กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

สิ่งที่เทรดเดอร์แนว Supply/Demand ควรใส่ใจ

  • 0 replies
  • 1,810 views
สิ่งที่เทรดเดอร์แนว Supply/Demand ควรใส่ใจ
« เมื่อ: 18, มีนาคม 2020, 09:26:09 PM »
สิ่งที่เทรดเดอร์แนว Supply/Demand ควรใส่ใจ


หลักสำคัญของการเทรดแนว Supply/Demand คือเข้าใจความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์ผ่านทางชาร์ต ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เข้าใจตรรกะที่อยู่เบื้องหลังหรือการทำงานของออเดอร์ที่ทำให้ Supply/Demand เกิดขึ้น พร้อมทั้งรู้จักกรองสิ่งต่างๆ ที่ได้อธิบายมาเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ว่าราคาน่าจะไปทางนั้นๆ อีกรอบเมื่อเปิดเทรด แต่การเทรดเป็นเรื่องความเป็นไปได้ แม้ว่าความเป็นไปได้สูง แต่ไม่ได้รับรองว่าจะเกิดขึ้นจริง มีสิ่งที่เทรดเดอร์ที่เทรดแนวนี้ควรใส่ใจเพื่อจะทำให้การเทรดปิดทำกำไรได้ง่าย

ข้อแรก พยายามเทรด Supply/Demand ที่เกิดในช่วงตลาดสำคัญ


ให้หาว่า Demand/Supply ที่เกิดขึ้นนั้นๆ เกิดช่วงหลักๆ ของตลาดการเงินโลก หรือช่วงที่เกี่ยวกับค่าเงินนั้นๆ ช่วงตลาดหลักก็จะแบ่งออกเป็นช่วงๆ เริ่มที่ Sydney, Tokyo, London และ New York อย่างภาพประกอบด้านบนเป็น GBPUSD ที่เป็นตลาดยุโรปเปิด และมาคาบเกี่ยวกับตลาดอเมริการอีก เทียบเวลาประเทศไทย เริ่มเวลา 15.00-24.00 และ ตลาด USD เริ่ม 19.00-04.00 ในภาพประกอบเป็นการใช้ Market session เข้ากับ Metatrader ชาร์ต GBPUSD เพื่อดูช่วงตลาด  ดู Supply ที่เลข 1 เกิดในช่วงของตลาด London – ของวันก่อน แล้ววันถัดมา ราคาย่อตัวมาตรงนั้นอีกรอบ เพราะ Demand/Supply ที่เกิดในช่วงตลาดหลักๆ มักจะเป็น Demand/Supply ที่เกิดจากขาใหญ่เข้าเทรดเป็นหลัก ที่เลข 2 เป็น Swap Supply ที่ราคาได้เบรค Demand ลงมา สังเกตุดู Demand ตรงนี้เป็นการทำ Lower Low ได้ และตอนราคากลับไป ราคาทำ Lower High ตรงจุดเข้าเทรด พอราคากลับมาอีกรอบราคาไม่ค่อยโต้ตอบ Demand ตัวนี้ เลยทำให้ราคาเบรคได้ง่ายกลายมาเป็น Supply ช่วงตลาด London โต้ตอบนิดหน่อย แต่ราคาเบรคช่วง New York โอกาสเทรดราคาย่อตัวกลับมาเกิด อีก 2 วันตามมา และ Demand ที่เลข 3 ก็เช่นกันเปิดช่วง London เปิดตลาด เป็นต้นตอที่ราคาเบรคขึ้นมาหลังจากที่ราคาทำเทรนลง นี่คือความสำคัญของช่วงตลาดกับ Demand/Supply ที่เกิดขึ้น

เทรด Supply/Demand ที่เห็นราคาทำ High/Low ใหม่ได้


การอ่านราคาทำ High/Low ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญว่าตลาดบอกว่าเป็นอย่างไรในสิ่งที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่คิดเอาเอง แม้ว่าการเทรดแนว Demand/Supply จะเห็นว่าเกิดขึ้นตลอด และยิ่งเป็นการหา Demand/Supply ใน timeframe ย่อยลงไป ก็จะเห็นรูปแบบเกิดขึ้นมากมาย สำคัญคือต้องรู้จักเลือกและกรองว่าตรงไหนเทรดได้ ด้วยการใช้ตัวกรองที่อธิบายก่อนนี้ แต่ การที่ความไม่สมดุลย์เกิดเป็นตัวยืนยันว่า Demand/Supply เกิดขึ้น ถ้าเห็นว่าราคาสามารถทำ New High หรือ New Low ใหม่ได้ ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้สูงขึ้นมาอีก เพราะความไม่สมดุลย์ตัวนั้นบอกว่าเป็น Impulsive move เพราะทั้งเปลี่ยน price structure ที่เกิดขึ้น ยังเปลี่ยนข้อมูลสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดด้วย สร้างความกดดันให้เทรดเดอร์พวกที่ติดลบให้จำต้องออกจากตลาด อีกทั้งเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะเทรดทาง Impulsive move เกิด และเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด ถ้าราคาวิ่งสวนพวกเขายิ่งจำต้องออกเพื่อจำกัดความเสี่ยง เลยเป็นที่มาของ market orders ที่คาดการณ์ได้ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความไม่สมดุลย์เมื่อเข้าเทรดตอนราคาย่อตัวกลับมา

ราคาต้องเบรค Supply/Demand อย่างไร


การที่ราคาเบรค Supply/Demand เป็นเรื่องปกติ เพราะเรื่องออเดอร์ตรงข้ามไม่มากพอ แต่เมื่อเรามองที่ชาร์ต ก็มีบางอย่างพอจะดูได้ เช่นดูเรื่องของ Retracement ประกอบที่พื้นที่นั้นๆ ว่าราคามากี่ครั้งแล้ว และแต่ละครั้งราคาเด้งออกอย่างไร หรือเด้งมานิดหน่อย ราคาสามารถสร้าง consolidation ใกล้ๆ ได้ เพราะบอกถึงไม่มีเทรดเดอร์อยากเทรดทาง supply/demand นั้นๆ แล้ว ก็มักจะตามมาด้วยการเบรค หรือการเบรคด้วย Momentum สำคัญคือเมื่อเบรคให้เห็นต้องเบรคด้วย Momentum และรอให้แท่งเทียนปิดก่อนว่าเปิดทางนั้นได้จริงหรือเปล่า เพราะอาจกลายมาเป็น เบรคหลอกหรือ False Break/Stop Hunt ก็เกิดขึ้นประจำเมื่อราคาเปิดก็จะทำให้เกิด Swap level หรือจาก Supply กลายมาเป็น Demand หรือจาก Demand กลายมาเป็น Supply แล้วก็ใช้หลักการตัวกรองเข้าไปประกอบ และข้อมูลเรื่องของ trapped traders เข้าไป ก็จะทำให้เห็นโอกาสเทรดได้ตลอดไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลง

ข้อดีของการเทรดราคาเบรค Level หรือ Supply/Demand คือโอกาสจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าราคาเปลี่ยนเทรน หรือการเทรดแบบ Reversal (Drop-Base-Rally สำหรับ Demand และ Rally-Base-Drop สำหรับ Supply) การเบรคจะเป็นการเทรดตามเทรนหรือ Continuation Supply/Demand มี Rally-Base-Rally สำหรับ Demand และ Drop-Base-Drop สำหรับ Supply  สิ่งสำคัญของการเทรดแล้วไปต่อของการเทรดแบบ Continuation เป็นเรื่องของการเห็นราคาสามารถ Engulf พื้นที่ตรงข้ามได้ หรือที่อธิบายหลักการ  ราคาทำ New High/New Low ด้านบนได้นั่นเอง


ระยะห่างจาก Base และ Retracement


ส่วนสุดท้ายที่อยากให้ใส่ใจคือระยะห่างจากพื้นที่ Base และราคากลับมา ไม่ควรจะมากเกินไป หมายความว่า Demand/Supply ที่เกิดขึ้นกับจุดที่จะเทรดตอนราคากลับมา ไม่ควรจะห่างกันมากเกินเช่น  ถ้าท่านเป็น Day Trading พื้นที่ Supply/Demand ควรจะอยู่ใน 2-5 วัน เพราะหลักการเทรดความไม่สมดุลย์เป็นการหาพื้นที่ unfilled orders ที่เหลือจากความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้น ที่ขาใหญ่มักจะเข้าเทรดอีกรอบ ถ้าพื้นที่ที่พวกเขาเข้าเทรดมีออเดอร์ตรงข้ามไม่เพียงพอ ถ้านานไปก็จะมีการออกไปแล้ว ท่านต้องรอให้ข้อมูลใหม่เข้ามาประกอบก่อน ดู price structure ที่เกิดขึ้นก่อน ต่างจากที่ห่างกันไม่กี่วัน ราคาจะโต้ตอบ พื้นที่ Supply/Demand ได้เร็วกว่า
และสุดท้ายต้องไม่ลืมเรื่องของ Liquidity hunt หรือ stop hunt ที่มักจะเกิดขึ้นประจำเพราะพื้นที่พวก Demand/Supply จะดึงดูดเทรดเดอร์ทั้งที่อยู่ในตลาดและรอเข้า เลยทำให้เกิด liquidity พื้นที่นั้นๆ มากขึ้นเป็นเรื่องปกติ


เพราะ liquidity พวกนี้จะช่วยให้ขาใหญ่เทรดได้ราคาที่ดีกว่า และเทรดด้วยความมั่นใจว่ามีออเดอร์ตรงข้ามมากพอ ณ จุดที่พวกเขาต้องการจะเข้าตลาด