กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การเทรด Forex เทรด ทองคำ ด้วยข้อมูลจาก Trapped Traders

  • 0 replies
  • 970 views
การเทรด Forex เทรด ทองคำ ด้วยข้อมูลจาก Trapped Traders
« เมื่อ: 19, กุมภาพันธ์ 2020, 07:43:19 PM »
การเทรด Forex เทรด ทองคำ ด้วยข้อมูลจาก Trapped Traders

แม้ว่าการเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ เราไม่อาจบอกได้แน่นอนว่าราคาจะไปทางไหน เพราะเมื่อเปิดเทรดแล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่การที่เรารู้และเข้าใจว่าชาร์ตเปล่าที่เกิดขึ้นบอกอะไรบ้าง เราก็พอจะคาดการณ์เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ที่มีผลต่อการเคลื่อนของราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ระดับหนึ่ง ความเป็นไปได้ของ trade setup ที่เรากำหนดเพื่อจะเข้าเทรดก็จะเพิ่มมากขึ้นไปได้ โอกาสที่จะจบลงด้วยการปิดทำกำไรก็มีสูงขึ้นด้วย

Trapped Traders คือเทรดเดอร์ประเภทไหน

นิยามง่ายสุด Trapped traders คือเทรดเดอร์ที่เปิดเทรดแล้ว position ที่ถืออยู่ติดลบ    เมื่อเทรดเดอร์เปิดเทรดทางใดทางหนึ่ง ด้วยการคาดการณ์ว่าราคาจะวิ่งไปทางที่เปิดเทรด แต่ไม่ได้เป็นแบบนั้น ราคากลับวิ่งสวนทางที่เปิดเทรด position ที่เปิดเทรด แต่เทรดเดอร์ยังเชื่อว่า ราคาจะกลับมาทางที่เขาเปิดเทรด เทรดเดอร์พวกนี้เรียกว่าเป็น Trapped Traders และเทรดเดอร์พวกนี้มักจะไม่มีการกำหนด Stop loss เข้ากับ positions ที่เปิดเทรด เพราะมั่นใจว่าราคาจะไม่วิ่งสวนทาง หรือถ้าสวนก็กลับมาเร็ว  ทางเดียวเท่านั้นที่พวกเขาจะปิดการเทรด ก็ต่อเมื่อมีอะไรบางอย่างหรือข้อมูลจากการเคลื่อนของราคาที่ทำให้พวกเขาเชื่อว่า ราคาจะไม่กลับมาทางที่พวกเขาเปิดเทรด

จะหา Trapped Traders จากการอ่านชาร์ตเปล่าอย่างไร


การที่จะหา Trapped traders พวกนี้ไม่ยาก ถ้าเข้าใจว่ารายย่อยเทรดอย่างไรและออเดอร์ทำงานอย่างไร อย่างแรกสุดเลยที่หาง่าย คือหาว่าสถานการณ์แบบไหนที่เทรดเดอร์รายย่อยมักจะเปิดเทรดเป็นหลัก  เทรดเดอร์รายย่อยส่วนมากก็จะถูกกระตุ้นให้อยากเทรดเมื่อเห็นราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งอย่างแรง เช่นเห็นแท่งเทียนยาวๆ แท่งเทียนสีไปทางเดียวกันไม่ว่าจะเป็น Bullish หรือ Bearish ก็ได้  เหตุการณ์แบบนี้ก็มักจะทำให้เทรดเดอร์รายย่อยเปิดเทรดตามมาเสมอ และส่วนมากก็จะเป็นผลจากการปั่นราคาของขาใหญ่เป็นหลัก เพื่อต้องการให้ออเดอร์ไปทางใดทางหนึ่งเพื่อจุดประสงค์ 2 อย่างคือปิดทำกำไรและเข้าเทรด แล้วแต่ว่าพวกเขาจะปั่นราคาเพื่อต้องการจะทำอะไร  และอย่างที่สองที่ต้องเข้าใจว่าออเดอร์ทำงานอย่างไร แท่งเทียนที่เกิดขึ้นเป็นผลของการเทรดที่เกิดขึ้นหรือเรียกกว่า trading transactions ที่เกิดขึ้นว่าช่วงราคาไหนบ้างของแต่ละช่วงเวลาแท่งเทียน transactions พวกนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการจับคู่ออเดอร์จาก 2 ข้างคือข้าง sell และ buy ที่ราคาเดียวกัน เช่นเมื่อท่านจะเปิด sell ที่ราคานั้น ต้องมี buy ที่ราคานั้นให้ออเดอร์ท่าน match and fill  (ก็จะมีส่วนต่างเรื่องของ spread เข้ามาประกอบระยะห่างเล็กน้อยที่ถือว่าเป็นต้นทุนการเทรดที่ต้องจ่ายให้กับทางโบรกเกอร์) แต่ละแท่งเทียนที่เกิดขึ้นบอกถึง transactions ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือเรียกว่าเป็น filled orders ว่าอยู่ตรงช่วงราคาไหนบ้างก็ว่าได้  หรือถ้ามองพื้นที่พวกนี้ใน มุมมองต่าง timeframe ก็จะเห็นเป็นแท่งเทียนที่มีหางยาวๆ


ตัวอย่างด้านบนที่บอกว่า filled orders หรือ trading transaction เพื่อแท่งเทียนบอกถึงการเทรดที่เกิดขึ้น และ ราคาลงมาด้วยแท่งเทียนยาวๆ ทางเดียวกัน ยิ่งมอง price structure ประกอบที่มาจากด้านบน ยิ่งกระตุ้นให้เทรดเดอร์รายย่อยอยากเปิด Sell เป็นหลักเพราะราคาทำเทรนลงมาอย่างต่อเนื่อง พอราคาเบรคอีกรอบเลยเป็นข้อมูลที่รายย่อยมองว่าเป็นไปได้สูงที่ราคาจะลงไปต่อ พอ trading transactions เกิดขึ้นเรารู้แค่มีการเทรดเกิดขึ้นจากทั้ง 2 ฝ่ายทาง sellers และ buyers เราไม่รู้ว่าเทรดเดอร์พวกนี้ด้านไหนจะเป็น trapped traders หรือเปล่าจนกว่าราคาได้เบรคขึ้นมาที่เลข 1 เทรดเดอร์ที่เปิด sell หรือถือ short positions ก็จะติดลบ และตามที่กล่าวมาด้านบน เทรดเดอร์พวกนี้ส่วนมากจะไม่กำหนด stop loss เพราะมั่นใจว่าราคาถึงแม้วิ่งสวนพวกเขาก็จะสวนระยะสั้น แล้วก็กลับมาเร็วทางที่พวกเขาเทรด พวกเขาจะออกเทรดก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์หรือข้อมูลที่ทำให้พวกเขามั่นใจว่าราคาจะไม่ไปทางที่พวกเขาเปิดเทรด พวกเขาก็จะออก ราคาก็เกิดอย่างที่พวก trapped traders คาดคือราคาวิ่งไปเกิน และก็ลงมาหาทางที่พวกเขาเปิดเทรด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ลงไปแล้วรีบกลับขึ้นมาอีกอย่างรวดเร็ว และปิดบนได้ ด้วยแท่งเทียน Pin Bar จะกลายมาเป็น Stop hunt หรือเปล่า นี่คือเหตุการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นกับสถานการณ์ positions ที่พวกเขาถืออยู่ หรืออีกพื้นที่ที่เลข 2 ก็เช่นเดียวกัน ถ้าดูเหตุการณ์ที่ตามมาจะทำให้ trapped traders พวกนี้ออก แสดงว่าเทรดเดอร์ที่อยู่ตรงข้ามกับพวกเขาใช่ขาใหญ่หรือเปล่า

Trapped traders กับระดับความเดือดร้อน

เมื่อเข้าใจว่า trapped traders แล้วและจะหาพื้นที่บนชาร์ตอย่างไรเป็นแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องดู คือเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขาเดือดร้อน ที่จำต้องออก เพราะการออกของเทรดเดอร์ที่เดือดร้อน ก็จะทำให้มี market orders ตรงข้ามที่พวกเขาเปิดเทรด ณ ราคาที่พวกเขาออก และจำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กันจำนวนวอลลูมการเทรดของ trapped traders ที่กองกันอยู่พื้นที่ๆ พวกเขาเดือร้อน ถ้ามีมาก ถ้าออกจากการเทรดก็จะทำให้มี market orders ออกมามาก ผลที่ตามมาคือทำให้ออเดอร์เกินกันได้ง่าย ทำให้ราคาวิ่งไปง่ายและเร็วได้เกิดขึ้น เช่นอย่างที่ยกตัวอย่างมา หลังจากที่ราคาดันขึ้นไปแล้วพวกเขากลายเป็น trapped traders ราคาลงมาหา อาจปิดออกเสียเล็กน้อยหรือได้กำไรนิดหน่อย แต่ถ้าไม่ได้ออกราคาเกิด stop hunt ที่ด้านล่าง หรืออย่างกรณีที่เลข 2 หลังจากที่พวกเขาผ่านช่วงกดดันหรือความเดือดร้อนจากการติดลบมาแล้วก็จะไม่ยอมให้เกิดอีก ถ้าเกิดข้อมูลที่พวกเขาเชื่อว่าราคาจะไม่ไปทางที่พวกเขาเปิดเทรด พวกเขาก็จะออก

หางแท่งเทียนกับ trapped traders


อีกรูปแบบหนึ่งที่อธิบายเรื่องของ trapped traders ที่ชาร์ตได้ดีคือ หางแท่งเทียนยาวๆ ส่วนมากจะเป็น Pin Bar หรือเป็น Engulfing Bar ใน timeframe ย่อยลงมาเมื่อมองต่าง timeframe หลักการเดียวกัน ตอนแรกราคาขึ้นไปด้วย Momentum อย่างเร็วและแรง เทรดเดอร์ก็จะรีบๆ เข้า แต่พอผ่านไปนิดเดียวราคาเริ่มวิ่งสวน เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตาม Momentum หรือแท่งเทียนยาวๆ เริ่มติดลบ เริ่มรู้ว่าโดนกระตุ้นให้เข้าเทรดทางนั้นๆ เพื่อขาใหญ่จะได้เข้าเทรดที่ราคาดีกว่า เลยจำต้องออกเพื่อจำกัดความเสี่ยง