กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

วิธีใช้ trendline ในการเทรด Forex

  • 0 replies
  • 642 views
วิธีใช้ trendline ในการเทรด Forex
« เมื่อ: 17, มีนาคม 2020, 09:26:58 PM »
วิธีใช้ trendline ในการเทรด Forex

การใช้ trendline น่าจะเป็นวีธีการเทรดตามเทรนที่เทรดเดอร์นิยมมากสุด เพราะทั้งรูปแบบนำเสนอและตรรกะไม่มีอะไรซับช้อน แค่เป็นการเปิดเทรดตามแนวรับ-แนวต้านตามเส้น Trendline ที่กำหนดเท่านั้น ส่วนสำคัญของการเทรดด้วยเทรนไลน์คือ การกำหนดเทรนด้วย trendline อย่างไร

Trenline กำหนดอย่างไร


สิ่งแรกที่ต้องกำหนดก่อนคือ ลักษณะอย่างไรที่บอกว่า ราคากำลัง หรือไม่ทำเทรน ด้วยการดูจาก price chart ง่ายสุดให้ดูเรื่องของ swing highs/lows ที่เกิดขึ้น  หรือบางเทรดเดอร์ก็มีการใช้ Moving Average เพื่อกำหนดเทรนอัตโนมัติ หรือ Bollinger Bands ก็เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่นิยมกัน แต่ถ้าดูจาก price chart เลยง่ายและชัดเจนสุด แค่เข้าใจหลักรูปแบบและตรรกะที่อยู่เบื้องหลังว่าอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นเทรนลง สิ่งแรกที่ท่านต้องเห็นคือราคาต้องทำ Lower Low ได้ด้วยการเบรคแนวรับหรือ Support เริ่มที่เลข 1 ลงมาทำ Lower Low ได้ แล้วย่อตัวขึ้นไปทำ Lower High ได้ แล้วลงมาเบรค Low ที่เลข 2 หรือที่เป็น Support ก่อนนี้เป็นการทำ Lower Low ใหม่อีกตัว แล้วกลับขึ้นไปทำ Lower High เป็นการพัฒนา Swing แบบนี้ ดังนั้นการกำหนดเทรนจากรูปแบบ swings ที่อธิบายมาก็จะเป็นดังนี้ เทรนลง กำหนดด้วยราคาทำ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs ทางตรงกันข้ามสำหรับดูเทรนขึ้นคือ ราคาต้องทำ Higher Highs ตามด้วย Higher Lows ดังนั้นเมื่อท่านกำหนดเทรนด้วย Trendling line สิ่งที่ท่านต้องหาคือ พื้นที่ Highs หรือ Low อย่างน้อย 2 จุดขึ้นแล้วท่านก็ลากเส้น Trendline จาก 2 จุดนั้นเพื่อเป็นตัวกำหนดเทรน

Trendline บอกอะไร


สิ่งที่จำเป็นต้องเข้าใจ ไม่ใช่แค่ว่าดู swing highs/lows ที่เกิดขึ้น ท่านจำเป็นต้องเข้าใจตรรกะที่ทำให้ Highs/Lows เกิดขึ้นว่ามีผลต่อการกำหนดเทรน และยังบอกได้ว่าเทรนช่วงนั้นๆ แข็งพอที่จะเทรดหรือเปล่า สิ่งสำคัญของขั้นตอนการทำเทรน ที่เราใช้ Trendling เพื่อตีประกอบคือ ราคาเบรค ถ้าเป็นเทรนขาขึ้นราคาก็เบรคแนวต้านหรือ Resistance ถ้าเป็นเทรนขาลงราคาก็เบรคแนวรับหรือ Support  เช่นอย่างภาพประกอบหลังจากราคาขึ้นไปทำ High เพราะราคาเบรคขึ้นไป แต่ราคาลงมาเบรคแนวรับหรือ Support ที่เลข 1 มาถึงแนวรับด้านล่างอีก แล้วเด้งขึ้นไปนิดหน่อย แต่ไม่สามารถเกินจุดที่ราคาเบรคลงมาได้ แล้วราคาดันลงมา ราคาสามารถทำ Lower High ให้เกิดขึ้นได้หลังจากที่ราคาได้ทำ Lower  Low ได้ก่อนที่การเบรคที่เลข 1 ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังเป็นเรื่องของออเดอร์ที่มาจาก Sellers และ Buyers จำนวนออเดอร์เกินทางไหน ราคาก็จะวิ่งไปทางนั้น แนะนำให้ดูลักษณะการเบรคและราคาปิดจากการเบรคประกอบกันเพราะมีผลต่อการคาดการณ์ความเป็นไปได้ที่จะตามมา เพราะข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก price structure ที่ราคาเบรค อย่างแรกเลย ทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้า หาที่เข้าเทรดได้ง่ายเพราะเห็น ความไม่สมดุลย์ชัดเจนจาก Momentum ที่เกิดขึ้น ก็จะหาโอกกาสเทรดตามทาง Momentum นั้นๆ อย่างที่สอง เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดก่อนราคาจะเบรคลงตรงข้ามกับทางที่พวกเขาเปิดเทรด ก็จะกลายเป็น trapped traders และที่สำคัญความกดดันที่เกิดขึ้นจาก price structure ที่ราคาเบรคด้วย Momentum ถ้าราคากลับมาพื้นที่ที่พวกเขาเปิดแล้วไม่ไปต่อ การออกโดยได้กำไรแต่น้อยหรือเสียนิดหน่อยคือตัวเลือกที่ดี ถ้าราคาเปิดเผยว่าไม่ไปต่อ ทั้งเทรดเดอร์รอเข้าตลาด และเทรดเดอร์กลุ่มที่เป็น Traped traders ก็รอดู price structure ที่จุดเดียวกัน อาจมีการดู price action ประกอบ เช่น Pin Bar หรือ Engulfing Bar ที่บอกชัดเจนว่าราคาจะไม่ไปต่อ เลยทำให้การตี trendline จากจุดพวกนี้ สามารถคาดหวังแนวรับหรือแนวต้านได้ง่าย ช่วยให้หาจุดเข้าเทรดได้ง่าย

เทรด trendline เมื่อไร


เมื่อกำหนดเป็นคำถามต่อมาคือจะเปิดเทรดเมื่อไร  หลักการเทรดด้วย Trendline เป็นการเทรดตามเทรน ดังนั้นเมื่อกำหนดเทรนเป็น เทรดเมื่อราคาย่อตัวกลับมาเทสหรือ Pullback หรือ Corrective move ตรงพื้นที่แนวรับหรือแนวต้านที่กำหนดจาก Trendline จากตรรกะที่อธิบายมาเรื่องของการเบรคทำไมสำคัญ เลยแนะนำให้เพิ่มตัวแปรเข้าไปอีกตัวเมื่อจะทำการเทรด คือเมื่อเทรดจาก Trendline ที่กำหนดขึ้นมา ควรเห็นราคาได้ทำ New high หรือ New Low ก่อนเพราะท่านจะได้ความเป็นไปได้จาก price structure ใหม่ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรด ก็จะได้มั่นใจว่าได้เทรดตาม Momentum หรือ Impulsive move และเทรดที่เป็น trapped traders ที่เกิดขึ้นตอนราคาเบรค ก็เจอเงื่อนไขที่กดดันพวกเขาชัดเจน โอกาสที่พวกเขาจะออกจากการเทรดก็มีสูง สำหรับ Trade setup ที่เกิดขึ้นยังเป็นพื้นที่กำหนด Stop loss และ Take profit ที่ชัดเจนด้วย

ตัวอย่างภาพประกอบ ดูการเทรดตาม Trendling ที่ตีขึ้นมา หลังจากที่ราคาได้เบรคแนวต้านหรือ High ก่อน ขึ้นไปทำ Higher High ใหม่ ย่อตัวลงมา ตัวที่กำหนดแรกเป็น Momentum ที่ดันขึ้นมาแรงๆ แล้วเริ่มมากำหนด Low ที่ชัดเจนได้ การกำหนดเทรนที่มีการเบรคประกอบ ทำให้เห็นจุดจำกัดความเสี่ยงชัดเจนหรือ stop loss และการเบรคทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่าข้างที่เปิดเทรดราคาจะดันไปต่อ เพราะ price structure ที่เกิดขึ้นล่าสุดส่งผลต่อเทรดเดอร์ที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่กลายเป็น trapped traders ตอนราคาเบรค โอกาสที่จะทำให้เกิดความไม่สมดุลย์อีกรอบก็มีมากขึ้น เลยทำให้ trade setup ที่กำหนดด้วย Trendline ลักษณะแบบนี้มีโอกาสความเป็นไปได้สูงขึ้นด้วย