กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

Trading Central คืออะไร เทคนิคเทรด Forex ทำกำไรด้วยซิกแนลจาก Trading Central

  • 0 replies
  • 1,440 views
Trading Central คืออะไร เทคนิคเทรด Forex ทำกำไรด้วยซิกแนลจาก Trading Central

เดี๋ยวนี้หลายๆ โบรดเกอร์ได้นำเสนอเครื่องมือเพื่อลูกค้าตัวเองที่เป็นเทรดเดอร์เพื่อให้ข้อมูลในการเทรด ทั้งเรื่องของข้อมูลข่าวสาร วิเคราะห์ข่าว การวิเคราะห์ technical analaysis ที่น่าจะเกิดแต่ละวัน หรือแม้แต่การร่วมมือกับ Trading Central ที่พัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ด้าน technical มาให้ลูกค้าใช้ฟรี ไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ข้อดีคือลูกค้ามีเครื่องมือดีๆ ในการช่วยให้ข้อมูลการเทรด หรือแม้กระทั่งหา trade setup ได้ง่ายและเร็วแบบอัตโนมัติด้วยสำหรับเทรดเดอร์ ข้อดีสำหรับโบรกคือ ก็จะเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเทรดมากขึ้น และอยู่กับตัวเองนานไป ยิ่งลูกค้าเทรดมาก ยิ่งมีรายได้มากซึ่งมาจากค่าคอมมิสชั่นในการเทรด

Trading Central คืออะไร


ถ้าดูข้อมูลที่เว็บ www.tradingcentral.com จะเห็นว่าเป็นบริษัทที่เสนอการวิจัยและการวิเคราะห์ตลาดทั้งสำหรับเทรดเดอร์และโบรกเกอร์  แต่ที่จะกล่าวในที่นี้คือส่วนที่โบรกเกอร์ได้ร่วมมือเอามาเสนอให้ลูกค้าฟรี ก็จะเป็นส่วนของ Technical Analysis ส่วน Analyst Views โดยส่วนของเครื่องมือที่มาจาก Trading Central มีทั้งเวอร์ชั่นสำหรับ Metatrader 4 และ 5  และที่เป็นเว็บเวอร์ชั่น  ในส่วนที่ติดตั้งใน Metatrader ก็จะมี 2 ส่วนหลักๆ คือที่เป็น Expert Advisors (EA) ที่เป็น Forex Featured Ideas และส่วนที่เป็น Indicators (มี Analyst Views, Adpative Candlesticks, Adaptive Divergence Convergence ChartPriceMarkets, Adaptive Divergence Convergence Lines, และ Adaptive Divergence Convergence Oscillators)   ส่วนที่จะกล่าวในที่นี้คือ Forex Featured Ideas, Analysist Views และส่วนที่ดูทางเว็บ

ส่วนแรกเป็นการรัน EA ในส่วนของ Featured Ideas ก็จะเปิดหน้าเว็บผ่านทาง Metatraders แล้วเสนอว่ามีคู่เงินไหนบ้างที่มีสัญญานด้าน technical analysis ชัดเจน


เช่นเปิดชาร์ตด้วย Featured Idea คู่เงิน GBPAUD ชาร์ต M5 บอกว่าโอกาสไปทางลงหรือ Bearish หลักการทำงานก็จะเป็นการสแกนรูปแบบ price action ในที่นี้คือ Hanging Man แล้วใช้ Stochastics เป็นตัวยืนยัน ในที่นี้เนื่องจากเป็น M5 เงื่อนไขการเทรดนี้ถ้าเป็นสวนเทรนอาจเป็นการ scalping สั้นๆ ตอนราคาทดสอบ ให้ดูชาร์ตจาก Timeframe ใหญ่ขึ้นประกอบ สิ่งที่ได้จาก Technical analysis ในที่นี้คือเงื่อนไขการเทรดที่เกิดขึ้นแต่ละ timeframe และมีการยืนยันด้วย อินดิเคเตอร์ เครื่องมือนี้ก็จะช่วยสแกนหาโอกาสการเทรดที่เกิดขึ้นว่าช่วงเวลานั้นๆ มีความเป็นไปได้จากคู่เงินไหนบ้าง เช่นเทรดเดอร์ที่เทรดเทรนจาก setup อิงจาก M30 หรือ H1 เมื่อหา trade setup เจอรอจังหวะการเข้าเทรด ก็จะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้ได้ หรือถ้าไม่มีเวลาสแกนตลาดเครื่องมือนี้ก็จะช่วยสแกนให้ได้เร็วขึ้น

อีกส่วนเป็น Analyst Views จะเป็น technial analysis ผ่านทางอินดิเคเตอร์ลากใส่ชาร์ตหรือคู่เงินที่ต้องการจะเปิดเทรด ส่วนของเครื่องมือนี้ก็จะหาพื้นที่แนวรับ-แนวต้านจากหลักการทำงานของ Pivot ให้ และก็จะแนะนำว่าช่วงนี้เมื่อดูจาก Pivot ประกอบเทรนข้างไหนคุมตลาดอยู่และควรจะเทรด จากจุดแนวรับ-แนวต้าน และกำไร พร้อมทั้งกำหนด stop loss และ take profit จาก pivot ตรงไหนบ้าง หลักการเทรดก็จะเริ่มการเทรดเมื่อเทรนเริ่มเทรดตามเทรน เทรดไปหาพื้นที่ที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน หรือเมื่อราคาถึงจุดแนวรับ-แนวต้าน เทรดราคาเด้งออกจาก หรือถ้าราคาเปลี่ยนข้างให้เทรดอย่างไร


เทรดเดอร์ที่เทรดด้วย technical analysis ด้วยการใช้หลักการจาก indicators ก็จะเข้าใจหลักการเทรดแนวรับ-แนวต้านจาก pivots ที่เกิดขึ้นแต่ละวัน เครื่องมือก็จะมีเรื่องเทรนสำหรับ Intraday หรือการเทรดรายวันว่าเป็นอย่างไร ตามเครื่องมือก็บอกว่าเป็นขาขึ้นหรือ Bullish และ pivot ที่ตรงไหนตาม timeframe ที่ดู ที่เป็นจุดเริ่มว่าจะเข้าเทรด แล้วก็ดูการเคลื่อนไหวของราคาประกอบกับจุด pivots ต่างๆ ว่าวิ่งสัมพันธ์กันอย่างไร ที่จะบอกว่าน่าจะเทรดทางไหนตาม timeframe ที่ดู หรือถ้าเทรนเปลี่ยนว่าดูตรงไหน และน่าจะเข้าเทรดเปลี่ยนข้างตรงไหน พร้อมทั้งจุด take profit หรือ target ที่พื้นที่ตรงไหน  เมื่อท่านเปลี่ยนคู่เงิน เครื่องมือก็จะคำนวณ pivots แต่ละค่าเงินให้พร้อมทั้งข้อมูลส่วนอินดิเคเตอร์อื่นประกอบตรงส่วนคอมเมนท์

ส่วนสุดท้ายเป็นการดูผ่านเว็บ การนำเสนอข้อมูลก็จะแบบเดียวกันที่ผ่าน Metatrader ส่วนอินดิเคเตอร์ แต่จะให้รายละเอียดมากกว่า อาจเป็นเพราะวิธีการนำเสนอผ่านเว็บด้วย โดยจะแบ่งสินค้าให้เทรดเป็นหมวดหมู่ Indices, Equidites, Forex, Commodities พร้อมด้วย trade setup ที่สแกนเจอว่าเจอที่สินค้าตัวไหนบ้าง ผ่าน 3 timeframe มี M30 D1 และ W1 ถ้ามองก็จะเป็นการเทรดระยะสั้นหรือ day trading หรือ position/swing ผ่านการมอง W1 หรืออาจประยุกต์เข้าด้วยกัน เช่น Day trading ก็มองหา trade setup จาก D1 แล้วหาจังหวะเข้าจากข้อมูลจาก Trading Central ด้วย M30



ยกตัวอย่างเช่น การดู tade setup จากส่วนของ Forex คู่เงิน AUDUSD ดูส่วนอินดิเคเตอร์ที่ทาง Trading Central ใช้ประกอบ ในการกำหนดเพื่อสแกนหา trade setup มี MA 20, Bollinger Bands, MA 50, RSI, Pivots  การใช้งานอินดิเคเตอร์ เช่น MA, Bollinger Band ใช้กำหนดเทรนและ votalitity ส่วน  Pivots ใช้คำนวณหาพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน หรือ support/resistance, ส่วนของ RSI เป็นตัวบอก oscillator ยืนยันการเคลื่อนไหว และไว้บอกข้อมูลเรื่องของ Overbought และ Oversold
ข้อดีของการใช้ Trading Central อาจสรุปได้ดังนี้คือ ท่านไม่จำเป็นต้องมาสแกนคู่เงินหรือสินค้าต่างๆ ด้วยเงื่อนไขที่อินดิเคเตอร์ประกอบทั้งที่เป็นตัวกำหนดเทรน ตัวหาพื้นที่แนวรับ-แนวต้าน หรือหาว่าราคากำลังเด้งหรือเปล่าด้วย Oscillator หรือเป็นการหาจังหวะเทรดสวนเทรนด้วย Overbought/Oversold ถ้าท่านเข้าใจว่าอินดิเคเตอร์พวกนี้ทำงานอย่างไร ถ้าท่านเปิดผ่าน Metatrader เช่น Featured Forex Indexs ก็มีหลายคู่ที่สแกนให้ หรือการสแกนผ่านด้วยอินดิเคเตอร์ก็จะเห็นส่วน privots ที่ช่วยหาแนวรับ-แนวต้านแต่ละคู่ได้ง่าย แต่ถ้ามองผ่านเว็บท่านก็จะเห็นส่วนที่สแกนมากขึ้น คือเลือกลงรายละอียดแค่ละคู่ที่ท่านต้องการเทรดได้ ว่าข้อมูลจาก Trading Central ในการกำหนด trade ช่วยการวิเคราะห์ของท่านแล้วแต่ว่าเป็นการเทรดตามเทรนหรือสวนเทรน ซึ่งทาง Trading Central ก็จะมีแนะนำให้