กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

ทำไมราคาถึงวิ่งเข้าหา price levels เสมอ ?

  • 0 replies
  • 845 views
ทำไมราคาถึงวิ่งเข้าหา price levels เสมอ ?
« เมื่อ: 27, กุมภาพันธ์ 2020, 08:04:02 PM »
ทำไมราคาถึงวิ่งเข้าหา price levels เสมอ ?

เมื่อมองชาร์ตเปล่าสิ่งที่เห็นเสมอคือราคาก็จะวิ่งไปจุดที่เคยมีร่อวรอย และมีการโต้ตอบไม่ว่าจะเป็นการเบรคหรือจะเป็นการเด้งกลับก็ตามที แต่สิ่งสำคัญคือจะเห็นราคาโต้ตอบที่ price level เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแนวรับ-แนวต้าน supply/demand หรือ swap level เรียกรวมๆ กันว่า key levels เหตุผลไม่ใช่เพราะราคาที่ levels พวกนี้โต้ตอบดี แต่เป็นเพราะขาใหญ่ปั่นราคาหรือจัดการกับ price structure เพื่อจุดประสงค์ในการเข้าเทรดและในการออกเทรด

ขาใหญ่สนใจแค่ liquidity เมื่อจะเทรดหรือออกเทรด


เหตุผลหลักๆ ที่อยู่เบื้องหลังว่าทำไมราคาถึงได้วิ่งไปหาพวก price levels เสมอนั่นเป็นเพราะเรื่องของ liquidity  เพราะ Liquidity ก็จะมีเหตุผลทำให้เกิดขึ้นมากแถวพื้นที่บริเวณ price level อย่างแรกเลย เมื่อเทรดเดอร์เห็นว่าเป็นพื้นที่ key levels สิ่งที่เห็นเกิดขึ้นในตลาดประจำคือราคามักจะวิ่งไปหาเสมอ เพราะอย่างแรกเลยเป็นการกระตุ้นให้เทรดเดอร์ที่รอเข้า ก็จะเห็นจุดเข้าเทรด ส่วนเทรดเดอร์ที่ถือ positions ที่อยู่ในตลาด ก็จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ก็จะเริ่มจัดการ position โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคาวิ่งสวนทางที่พวกเขาเทรด และอย่างที่สองคือเรื่องของ liquidity ที่เกิดขึ้นตามมา เมื่อ พื้นที่พวกนี้ดึงดูดหรือกระตุ้นให้เทรดเดอร์มาเข้าเทรดหรือจัดการ positions ที่ถืออยู่ในตลาด ก็จะทำให้ Liquidity เพิ่มมากขึ้นทันที เป็นสิ่งที่ขาใหญ่ต้องการ เพราะการเทรดตลาดฟอเรกเป็น margin trading ไม่ว่าจะเปิดเทรดเพื่อเข้าตลาดหรือปิดกำไรหรือขาดทุนเพื่อออกจากตลาด ก็จะเป็นการเปิดออเดอร์ตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่  การที่ราคาวิ่งไปหาหรืออาจจะได้ยินคำว่าราคาวิ่งหา liquidity เสมอ เพราะการกระตุ้นทำให้ขาใหญ่เห็นว่าพื้นที่ไหนที่จะมี Liquidity มากได้ เพราะถ้าพวกเขาจะเข้าเทรด พวกเขาก็ต้องการออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่มากพอกับจำนวนที่พวกเขาเข้าเทรด สิ่งที่เห็นเป็นประจำก็คือราคาไม่ได้แค่ไปถึง key levels เท่านั้น แต่มักจะมีการเบรคด้วย แล้วค่อยกลับลงมาหลังจากที่ขาใหญ่ได้เข้าเทรด เมื่อมองที่ชาร์ตจะเห็นว่าราคาวิ่งเกินไปก่อน แล้วค่อยกลับมา เหตุผลคือเทรดเดอร์ที่เข้าเทรดก่อนตรงพื้นที่ Key levels ก่อนที่ราคาจะเบรค ก็จะมีการกำหนด stop loss เหนือหรือต่ำกว่าพวก key levels พวกนี้ด้วย stop loss พวกนี้ยังเพิ่ม liquidity เข้ามาอีกด้วย

ราคาเบรคก่อนแล้ววิ่งสวน


จะเห็นว่าทันทีที่ liquidity ที่ขาใหญ่ต้องการเพื่อเข้าเทรด พวกเขาได้เข้าเทรดแล้ว สิ่งที่เห็นคือราคาก็จะวิ่งสวนอย่างรวดเร็วและไปง่ายด้วย ถ้าเราเข้าใจหลักการที่ว่าขาใหญ่ใช้ประโยชน์อย่างไรกับการเทรดพวก key levels แบบนี้ เราจะเห็น trade setup ที่แบบมี low risk/high reward ได้ง่ายขึ้นมาก ดูที่เลข 1 2 และ 3 ราคาไม่ได้แค่กระตุ้นให้เทรดเดอร์เทรดตามไปเพื่อหา key levels ยังมีการล่า stop loss หรือ liquidity hunt/stop hunt เพื่อใช้ประโยชน์จาก liquidity ที่จะมาจาก stop loss พวกนี้ด้วย เมื่อมองจากมุมการทำงานของตลาด จากการที่รายย่อยมองว่าเป็น stop hunt เกิดขึ้น แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นเงื่อนไขที่ขาใหญ่นิยมใช้เพื่อเข้าเทรดที่ราคาที่ดีกว่า เพราะเข้าใจการทำงานของตลาดและสภาพจิตของรายย่อยเมื่อเห็น price level ว่าจะถูกกระตุ้นให้สนใจอย่างไร

Liquidity ที่ price level

เมื่อเข้าใจว่า Liquidity ถูกทำให้เพิ่มมากขึ้นอย่างไร และเมื่อ key levels ชัดเจน และมีการดันราคาไปด้วย เพื่อกระตุ้นให้รายย่อยอยากเทรดหรือจัดการการเทรดอย่างไร วิธีการเทรดที่มีความเสี่ยงน้อยก็คือ เมื่อเห็นว่าขาใหญ่เข้าเทรดหลังจากที่มีการล่า liquidity และดันราคาสวนอย่างเปิดเผย หรืออาจใช้วิธีการมองตลาดแบบขาใหญ่เข้าเทรดด้วยเงื่อนไขอะไรเพราะเมื่อขาใหญ่เข้าเทรดแล้ว พวกเขาจะไม่ปล่อยให้ราคาวิ่งสวนไปได้ และที่สำคัญแม้ว่า ขบวนการเข้าเทรดตอนสะสม positions ร่องรอยการเปิดเทรด อาจไม่เปิดเผยว่าพวกเขาจะเทรดทางไหน แต่เมื่อเกิดการล่า Liquidity ประกอบ จะเป็นข้อมูลสำคัญที่บอกว่าพวกเขาเข้าเทรดตรงไหน

เมื่อเข้าใจว่าขาใหญ่เทรดอย่างไร ปั่นตลาดอย่างไร เพื่อประโยชน์ของพวกเขา เพื่อการเข้าเทรดหรือเร่งราคาไปต่อด้วยการใช้ Liquidity ที่อยู่ในตลาดจะทำให้เข้าใจและรู้ว่า ทำไม price levels จึงมักจะดึงราคาไปหาเสมอ ด้วยหลักการมอง แบบนี้ ก็จะรวมไปถึงการเทรดแบบ Patterns ต่างๆ เช่น Head and Shoulders, Double Tops, Double Bottoms, หรือ Support/Resistance หรือ Fibonacci levels ที่บอกการย่อตัวเพื่อเทรดตามเทรน เพราะต้องไม่ลืมว่าหลักการทำกำไรและออเดอร์ทำงานอย่างไร การที่จะเปิดเทรดได้ ณ ราคาที่ต้องการ ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้าม ณ ราคาและเวลาที่ต้องการ สำหรับรายย่อยอาจจะไม่เห็นความสำคัญตรงนี้เพราะมี Liquidity มากพอ แต่ถ้าเป็นขาใหญ่พวกเขาต้องการ Liquidity ที่มากพอ และก็ต้องมั่นใจด้วยว่าจะเข้าเทรดด้วยความปลอดภัยได้ที่บริเวณพื้นที่ไหนด้วย