กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Supply/Demand Trading EP.1 ความไม่สมดุลย์

  • 0 replies
  • 1,635 views
Supply/Demand Trading EP.1 ความไม่สมดุลย์
« เมื่อ: 17, มีนาคม 2020, 09:30:31 PM »
Supply/Demand Trading EP.1 ความไม่สมดุลย์

การนำเอาเรื่องของ Supply และ Demand มาประกอบการทำความเข้าใจว่าออเดอร์ทำงานและราคาเคลื่อนไหวอย่างไร เป็นวิธีการด้าน Technical analysis ที่เทรดเดอร์นิยมเอามาประกอบเพื่อหา trade setup ว่ามีความเป็นไปได้มากพอที่จะเทรดหรือเปล่า โดยหลักการก็จะมองหาพื้นที่ที่เป็นต้นตอ หรือที่เกิดความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์จากทาง Sellers หรือ Buyers เพื่อบอกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่เหรือเปล่าเพราะหลักการทำงานของออเดอร์ที่เกินกันเกิดขึ้น แล้วรอจังหวะที่ราคากลับมาอีก ถ้าขาใหญ่เปิดเทรดตรงนั้นจริง พวกเขาจะไม่ให้ให้ราคาวิ่งผ่านไปได้

ความไม่สมดุลย์ออเดอร์ หัวใจของการเทรด Supply/demand


เมื่อนำหลักการ Technical analysis ด้วย Supply/Demand  มาทำความเข้าใจเรื่องของตลาดก็จะเข้าใจดีขึ้นเพราะหลักการเคลื่อนไหวของราคาบอกว่า ราคาขึ้นหรือลงเพราะจำนวนออเดอร์จากเทรดเดอร์เกินกันจากทางใดทางหนึ่ง ก็จะทำให้ราคาวิ่งไปทางนั้นๆ Buy ออเดอร์มาจากฝั่ง Demand และ Sell ออเดอร์มาจากฝั่ง Supply มองไปถึงแหล่งที่มาของออเดอร์ก็จะหมายถึงเทรดเดอร์ที่เป็นเจ้าของออเดอร์ ทั้งที่อยู่ในตลาดและรอเข้าตลาด หลักๆ ก็จะแบ่งออกเป็นรายย่อยกับขาใหญ่ สิ่งที่ขาใหญ่ต่างจากรายย่อยคือ วอลลูมหรือล็อตในการเทรด นั่นหมายความว่า จำนวนออเดอร์ที่จะทำให้ความไม่สมดุลย์เกินขึ้นได้ง่าย ก็จะมาจากการเทรดหรือการออกจากตลาดของขาใหญ่ เพราะพวกเขาเทรดด้วยจำนวนเยอะมาก  และอีกข้อ การออกจากการถือ Position ที่ถืออยู่ในตลาดเท่ากับการเปิดเทรดตรงข้ามที่ถือ เช่นท่านถือ Long position เพราะท่านเปิดเทรดด้วยออเดอร์ Buy เพื่อเข้าตลาดเมื่อท่านจะออกหรือปิด อาจเป็นการปิดออกเอง หรือปิดกำไรด้วย Take Profit หรือปิดสูญเสียด้วย Stop Loss เท่ากับท่านเปิด Sell ออเดอร์ ณ ราคาที่ท่านออก  นี่คือแหล่งที่มาของออเดอร์ จากการเข้าเทรดและการออกเทรด การเข้าใจความไม่สมดุลย์ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นตัวสำคัญสุดของการเทรด Supply/Demand

การดูความไม่สมดุลย์ เราจะไม่เห็นถ้าไม่เกิดขึ้น หลักการทำงานออเดอร์  ถ้าออเดอร์อีกข้างเกินอีกข้างราคาก็จะวิ่งไปทางนั้น ถ้าออเดอร์มากหรือเกินกว่าอีกข้างเยอะมาก ก็จะทำให้ราคาวิ่งเร็วขึ้นในเวลาอันสั้นได้ ถ้ามองจากชาร์ตเปล่า สิ่งที่บอกเรื่องของความไม่สมดุลย์คือแท่งเทียนยาวๆ ราคาปิดทางที่เกิด Momentum และราคาไปต่อได้เร็วสักระยะ ในเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับแท่งเทียนก่อนๆ โดยเฉลี่ย จากตัวอย่างประกอบด้านบน สิ่งที่เรามองหาจากชาร์ตเปล่าสำหรับเรื่องของความไม่สมดุลย์หรือ Imbalance คือการเบรคพื้นที่ consolidation และตามด้วยราคาวิ่งขึ้นไป ด้วยแท่งเทียนยาวๆ ที่บอกถึง Momentum เพราะ Momentum บอกถึงความไม่สมดุลย์ของจำนวนออเดอร์อีกข้างเกินอีกข้างมาก ไม่เช่นนั้นถ้าจำนวนออเดอร์ไม่เกินกันมากก็จะไม่เกิดขึ้น เรื่องออเดอร์ต้องดู Depath of Market ประกอบ ออเดอร์ในที่นี้หมายถึง Market price ที่เกินออเดอร์ตรงข้าม ที่เป็นราคา Bid หรือ Ask และออเดอร์ตรงข้ามคือ Limit ออเดอร์เป็น Sell Limit หรือ Buy Limit แล้วแต่ทางการเปิดเทรด เช่นการเปิดเทรดด้วย Buy Market Order ออเดอร์ตรงข้ามคือ Sell Limit ที่เป็น Ask ราคาตลาดตอนนั้นๆ ถ้าจำนวน Sell Limit  ที่ราคา Ask นั้นๆ ไม่พอ Buy Market Order ก็จะวิ่งไปหา Sell Limit order ที่ราคาต่อไป และราคานั้นๆ ก็จะเป็น Ask จากตัวอย่างด้านบนราคาขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว ถ้าว่าตามหลักการออเดอร์ตาม Depth of Market สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงว่า Sell Limit orders พื้นที่เกิด Moentum ขึ้นไป ไม่มีเพียงพอ Buy Market order ที่เข้ามา ไม่เช่นนั้นไม่เกิดขึ้น

ความไม่สมดุลย์เกิดเพราะอะไร


สิ่งที่ต้องมองให้เข้าใจมากกว่าภาพของความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้น คือต้องมองที่มาว่าความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะจะทำให้เรามั่นใจว่าขาใหญ่ที่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะ มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดหรือเปล่า ท่านต้องอ่าน price structure ประกอบตรงจุดที่เกิดเบรคและตามด้วย momentum ที่อธิบายมา ดูที่เลข 1 ราคาลงมา แสดงว่า Sell market order เกิน Buy Limit ลงมาเรื่อยๆ ได้ ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ ตอนนั้นก็บอกว่าเทรดเดอร์เทรดทางนั้นเป็นหลัก พอราคาลงมาดู 2 แท่งเทียนแรกที่เกิดหางยาวๆ ตรงที่เลข 2 ขึ้น ที่กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอน consolidation หรือ Accumulation ทั้ง 2 หางบาร์เกิดจากการปิดทำกำไรเป็นหลัก และที่สามารถดันราคากลับมาได้ และเกิดหางทั้ง 2 แต่ราคาไม่เด้งกลับทันที แต่หยุด Momentum หรือความไม่สมดุลย์จาก Sell market order ได้ แสดงว่าออเดอร์ตรงข้ามต้องมากพอที่จะหยุด มีแต่ขาใหญ่ที่เทรดและจัดการออเดอร์ด้วยจำนวนเยอะแบบนี้ได้ แม้ว่าการปิดทำกำไรเท่ากับเปิดออเดอร์ตรงข้าม ในที่นี้คือเปิด Buy Market order และออเดอร์ตรงข้ามสำหรับการทำกำไรของพวกเขาคือ Sell maret order นั่นเอง ดังนั้น Buy market orders พวกนี้มาจากการปิดทำกำไรเป็นหลักไม่ใช่การเข้าเทรด เลยไม่สามาถทำให้เกิดการเบรคและตามด้วย Momentum ได้


ราคาเริ่มทำ consolidation หรือช่วง Accumulation  ตรงช่วงนี้เรียกกันว่า In Balance เพราะทั้ง sellers และ buyers ต่างได้เข้าตลาดรวมทั้งขาใหญ่ด้วย แต่เนื่องจาก consolidation เราไม่รู้ว่าขาใหญ่เข้าเทรดทางไหน เพราะความไม่สมดุลย์ไม่เกิดขึ้นให้เห็น สิ่งแรกที่เห็นคือตรงที่เลข 3 ที่เกิดหางบาร์ยาวๆ ลงไปแล้วขึ้นมาอีกรอบอย่างรวดเร็ว มองแบบนี้พอราคาวิ่งอยู่ในกรอบเทรดเดอร์ที่เปิดถือ short positions ก็จะกำหนด stop loss เหนือกรอบ ถือว่าเป็น Resistance ส่วนเทรดเดอร์ที่เปิด long positions ก็จะกำหนด stop loss ไว้ด้านล่างกรอบหรือถือว่าเป็น Support จากที่อธิบายมา การออกตลาดด้วย stop loss เท่ากับเปิด sell market order เทรดเดอร์ประเภทไหนที่กล้าดันราคาไปแตะ แล้วดันขึ้นมาอย่างรวดเร็ว  เพราะการเทรดต้องการออเดอร์ตรงข้ามเสมอ ใช่ขาใหญ่หรือเปล่าที่กำหนด buy limit orders ไว้ด้านล่าง แล้วดันราคาไปแตะ stop loss เพื่อให้กลายเป็น sell market orders ไปจับคู่กับ buy limit orders ของพวกเขาด้านล่าง ที่มั่นใจเพราะ ราคาลงแล้วกลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพราะพวกเขาเทรดด้วยวอลลูมมากเลยทำได้ แล้วอีกไม่นานราคาก็เบรค แล้วตามมาด้วย Momentum อย่างที่เห็น
การเบรคลักษณะที่ตามมาด้วยความไม่สมดุลย์แบบนี้คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับกาเทรดแนว Supply/Demand เพราะเป็นผลจากการเข้าเทรดของขาใหญ่ เลยทำให้เกิดโอกาสการเทรดตอนราคาย่อตัวหรือ Retracement ได้ง่าย