กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

กำหนด trade setup ด้วย RSI

  • 0 replies
  • 970 views
กำหนด trade setup ด้วย RSI
« เมื่อ: 19, เมษายน 2020, 08:16:27 PM »
กำหนด trade setup ด้วย RSI

ข้อดีของการเทรดด้วยอินดิเคเตอร์คือ ช่องว่างการเรียนรู้มีน้อย  แค่มีความเข้าใจว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร ใช้ในการเทรดอย่างไรเป็นหลัก เช่นแบ่งตามประเภท ช่วยให้ข้อมูลเรื่องของ Trend, Oscillator หรือ Volume ถ้าท่านดูที่ Metatrader โปรแกรมเทรด  ชึ่งหลักการอินดิเคเตอร์พวกนี้ก็จะใช้ข้อมูลราคาที่เกิดขึ้นแล้วมานำเสนอเพื่อเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบัน เพื่อคาดหวังผลที่น่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตเป็นอย่างไร อินดิเคเตอร์ RIS (Relative Strength Index) เป็นอินดิเคเตอร์ที่เทรดเดอร์นิยมใช้กันและใช้ง่ายด้วย หลักๆ RSI จะโดดเด่นเรื่องช่วยบอกสถานะตลาดหรือ market sentiment ว่า  Overbought หรือ Oversold เป็นหลัก เทรดเดอร์ก็จะใช้ข้อมูลนี้เพื่อเสริม trade setup ในการกำหนดการเทรดสวนเทรน การใช้ข้อมูลจากอินดิเคเตอร์ถ้ารู้จักวิธีการใช้จะช่วยได้เยอะมาก

RSI ใช้บอกอะไร


ก่อนจะใช้อินดิเคเตอร์ตัวไหนก็ตาม ท่านต้องไม่ลืมว่า มันอ่านข้อมูลจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อท่านมองย้อนหลังเมื่อท่านเอาอินดิเคเตอร์มาประกอบที่ชาร์ต ท่านจะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ไม่เคยผิดพลาด แต่เมื่อท่านเปิดเทรดจริง สิ่งที่เราเทรดคือความเป็นไปได้ เมื่อมองที่ชาร์ตเปรียบเทียบกันง่ายๆ อินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลทางช้ายมือ มาประมวลผลเลยไม่มีอะไรผิดพลาดเพราะเกิดขึ้นแล้ว แต่เราเทรดสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทางขวามือไม่เห็นอะไร ราคาวิ่งไปทางขวามือ ดังนั้นการเทรดเลยเป็นเรื่องของการเทรดความเป็นไปได้ ไม่มีอะไรมารับประกันว่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ แค่วิธีการต่างๆ Technical analysis ช่วยให้เราคาดหวังความเป็นไปได้น่าจะเกิดทางนั้นเท่านั้นเอง RSI ไม่มียกเว้น
เมื่อท่านเพิ่ม RSI ใส่ที่ชาร์ต ก็จะมาพร้อมกับค่า default หลักๆ ท่านไม่ต้องกำหนดอะไร แค่เรียนรู้ว่ามันทำงานอย่างไรก่อน และค่ากำหนดที่มาพร้อมก็ดีสำหรับใช้งานอยู่แล้ว ก็จะแสดงผลแยกออกจากชาร์ตไปด้านล่าง ก็จะมีเส้น RSI และ ระดับ 100 และ 30 มาพร้อมเพื่อกำหนด Overbought และ Overdold ถ้าเส้นอยู่เหนือระดับ 100 ก็ให้ข้อมูลสถานะตลาดตอนนั้นๆ ว่า ราคาได้มีการเปิดเทรดทาง long position มากแล้ว โอกาสที่ราคาจะกลับเทรนหรือทดสอบเทรนก็จะเกิดขึ้น ทำนองเดียวกัน  และจัดอยู่ในกลุ่ม Oscillator ที่ให้ข้อมูลยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นหลัก ดังนั้นเทรดเดอร์เลยมักจะใช้ RSI ยืนยันสิ่งที่ price chart บอกเป็นหลัก เลยมักจะใช้ประกอบการเทรดเปลี่ยนเทรนหรือเทรดการย่อตัวทดสอบเทรนและทำเทรนต่อ

กำหนดการเทรดด้วย RSI อย่างไร


เริ่มที่การกำหนดเทรดแบบ Overbought และ Oversold ก่อนที่เป็นจุดเด่นของอินดิเคเตอร์ตัวนี้ เนื่องจาก RSI เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator คือให้ข้อมูลยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้น วิธีการง่ายสุดให้อย่างน้อย 2 timeframe ประกอบ โดย timeframe หลักเป็นตัวกำหนดสำหรับอ่าน RSI ในการยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นภาพรวมแล้วอีกชาร์ต เป็นการใช้ RSI ใน timeframe เล็กลงมา ดูว่าพัฒนาการยืนยันการเคลื่อนไหวราคาที่เกิดขึ้นใน timeframe ย่อยสัมพันธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นใน timeframe ใหญ่ที่เป็นกรอบสำหรับกำหนด Trade setup หรือไม่ ยิ่งหลักการเดียวกัน ถ้าใช้การอ่าน price action ประกอบด้วยยิ่งให้ข้อมูลมากขึ้น  เช่นอย่างภาพประกอบเป็นการอ่านข้อมูลจาก H4 ด้วยการใช้ RSI เป็นสำคัญ ราคาลงอย่างแรงและต่อเนื่องเลยทำให้เกิด Market sentiment เป็นไปทาง sell เป็นหลัก จนมาเกิดเป็น Oversold ใน RSI เมื่อเราได้จากข้อมูลแบบนี้ สิ่งที่ควรมองหาคือ Buy เท่านั้น ราคาไม่ได้เปลี่ยนแปลงทันที เราไม่รู้ว่าเทรดเดอร์ที่เปิด sell ด้านลงจะปิดกำไร หรือยัง เพราะการปิดกำไรเท่ากับเป็นการเปิด buy และเราไม่แน่ใจว่าขาใหญ่จะเข้าเทรด เพื่อซึมชับ sell orders ที่เข้ามาต่อเนื่องหรือเปล่า แต่ที่เราได้ข้อมูลสำคัญคือราคาเข้าสู่โหมด Oversold ใน H4 เรารู้ว่าน่าจะเปิด Buy ที่ไหน แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเมื่อเราจะเปิด buy เมื่อไหร่ เลยจำเป็นต้องใช้หลักการเดียวกันใน timeframe ย่อย ในที่นี้เปิด M30 ใช้ RSI ประกอบเช่นกัน  ดูสิ่งที่ RSI บอกใน H4 ถ้าท่านเปิดเทรดโดยไม่ดูหลักการเดียวกันใน timeframe ย่อยประกอบ ท่านจะเกิดการสูญเสียมากจนมาถึงเส้นสีชมพู หลังจากนั้นมองมาที่ชาร์ต M30 เราจะเห็นว่า เส้น RSI มีการพัฒนาการขึ้นมา และมีการเบรคจุดก่อนได้ด้วยที่ตรงเลข 1 ถ้าเรามองมาที่ชาร์ต H4 เริ่มจะเห็นเส้น RSI หักขึ้นเช่นกัน โอกาสเทรดเราเกิดขึ้นที่เลข 2 เพราะว่า RSI ใน M30 ยืนยันว่าอยากจะขึ้นเพราะสามารถเบรคได้ และพอลงมา Oversold อีกรอบก็เลยเปิดโอกาสให้เปิดเทรด

หรือถ้าเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดเรื่องของ Divergence ที่หาโอกาสเทรดสวนเทรนเมื่อการพัฒนาการของราคา เรื่องของ swing highs/lows เกิดขึ้นไม่ไปทางเดียวกันกับที่เห็นในอินดิเคเตอร์ เราก็จะได้หลักการเทรดด้วย Divergence มายืนยันด้วย ดูที่ชาร์ตจะเห็นราคาทำ Lower Low และยังทำ Lower Low ได้อีก แต่เมื่อท่านมองที่ RSI จะเห็นว่า อินดิเคเตอร์ทำ  Lower Low แต่ตามด้วย Higher Low


หรือแม้การเทรดตามเทรน ถ้าท่านเข้าใจหลักการทำงานของ RSI ที่เป็นตัวยืนยันการเคลื่อนไหวของราคา เราสามารถนำหลักการเดียวกันมาเทรดตามเทรนได้ง่าย ด้วยการดู timeframe ย่อยประกอบและเทรดตาม เช่นอย่างภาพด้านบนหลังจากที่ราคาได้เปลี่ยนเทรนขึ้นมา เราต้องการเทรดตามเทรน แต่ไม่รู้ว่าที่ไหนและเมื่อไร หาคำตอบง่ายด้วยการใช้ RSI เช่นเดียวกันใน timeframe ย่อย ตรงพื้นที่สีเหลืองราคาลงมาจะถึงพื้นที่ Oversold พอดี แต่พอดู H4 ราคาเริ่มดันขึ้นแล้ว เมื่อราคาเริ่มหลักหัวขึ้นใน M30 หรือเทรดตอนที่ราคาอยู่ในพื้นที่เลย ก็จะทำให้ท่านรู้ว่าจะเข้าเทรดตามเทรนที่ไหน การเปิดเมื่อไรอาจเป็นตอนราคาขึ้นมาถึงแล้วเปิดเลย หรือราคาเริ่มหักหัวขึ้น หรืออาจใช้ price action ประกอบเช่น engulfing bar, pin bar ที่บอกว่าราคาการกดดันมาจากฝ่าย buy
นี่คือหลักการการใช้ RSI เพื่อกำหนดการเทรด ที่ไม่ต้องปรับแต่งค่า settings แค่เข้าใจว่า อินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร และใช้หลักการเดียวกันยืนยันใน timeframe ย่อยยืนยัน timeframe ที่ท่านอ่านข้อมูลจาก RSI เพื่อประกอบการเทรด