กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Supply/Demand กับ Support/Resistance ต่างกันอย่างไร

  • 0 replies
  • 1,986 views
Supply/Demand กับ Support/Resistance ต่างกันอย่างไร
« เมื่อ: 18, มีนาคม 2020, 09:29:07 PM »
Supply/Demand กับ Support/Resistance ต่างกันอย่างไร

หลักการเทรด Supply/Demand และ Support/Resistance ไม่ต่างกัน ยิ่งถ้าเป็นการมองแนวรับ-แนวต้าน ด้วยหลักการพื้นที่ออเดอร์หรือ cluster เข้าประกอบ การกำหนดพื้นที่ไม่ต่างกัน เพราะพื้นที่ออเดอร์ จะกองกันเป็นพื้นที่หรือช่วงราคาเป็นหลัก และแต่ละเทรดเดอร์เทรดต่างราคากันแต่พื้นที่เดียวกัน หรือเพราะกลยุทธ์การเข้าเทรด เช่นการกระจายออเดอร์พื้นที่เดียวกันด้วย ดังนั้นเวลาพูดถึงแนวรับ-แนวต้าน หรือเป็น key levels ทั่วๆ ไปให้มองเป็นพื้นที่หรือกองออเดอร์แบบเดียวกันกับหลักการที่กำหนดใน Supply/Demand หลักการทั้งสองแบบในการเทรดไม่ต่างกัน คือจุดเทรดที่ราคาน่าจะเด้งกลับตัวเมื่อราคาไปถึง

นิยาม Supply/Demand และ Support/Resistance


ตัวอย่างภาพประกอบ นิยาม Demand และ Support ต่างกันอย่างไร  พื้นที่ Demand/Supply คือพื้นที่ที่เราสันนิษฐานว่ามีกองออเดอร์อยู่ ส่วน Support/Resistance คือ key level ที่ราคาได้มีการมาทดสอบและไม่สามารถเบรคผ่านไปได้ ดูตรงกรอบที่เป็น Demand เรียกว่า Demand เพราะราคาวิ่งอยู่ในกรอบหรือ consolidation เป็นช่วงที่ In Balance จากนั้นราคาได้เบรคขึ้นไปอย่างรวดเร็ว เป็นความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ บอกถึง Demand เกิน Supply ดังนั้นพอความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เกิดขึ้น เราก็คาดหวังที่จะเปิด Buy พื้นที่นี้เพราะว่าเราคิดว่ามี Buyers เหลืออยู่ตรงนี้ ที่ไม่ได้เข้าตลาดตอนที่เกิดความไม่สมดุลย์ เพราะราคาได้ขึ้นไปอย่างรวดเร็ว คือถ้ามองมุมออเดอร์ก็จะมี Unfilled Buy orders เหลืออยู่อีก พร้อมกันนั้นเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะได้โอกาสเพิ่มออเดอร์เข้าไปรอพื้นที่เดียวกันด้วย พอราคากลับมาตรงที่วงกลม เลยทำให้หลักการเทรด Demand ทำงานดี เพราะเรื่องออเดอร์ที่มาจาก Unfilled buy orders และจากเทรดเดอร์ที่รอเข้าเพิ่มเข้าไปอีกด้วย  ส่วนนิยาม Support ด้านบน จะเห็นว่าราคาได้ลงมาเทส key level นั้นหลายครั้ง แต่ราคาไม่สามารถเบรคลงมาได้  ดังนั้นการมองเน้นไปที่ราคาและจำนวนการเด้งออกจนกว่าเกิดการเบรค  ถ้าเห็นหลักการ Supply/Demand ก็จะมองพื้นที่หรือ cluster ของออเดอร์เป็นหลักมีเรื่องเวลาเข้ามาประกอบ ส่วน Support/Resistance ก็จะมองแค่ราคาหรือ key level เป็นหลักการในการกำหนดพื้นที่ออเดอร์ แต่ถ้าเรามองเรื่องหลักการทำงานออเดอร์ว่าทำงานอย่างไรคือ เทรดเดอร์เทรดพื้นที่เดียวกันไม่ใช่ว่าเทรดราคาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด Take Profit หรือ Stop Loss ก็เช่นกัน ดังนั้นเลยแนะนำให้มอง Key level ของหลักการ support/resistance เป็นแบบเดียวกันกับหลักการ Supply/Demand เลยไม่ต่างกัน ต่างกันแค่มองเรื่องของ unfilled orders กับการทดสอบหรือ test เท่านั้นเอง

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าไม่กำหนด key level ของหลักการ support/resistance เป็นหลักการมองออเดอร์แบบเดียวกันกับหลักการมองแบบ Demand/Supply จะทำให้หาจุดอ้างอิงในการเข้าเทรดได้ยาก แต่พอมองเป็นพื้นที่เราก็จะสามารถหาพื้นที่ที่ช่วยในการเทรดหรือ trade decision ได้ง่ายว่าต้นตอของ Imbalance อยู่ตรงบริเวณไหนในกรอบพื้นที่

ปัญหาของการมองแค่ key level ตามหลักการแนวรับ-แนวต้าน


ตามหลักการทั่วไปของข้อกำหนดแนวรับ-แนวต้าน ถ้าไม่ได้มองพื้นที่ key level เป็นกองออเดอร์ แต่มองเป็นราคาหรือแค่ key level ปัญหาคือราคามักจะไม่เด้งออกตรงที่ key level นั้นเพราะเรื่องของการทำงานของออเดอร์ที่มาจาก liquidity ที่เห็นบ่อย เช่นเรื่องของ stop hunt ท่านจะพบว่าราคาได้วิ่งเกินไป เช่นถ้าเป็นแนวต้านก็เด้งเกินขึ้นไป แนวรับก็เด้งลงมา แล้วราคาค่อยกลับมาอย่างรวดเร็ว เพราะ liquidity ที่มาจาก stop orders ทั้งจาก stop loss และ buy/sell stop ที่ช่วยให้ขาใหญ่เข้าเทรดได้ง่าย ได้ราคาที่ต้องการ และมีออเดอร์ตรงข้ามมากพอด้วย แต่ถ้าเรามอง key level เป็นกรอบหรือกองออเดอร์ตามหลักการ Supply/Demand ก็จะทำให้เทรดสถานการณ์แบบนี้ด้วยความเข้าใจและรู้ทันตลาดมากขึ้น

Stop Hunt เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติในตลาด  ถ้าเข้าใจเรื่องออเดอร์ทำงานอย่างไร และขาใหญ่เทรดอย่างไร จากตัวอย่างกรอบสีเหลืองคือ stop hunt เพราะพื้นที่ที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน เทรดเดอร์ก็จะสนใจมาก ทั้งที่รอเข้าเทรดและที่ถือ positions อยู่ในตลาด ที่เลข 1 เทรดเดอร์เห็น Support ถ้าราคามีการเทสหลายรอบ ราคาไม่สามารถเบรคได้ เทรดเดอร์ที่เทรดแนว Support/Resistance ก็จะหันมาเทรด Support นี้มากขึ้น และพอเข้าถือ positions ได้ ก็จะมีการกำหนด stop loss ต่ำกว่าพื้นที่ Low สุดหรือต่ำกว่า Support เล็กน้อย ถ้ายิ่งแนวรับมีการเทสหลายรอบ เทรดเดอร์ก็จะถือ positions มาก ก็จะทำให้มี stop loss มากด้วย เนื่องจากขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะ และการทำงานของออเดอร์ การเทรด ณ จุดที่ต้องการจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีออเดอร์ตรงข้ามพอ ณ จุดที่ท่านจะเข้าเทรด ดังนั้นพื้นที่ที่ตั้ง stop loss เลยทำให้ขาใหญ่หาออเดอร์ตรงข้ามได้ง่าย อย่างในภาพประกอบ ที่เลข 1 ถ้าเป็น stop loss ของกลุ่มเทรดเดอร์ที่เทรดอิง Support ถ้าราคาแตะ ก็จะเท่ากับการเปิด Sell market order เลยทำให้ขาใหญ่หาพื้นที่เข้าเทรด และมั่นใจว่าได้ออเดอร์ตรงข้ามเพียงพอที่ต้องการ และที่สำคัญ พวกเขาสามารถเข้าเทรดที่ราคาดีกว่าด้วย (หลักการ Buy Lower และ Sell Higher แทนที่จะเป็นแค่ Buy Low และ Sell High)