กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การใช้เครื่องมือ Currency Stregth Meter ดูทิศทางของกราฟ

  • 0 replies
  • 1,811 views
การใช้เครื่องมือ Currency Stregth Meter ดูทิศทางของกราฟ

การใช้ข้อมูลจากทูลประเภทตัววัดความแข็งของค่าเงินเป็นวิธีการที่เทรดเดอร์นิยมกันมาก มักจะใช้ประกอบกลยุทธ์การเทรด เพราะช่วยให้เห็นภาพว่าราคากำลังไปทางไหนได้ง่าย หลักการเทรดง่ายๆ ของการเทรดด้วยการอิงข้อมูลจากทูลพวกนี้คือ เทรดตามค่าเงินที่แข็ง และเทรดสวนค่าเงินที่อ่อน ด้วยการดูข้อมูลว่า ค่าเงินไหนแข็งและค่าเงินไหนอ่อนแล้วจับคู่กัน และการออกจากการเทรด ก็ต่อเมื่อเห็นความแข็งหรืออ่อนของค่าเงินเปลี่ยนไปจากทางที่เริ่มสวน

เทรดด้วยทูลจาก livecharts.co.uk


Currency Strength Meter ที่ยกมาประกอบหลักการ นำมาจากเว็บ livecharts.co.uk เพราะเป็นการวัด strength ของค่าเงินผ่านทางเว็บ ท่านสามารถเข้าถึงได้ง่ายและตลอดผ่านทางเว็บ ไม่ต้องมาติดเงื่อนไขของโบรกเกอร์ อย่างเช่นทูลที่ใช้กับ Metatrader ที่แต่ละโบรกเกอร์อาจเพิ่มส่วนขยาย เช่นค่าเงิน EURUSD อาจเพิ่มเป็น EURUSDc, EURUSDmicro, EURUSD.e, หรือ EURUSD.pro เป็นต้น และการอัพเดทข้อมูลทุก 1 นาที ข้อมูลที่ได้เร็วพอที่จะใช้ในการเทรด ไม่ว่าจะเป็นแบบ scalping หรือแบบอื่นๆ ก็ใช้ได้หมด วีธีการของการหาค่าความแข็งของค่าเงิน จะเป็นการอ่านค่าของทุกคู่เงินที่เกี่ยวข้องค่าเงินนั้นๆ เพื่อหาค่าความแข็งของค่าเงินนั้นๆ แล้วจากนั้นก็นำค่าเงินที่ได้มาเทียบกันเพื่อหาว่าจะใช้ Currency Strength Meter ในการเทรดอย่างไร เช่นอย่างภาพด้านบน ค่าเงินที่แข็งสุดจะเป็น CAD แข็งสุด ตามมาด้วย NOK, ตามมาด้วย EURO, GBP, JPY, CHF และที่อ่อนสุดเป็น USD และ NZD  แล้วนำค่าที่ได้มาช่วยในการเทรดคู่เงิน เช่น EURUSD, GBPUSD UDJPY EURGBP AUDUSD เป็นต้น


ตีความหมาย ทูล และชาร์ต


ดูสิ่งที่ Currency Strength Meter กับชาร์ตบอกสิ่งที่เกิดขึ้น จากทูลบอกถึงความแข็งของค่าเงิน จากตัวอย่างเป็นการยกชาร์ตและ Meter ที่เกิดช่วงเวลาเดียวกันมาประกอบ จะเห็นว่าค่าเงินที่แข็งมากสุดเป็น CAD และอ่อนมี USD และ NZD  ดูสิ่งที่เกิดขึ้นที่ชาร์ต USDCAD จะเห็นชัดเจนว่าอะไรเกิดขึ้น กรณีที่เห็นความแข็งและอ่อนของค่าเงินชัดเจนแบบนี้ก็จะทำให้เห็นราคาวิ่งไปทางที่ค่าเงินนั้นๆ ที่แข็งอย่างชัดเจน


ดูอีกคู่ EURGBP ที่เราสามารถจับความแข็งของค่าเงิน EUR และ GBP มาประกอบได้ จากข้อมูล Currency Strength Meter จะเห็นว่าทั้งสองค่าเงินแข็งพอๆ กัน ดูสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาร์ต จะเป็นการทำ consolidation หรือวิ่งอยู่ในกรอบ เพราะค่าเงินทั้งคู่ไม่มีตัวไหนแข็งเกินค่าเงินอีกฝั่ง แข็งพอๆ กัน เลยทำให้เกิดตลาดเป็นแบบนี้ ข้อมูลนี้ก็จะช่วยให้เราไม่อยากเทรดหรือหา trade setup จากคู่เงินที่ค่าเงินทั้ง 2 มีความแข็งแบบนี้

เทรดด้วยข้อมูลจาก Currency Stength Meter

สิ่งที่เราเรียนรู้จาก ชาร์ตและ Meter คือเราเห็นว่า Meter เป็นตัวยืนยันกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาร์ต เพราะทูลอ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว หลักการก็จะเหมือนกันกับการใช้ข้อมูลอินดิเคเตอร์ทั่วๆ ไป แต่ข้อมูลที่เราได้จาก Currency Strength Meter จะแสดงปัจจุบัน ไม่ได้แสดงย้อนหลังอย่างอินดิเคเตอร์ ถือได้ว่าเป็น Market Sentiment ของค่าเงินนั้นๆ ก็ว่าได้  หลักการใช้ความแข็งค่าเงินในการเทรดแบบง่ายๆ คือ เทรดตามค่าเงินที่แข็ง เทรดสวนค่าเงินที่อ่อน


เช่นอย่าง GBPUSD จะเห็นว่าค่าเงิน GBP ตอนนี้แข็งมากและค่าเงิน USD อ่อนสุด นี่คือภาพรวม มาถึงตอนนี้ เป็นไปได้ 2 อย่างคือ ถ้าราคา Breakout ขึ้นไปยิ่งจะทำให้ราคาไปได้เร็ว และขณะเดียวกันอย่างที่บอก เนื่องจาก Currency Strengh Meter เป็นการอ่านจากราคาที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปได้อีกอย่างว่า อยู่ในช่วง Overbought ที่ราคาอาจย่อตัวลงมาก่อนแล้วค่อยไปต่อ การเทรดก็จะเป็น 2 แบบ คือการเทรดแบบ Breakout หรือการเทรดแบบ Retracement  แนะนำให้ดูช่วงตลาดประกอบด้วยถึงจะดี เพราะนั่นหมายถึง volatility ที่จะทำให้ราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งได้เร็วเมื่อเห็นความแข็งของค่าเงินมากพอ
อีกแบบหนึ่งในการใช้ Currency Strength Meter  คือใช้ในการบริหาร position ที่เปิดไว้ก่อนได้ เป็นการใช้ประกอบการเทรดแบบระยะยาว หรือถือรอหลายชั่วโมงเพื่อทำกำไรหลายๆ pips เพราะเป็นการดูความแข็งหรืออ่อนของค่าเงิน ประกอบกับคู่เงินที่เทรดแล้วถือรอ  เช่นอย่างภาพประกอบด้านบน ถ้ามีการถือ long positions ด้านล่าง ก็จะปล่อยกำไรรอได้ หรือถ้ามีการย่อตัวลงมา ก็จะเปิดโอกาสให้เข้าเปิดเทรด Buy ได้อีกรอบ ถ้าผ่านเวลาไปถึงช่วงที่จะเปิดเทรดตาม trade setup ที่เกิดขึ้น Currency Strength Meter ยังบอกว่า GBP ยังแข็งพอและ USD ยังอ่อนอยู่ แต่ถ้า USD เริ่มแข็งขึ้นและ GBP เริ่มอ่อนลง ก็ให้รอดู price structure ประกอบก่อน
การเทรดอีกรูปแบบ อาจใช้ประโยชน์ข้อมูลจาก Currency Strength Meter ก็คือการเทรดแบบ Scalping เพราะว่าทูลนี้เป็นการบอกสถานะหรือยืนยันความแข็งของค่าเงิน ดังนั้น ถ้าเราเห็น Momntum หรือ Impulsive move ที่เกิดขึ้นใน timeframe เล็กๆ ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดตาม Momentum ที่เกิดขึ้นแบบรวดเร็วในเวลาอันสั้นและทำกำไรแบบรวดเร็วได้ง่าย แต่ท่านอาจจำเป็นต้องคอยดูข้อมูลที่อัพเดทบ่อยๆ ทางเว็บ หรืออีกวิธีการเป็นการเทรดแบบ scalping เช่นกัน แต่ให้ท่านรอเห็นว่า Breakout เกิดขึ้นก่อน และที่สำคัญดูความแข็งของค่าเงินประกอบด้วย อาจเป็นอีกข้างหนึ่งแข็ง อีกข้างไม่ค่อยขยับ ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดได้ง่ายเช่นกัน

ข้อมูลสำหรับดู Currency Stregth Meter => http://www.livecharts.co.uk/currency-strength.php