กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Pullback และ Throwback คืออะไร ต่างกันยังไง

  • 0 replies
  • 3,045 views
Pullback และ Throwback คืออะไร ต่างกันยังไง
« เมื่อ: 10, มีนาคม 2020, 09:07:53 PM »
Pullback และ Throwback คืออะไร ต่างกันยังไง

การหาจุดเข้าเทรดถือว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับเทรดเดอร์ นอกจากการหาพื้นที่ trade setup แล้ว รูปแบบการเคลื่อนไหวราคาที่เรียกว่า Pullback หรือ Throwback คือสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องการจะเห็นเพื่อหาจุดเข้าเทรด เพื่อจะได้เทรดตามเทรนหรือ Momentum ที่บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรด

Pullback และ Throwback คืออะไร


ทั้ง Pullback และ Throwback พูดแบบง่ายๆ คือการที่ราคาวิ่งกลับมาหาแนวรับ-แนวต้าน หลังจากที่ราคาได้เบรคไปแล้ว ดังนั้นส่วนประกอบสำคัญของการที่จะหา Pullback/Throwback คือต้องมีพื้นที่ที่เป็นตัวต้านทานหรือแนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand แล้วราคาเบรคจริง ไม่ใช่เบรคหลอกหรือ False Breakout  ส่วนประกอบที่จะบอกการเคลื่อนไหวว่าเป็น Pullback หรือ Throwback มี

•   แนวรับ-แนวต้านที่เป็นกำแพงหรือพื้นที่แนวต้านที่ราคาไปต่อได้ยาก อาจเป็น supply/demand หรือ swap level เรียกรวมกันว่าเป็น key level

•   ราคาได้เบรคพื้นที่นั้นๆ ต้องการเป็นเบรคจริงไม่ใช้เบรคแบบหลอกหรือที่เรียกว่า false break หรือแค่เป็น liquidity hunt ดังนั้นต้องดูรูปแบบที่ราคาเบรคประกอบ การเคลื่อนไหวที่ทำให้การเบรคเกิดขึ้น ควรเป็น momentum หรือ Impulsive move อย่างชัดเจน เพราะตรรกะเรื่องออเดอร์ที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากเกิด เมื่อราคาเกิดและจบ Pullback หรือ Throwback จะทำให้ราคาวิ่งได้ง่ายขึ้นด้วย

•   ราคา Pullback หรือ Throwback กลับมาหาพื้นที่ราคาเบรค หรือพื้นที่ swap level ถ้าเป็น Pullback ราคาเบรค Support หรือแนวรับ ก็ Pullback กลับมาหาจุดที่เบรคหรือกลายมาเป็น Resistance หรือแนวต้าน  หรือถ้าเป็น Throwback ราคาเบรค Resistance หรือแนวต้าน ก็ย่อตัวกลับมาหรือ Throwback มาหาจุดที่เบรคหรือที่กลายมาเป็น Support หรือแนวรับ


Pullback และ Throwback เกิดขึ้นเพราอะไร


การเกิด Pullback และ Throwback เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเพราะราคาไม่ได้วิ่งข้างเดียว และความไม่สมดุลย์ระหว่างออเดอร์เกิดขึ้นตลอด เพราะเงื่อนไขตลาดเรื่องของการทำกำไรและการเข้าเทรด  ตลาดฟอเรกเป็นการเทรดแบบ margin trading เมื่อจะเปิดเทรด ต้องการออเดอร์ตรงข้ามเสมอ ณ ราคาและเวลาที่เปิดเทรด ถ้าออเดอร์ตรงข้ามไม่มี ราคาก็จะไปหาออเดอร์ตรงข้ามที่ราคาต่อไป นั่นคือความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นระหว่างออเดอร์จาก sell และ buy  เลยทำให้ราคาขึ้นหรือลง หรือแม้แต่การออกจากตลาดก็ต้องการออเดอร์ฝั่งตรงข้ามเสมอ และการออกจากตลาดก็เป็นการเปิดเทรดออเดอร์ฝั่งตรงข้ามด้วย และการกำไรก็เป็นผลต่อเนื่องกันหลังจากการเทรดเกิดขึ้น จับคู่ออเดอร์ตรงกันข้าม กำไรเกิดจากที่ราคาวิ่งไปทางที่ท่านเทรดหรือความไม่สมดุลย์มากกว่า ขณะที่ท่านกำไรอีกฝั่งที่จับคู่ออเดอร์ท่านตอนเปิดเทรด ก็ต้องติดลบด้วยพร้อมๆ กัน และที่สำคัญการที่ราคากลับมาพื้นที่ (retracement) แนวรับหรือแนวต้าน ยังลด limit orders ที่พื้นที่ตรงนั้นๆ ไปในตัวเลย พอราคากลับมาอีก ออเดอร์ที่เป็นตัวต้านทานมีการใช้ไป ถ้าไม่มีเข้าใหม่มามากพอ โอกาสที่ราคาดันมาจาก market order เพราะความไม่สมดุลย์ก็จะทำให้เกิดการเบรคขึ้นได้ นอกจากนั้นพื้นที่เหนือ resistance หรือต่ำกว่า support ยังเป็นพื้นที่ที่ liquidity เกิดจาก stop loss ออเดอร์ของเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาด และ buy/sell stop ของเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าตลาดด้วยหลักการเทรด Breakout ด้วย

Pullback และ Throwback กับ Corrective move


ต่อเนื่องจากที่ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังที่ทำให้เกิด Pullback/Throwback ต้องมองจาก price structure ที่เกิดขึ้นก่อนว่าอะไรที่ทำให้เกิด จะเห็นว่าหลังจากราคาเบรคพื้นที่สีเหลือง เป็นการยืนยันเทรนขึ้นอีกรอบเทรนจะไปต่อ เทรดเดอร์ส่วนมากก็จะหันมาเปิด buy เป็นหลักเพื่อเทรดตามเทรน จะเห็นว่าราคาทำ Higher Highs ขึ้นไปได้ต่อเนื่อง แต่การเบรคขึ้นไปไม่มาก มีแต่ส่วนสุดท้ายที่เบรคขึ้นไปแรง แต่ราคาลงมาไม่กี่บาร์ กลายเป็นว่ามีการล่า liquidity ที่พื้นที่ Highs เป็น Double Tops พอราคาลงมาอีกรอบ เบรคลงล่างต่อเนื่อง การเบรคตัวนี้สำคัญต่อเนื่องจาก False Break ข้างบนเพื่อล่า stop ราคาลงมาด้วย Impulsive move หรือ Momentum ทำ Lower low ได้ใหม่เป็นการยืนยันการเข้าเทรด เลยเป็นการยืนยัน False Break ด้านบนด้วย ว่าจุดประสงค์เพื่อการเข้าเทรดของขาใหญ่ พอราคาเกิด impulsive move สิ่งที่เห็นส่วนมากจะเป็นการกลับมาเทสหรือ corrective move ส่วนที่เรียกว่า corrective move ในส่วนประกอบนี้คือ Pullback และ Throwback นั่นเอง

จุดเปิดเทรด Pullback และ Throwback

เมื่อเข้าใจเรื่องของ price structure ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่เกิด impulsive move ที่เป็นส่วนสำคัญของ Pullback และ Throwback    เพราะทำให้ราคาเบรคพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน การเทรดการกลับมาเทสทั้งในรูปแบบ pullback หรือ throwback ก็จะอิงตรงพื้นที่เบรคเป็นหลัก เช่นการเทรดแบบราคาเบรคแนวรับ-แนวต้าน ก็จะมองหาพื้นที่เป็น swap level หรืออาจใช้ Fibonacci Retracements ประกอบ หรือมากกว่านั้นเป็นการใช้ technical analysis หลายๆ อย่างยืนยันกันเองด้วยหลักการแบบ confluence ก็จะทำให้หาว่าราคาจะจบ corrective หรือจบ pullback หรือ throwback หรือยังแล้วหาจุดเข้าเทรด


เช่นตัวอย่างด้านบนประกอบ เป็นการเทรดด้วยการใช้ confluence หลายๆ อย่าง อย่างแรกที่ S/R break ลงมาที่เป็นส่วนสำคัญของ Pullback และ Throwback แล้วมองเรื่องออเดอร์ที่จะเกิดตามมา เช่น stop loss และ sell stop มองเรื่องของ trapped traders ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ Fibonacci Retracements ช่วยในการหาพื้นที่เข้าเทรด และมองเรื่องพื้นที่ราคาเบรคเป็น swap level และยังเป็นพื้นที่เดียวกันกับ Round number ด้วย เป็นตัวช่วยหลายๆ อย่างในการกำหนดความเป็นไปได้ในการเปิดเทรด