่าจะเทรดที่ไหนและเมื่อไร

ใช้ Stochastic เพื่อใช้กำหนด Trade Setup ว่าจะเทรดที่ไหนและเมื่อไร


จุดเด่นของการใช้ Stochastic คือเพื่อเป็นตัวบอกว่าตลาด Overbought ด้วยการที่เส้น Stochastic เหนือกว่าเส้นระดับ 80 และบอก Oversold เมื่อเส้น Stochastic ต่ำกว่าระดับ 20 สำหรับเทรดสวนเทรนและเทรดตามเทรน ในภาพประกอบถ้าเราดูแค่ Stochastic ตามหลักการ Overbought/Oversould อย่างเดียวจะเห็นว่ามีโอกาสเปิดเทรดมากมาย แต่การใช้อินดิเคเตอร์ที่ถูกต้องคือยืนยันสิ่งที่ราคาบอก ไม่ใช่เป็นตัวกำหนดหรือบอกสัญญาณการเทรด เพราะหลักการทำงานของอินดี้คืออ่านข้อมูลจากราคาที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น การเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ เมื่อเปิดเทรดอะไรก็เกิดขึ้นได้ ดูที่ Overbought ที่ Stochastic สีเหลืองต่างจากสีชมพูที่วงกลมอย่างไร สีชมพูเป็นการใช้หลักการทำเทรนด้วย swing highs/lows และเรื่องของพื้นที่ต้านทานเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนไหวแล้วใช้ Stochastic เป็นตัวยืนยันในการเปิดเทรดว่าจะเปิดที่ไหนและเมื่อไร หรืออย่างกรณี Oversold เช่นกัน อธิบายที่ Oversold สีเหลืองท่านจะเห็นว่าถ้าดู Stoch อย่างเดียว แม้โอกาสการเปิดเทรดหลายรอบ แต่ราคาก็ยังวิ่งอยู่ในกรอบ โอกาสการเทรดจะเกิดแค่รอบแรก แต่ราคาอาจลงไปต่อก็ได้ เพราะว่าท่านต้องไม่ลืมว่า อินดิเคเตอร์ทำงานตามราคาที่เกิดขึ้น ถ้าราคาตรงนั้นลงไปต่อก่อน เทรดแค่ตาม Stoch ก็จะผิดพลาดได้ ต่างจากจุดสีชมพูที่วงกลมตรง Stoch และดู price chart ประกอบ ที่ใช้ Stoch เพื่อยืนยันการเคลื่อนไหวของราคาจากการเข้าใจเรื่อง swing highs/lows และพื้นที่ต้านทานที่โดนเบรค ราคาสามารถทำ New High ได้ ราคาย่อตัวมาเลยมีความเป็นไปได้สูงสำหรับ trade setup


หรือเป็นการใช้ Stoch เพื่อการเทรดตามเทรน หลักสำคัญอีกอย่างของการใช้อินดิเคเตอร์คือการใช้หลาย timeframe ประกอบกัน ใช้ตรรกะเดียวกัน แต่เป็นการใช้สิ่งที่เกิดขึ้นใน timeframe ย่อยลงไปเพื่อยืนยันสิ่งที่เห็นใน timeframe ใหญ่ เช่นอย่างภาพประกอบ เรากำหนดเทรนสำหรับเทรดด้วยการใช้ Stoch ที่ยืนยันการพัฒนาการของเทรนด้วย Swing highs/lows และพื้นที่ต้านทาน ด้วยการหา trade setup แล้วเราก็เปิด M15 ย่อยเพื่อหาว่าท่านจะเข้าเทรดได้ที่ไหนและเมื่อไรง่ายๆ ด้วยการใช้ Stoch ใน timeframe ย่อยช่วยนั้นเอง

นี่คือหลักเบื้องต้นง่ายๆ ในการใช้ Stochastic ช่วยในการเทรดอย่างไร ส่วนการปรับแต่งค่า ท่านอาจปรับแต่งตามต้องการ แต่หลักการเดียวกัน ไม่แนะนำให้ท่านเทรดด้วยการอ่านข้อมูลจาก Stochastic เป็นหลัก แต่เป็นการใช้ยืนยัน เพราะว่าอินดิเคเตอร์ประมวลผลจากราคาที่เกิดขึ้นแล้ว การเปิดเทรดมีทั้งแบบทันทีเมื่อราคามาถึงพื้นที่แล้วเกิด Overbought/Oversold หรือแบบรอการยืนยันจาก Price action ประกอบก็ได้ แนะนำให้เปิดเทรดหรือปิดเทรดด้วยการดูข้อมูลแบบเดียวกันใน timeframe ย่อยลงไปจาก timeframe ที่กำหนด trade setup เป็นหลัก ท่านจะเห็นชัดว่าควรจะเปิดเทรดหรือปิดเทรดตรงไหน