กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ความเคลื่อนไหวของสถาบันการเงินและธนาคารกลาง

  • 0 replies
  • 1,088 views
ความเคลื่อนไหวของสถาบันการเงินและธนาคารกลาง

16 มี.ค.63

1. ธนาคารกลางสหรัฐฯ—Fed
หลังจาก Fed ลดดอกเบี้ยลงจนเหลือ 0% รวมทั้งซื้อสินเชื่อค้ำประกันอสังหาริมทัพย์ (Mortgage-Backed Securities—MBS) เป็นมูลค่า 700,000 ล้านดอลล่าร์ และขยายมาตรการให้สินเชื่อ (เช่น ลดอัตราเงินสดสำรองจนเหลือศูนย์ และปรับอัตราคิดลดของดอกเบี้ยกู้ยืมลงเหลือ 0.25%) นายเจโรม เพาเวลล์ (Jerome Powell) ประธาน Fed ยังได้แถลงชี้แจงถึงความไม่เหมาะสมของการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ รวมทั้งแจ้งว่าขณะนี้ยังไม่มีนโยบายซื้อสินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มเติม ที่อยู่นอกเหนืออำนาจทางกฎหมายของ Fed อย่างไรก็ดี นายสตีเฟ่น มนูชิน (Stephen Mnuchin) รมว.คลังสหรัฐฯ เปิดเผยว่าหากจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออื่นมากกว่าที่ Fed มีอำนาจอยู่ ก็จะต้องนำประเด็นเข้าสู่การพิจารณาของสภาคองเกรสต่อไป

2. ธนาคารกลางแคนาดา—BOC
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา BOC ประกาศลดดอกเบี้ยลงเหลือ 0.75% ตามคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งประกาศใช้มาตรการรับซื้อตั๋วแลกเงินของธนาคาร (Banker's Acceptance Purchase Facility—BAPF) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ภาคธุรกิจในประเทศ นอกจากนี้ ราคาเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่ออัตราขยายตัวของ CPI ประจำเดือน ก.พ.63 รวมทั้งดัชนีที่เป็นตัวชี้วัดอื่นๆ ของ BOC ซึ่งจะประกาศในวันพุธนี้ (18 มี.ค.63) ส่วนดัชนีค้าปลีกจะมีการรายงานในวันศุกร์ (20 มี.ค.63)

3. ธนาคารกลางญี่ปุ่น—BOJ
BOJ ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ -0.1% ตามเดิม และเลื่อนการประกาศนโยบายการเงินในวันที่ 18-19 มี.ค. มาเป็นวันนี้ โดยมีแนวโน้มที่ BOJ จะใช้นโยบายปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจาก COVID-19 และนโยบายขยายวงเงินรับซื้อ ETF (Exchange Traded Fund)

4. ธนาคารกลางนอร์เวย์—Norges Bank
นอร์เวย์ลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5% เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว พร้อมทั้งประกาศใช้มาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง โดย Norges Bank มีกำหนดจะประชุมบอร์ดบริหารในวันที่ 19 มี.ค.63 โดยมีคาดการณ์ว่าแผนปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในเดือน ก.ย.63 อาจเกิดขึ้นเร็วกว่าเวลาที่กำหนด (แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้)

5. ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์—SNB
นักเศรษฐศาสตร์ครึ่งต่อครึ่ง คาดว่า SNB จะปรับลดดอกเบี้ยจาก -0.75% เป็น -1.0% ในสัปดาห์นี้

6. ธนาคารกลางนิวซีแลนด์—RBNZ
RBNZ ลดอัตราดอกเบี้ย OCR ลงเหลือ 0.25% และประกาศว่าจะใช้อัตราดังกล่าวไปเป็นระยะเวลา 12 เดือน (ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจาก Citigroup คาดว่า RBNZ จะปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวเศรษฐกิจ และประกาศนโยบายใหม่ใน 17 มี.ค.63) 

7. ธนาคารกลางออสเตรเลีย—RBA
RBA มีกำหนดแถลงการณ์ในคืนนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและให้สอดคล้องกับการปรับตัวของธนาคารกลางแห่งอื่นๆ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Citigroup คาดว่า RBA จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ก่อนการประชุมในเดือน เม.ย.63 และจากนั้นจะประกาศใช้นโยบาย QE (ซึ่งจะต้องติดตามการแถลงอย่างเป็นทางการของ RBA ใน 19 มี.ค.63 นี้)   

8. ธนาคารกลางบราซิล—BCB
มีคาดการณ์ว่า BCB อาจปรับลดดอกเบี้ย Selic rate จาก 4.25% เหลือ 4%

9. ธนาคารกลางแอฟริกาใต้—SARB และธนาคารกลางแห่งตุรกี—CBRT
จะประกาศอัตราดอกเบี้ยใหม่ในวันพฤหัสบดีนี้ (19 มี.ค.63)   



------------------------------------------------
เทรดกับ Tickmill : http://bit.ly/MoveToTickmillTR
สนับสนุนข้อมูลโดย : http://bit.ly/TickmillFacebookTR
พบกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคผ่าน TradingView http://bit.ly/tradingviewTR
------------------------------------------------
การเทรด CFDs ด้วยมาร์จิ้นมีความเสี่ยงสูง การขาดทุนสามารถสูงกว่าวงเงินลงทุน ผู้ลงทุนต้องแน่ใจว่าสามารถเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมด