กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เคล็ดลับการหาพื้นที่กำหนด Take profit อย่างไร ให้ดีที่สุด

  • 0 replies
  • 885 views
เคล็ดลับการหาพื้นที่กำหนด Take profit อย่างไร ให้ดีที่สุด

หลายๆ เทรดเดอร์เมื่อเปิดเทรดแล้วมีการกำหนด Take Profit น่าจะเจอเมื่อราคาไปทางที่ท่านเปิดเทรดแล้ว Position ที่ถืออยู่กำไร แต่ราคากลับไปไม่ถึงจุดที่กำหนดไว้และลงมาก่อน นานกว่าจะกลับไปชนทีพีที่กำหนด หรือกลับวิ่งสวนเลยก็มีบ่อย การกำหนดจุด TP แม้ว่าจะเป็นเรื่องแล้วแต่ความพอใจกำไรที่เกิดขึ้น แต่ราคาเมื่อวิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรดไม่ได้รู้ว่าท่านได้กำไรที่พอใจหรือเปล่า เพราะราคาหยุดเนื่องจากมีออเดอร์ตรงข้ามมาก ณ ราคานั้นๆ การที่เราเข้าใจตลาดและรู้ว่าทางที่ราคาจะวิ่งไปสามารถทำกำไรได้มากกว่า หรือหยุดตรงไหน ก็จะเปิดโอกาสให้เราทำกำไรได้มากกว่า และยังเป็นการเทรดด้วยการจัดการอารมณ์ได้ด้วย

ราคาวิ่งไปทางที่ง่าย หรือมีตัวต้านทานน้อยเสมอ


เมื่อท่านกำหนด trade setup เป็น 2 สิ่งที่ท่านต้องเห็นชัดเจนก่อนที่จะเปิดเทรดแต่ละออเดอร์ คือว่าจะกำหนด Stop loss และจะกำหนด Take profit ตรงไหน ถ้าเราเปิดเทรดทางไหนก็ต้องการให้ราคาวิ่งสวนได้ยากวิ่งไปทางที่เปิดเทรดได้ง่าย สิ่งที่ทำให้ราคาวิ่งไปทางไหนได้ยากหรือง่าย ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือออเดอร์ทางที่ราคาปัจจุบันวิ่งไป และออเดอร์ตรงข้ามที่อยู่แต่ละราคา ถ้าราคาตลาดที่มี market orders มากกว่า ออเดอร์ตรงข้าม (limit orders) ราคาก็จะวิ่งต่อไป การที่จะกำหนด Take profit ได้อย่างถูกต้อง ต้องคาดการณ์หรือเห็นความเป็นไปได้ว่าออเดอร์ตรงข้ามเมื่อ position ที่เราเปิดกำไร ทางที่ราคาตลาดวิ่งไปจะมีออเดอร์อื่นเข้ามาต่อเนื่อง และมากพอที่จะเกิดออเดอร์ตรงข้ามที่แต่ละราคาไปได้ง่าย นั่นหมายความว่า ถ้าออเดอร์ทางที่ตลาดวิ่งไปเยอะมากกว่า ออเดอร์ตรงข้ามมากก็จะทำให้ราคาวิ่งไปได้ง่ายและเร็ว หรือถ้าออเดอร์ทางที่ราคาวิ่งไปมากพอที่จะเกิดออเดอร์ตรงข้ามแต่ละจุด หรือเพราะมีออเดอร์ตรงข้ามแต่ละจุดน้อยลงหรือไม่มี ก็จะทำให้ราคาวิ่งผ่านไปง่ายเช่นกัน ทางที่ราคาวิ่งไปถ้ามีออเดอร์ตรงข้ามมากพอหรือเกินออเดอร์ทางที่ตลาดวิ่งไป ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีตัวต้านทาน (resistance) มากพอหรือเปล่า ถ้าราคาเทรดทางไหนคาดหวัง TP ให้ชนเราก็ต้องมั่นใจว่าทางที่ราคาวิ่งไปจนถึง จุดกำหนด TP มีตัวต้านทานน้อยกว่าออเดอร์ที่จะเขามาทางที่เราเปิดเทรด

อะไรทำให้ทางที่ราคาจะวิ่งไปง่าย หรือเรียกว่า path of least resistance


ดูสิ่งที่ชาร์ตเปล่าบอกเราอย่างไรกับเรื่องของทางไปที่ง่ายหรือ path of resistance หลังจากที่ราคาขึ้นมาก็ได้ทำ Higher High ใหม่ และราคามีการย่อตัวลงมาทำให้เรารู้ว่า Supply เกิดที่นี่เมื่อราคากลับมา เพราะราคาดันลงไปได้ เพราะว่ามี Sell orders มากกว่า หลักการทำงานของออเดอร์บอกราคาลงมาหยุดที่ Higher Low มองมาทางช้ายจะเห็นว่าเป็นพื้นที่ราคาเบรคขึ้นไปพอดี ราคาดันกลับขึ้นไปได้อีก บอกว่ามี Buy orders กลับมาเกิน Sell orders อีกรอบ เกิดมี demand ขึ้น เทรดเดอร์ที่รออยู่ด้านบนคิดว่าราคาจะลงอีก ก็มีการเพิ่ม sell limit orders พื้นที่ Higher High เลยทำให้คาดว่าน่าจะกลายมาเป็น Resistance การเพิ่ม sell limit orders เป็นการเพิ่มตัวต้านทานที่พื้นที่ตรงนั้น พอราคาตลาดขึ้นไปถึงออเดอร์ไม่มากพอ จำนวน sell limit orders ที่อยู่ตรงนั้น เลยยืนยันว่าเป็น resistance แต่สิ่งสำคัญไม่ได้แค่ยืนยัน resistance เท่านั้น แต่ sell limit orders ที่เป็นตัวต้านทานใช้ไปด้วย เลยทำให้จำนวนลดลงไป ราคาดันลงมาด้านล่างมาเจอ Demand เทรดเดอร์ที่รอเทรดตามเทรนก็จะหาโอกาสเทรดอีกรอบ ก็จะกำหนด buy limit orders ไว้พื้นที่ตรงนั้นเลยทำให้พื้นที่ตรงนั้นมีตัวต้านทาน ออเดอร์ที่มาจากฝั่งราคาตลาดที่ลงมาไม่มากพอ ก็จะทำให้ราคาตลาดหยุดตรงนั้น ก็จะยืนยันว่าเป็น support ไปในตัวด้วย ขณะเดียวกันราคาเด้งกลับขึ้นไปหาที่เลข 2 สังเกตดูก่อนที่ราคาจะไปถึงเลข 2 ราคาได้ทำ Higher Low ขึ้นไปอีกด้วย หรือแม้กระทั่งไปถึงครั้งที่ 3 ราคาเด้งลงมาก็ทำ Higher Low ขึ้นมาให้อีก ยิ่งถึงรอบที่ 4 จะเห็นว่า Higher Low ขึ้นมาเรื่อยๆ มองกลับไปที่เรื่องออเดอร์ สิ่งที่เป็นตัวต้านทานคือ sell limit orders ยังพอที่จะเป็น resistance ได้ แต่พอมองที่ราคาเด้งออกไม่มี sell market orders มากพอที่จะดันราคาลงไปต่อ (sell limit orders เป็นการเปิดเทรด sell ณ ราคาที่กำหนด ส่วน sell market orders เป็นการเปิดเทรดที่ราคาตลาด ตัวที่ทำให้ราคาหยุดคือ limit order ตัวที่ทำให้ราคาวิ่งคือ market orders) เพราะราคาสามารถทำ Higher Low ขึ้นมาได้เรื่อยๆ ดังนั้น ส่วนแรกที่ทำให้ตัวต้านทานลดลงไปคือ การที่ราคากลับมาพื้นที่นั้นๆ หรือ retracement ก่อนที่ราคาจะไปทางนั้นจริงๆ พอเมื่อราคาวิ่งผ่าน ถ้าตอนที่ออเดอร์ตรงข้ามไม่พอก็จะวิ่งผ่านได้ง่าย เลยเกิด path of least resistance เพราะจำนวน limit orders มีการใช้ไป

มาดูส่วนที่ 2 พอราคาเบรคอะไรเกิดขึ้น มองช่วงที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบ ถือว่าเป็นช่วงสะสมออเดอร์หรือ consolidation ต่างฝ่ายทั้ง sellers และ buyers ก็ได้เข้าตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ positions ที่อยู่ในตลาดทั้ง Long และ Short เทรดเดอร์ที่เปิดเทรด positions พวกนี้ก็จะกำหนด stop loss เข้าประกอบ เช่นถ้าเป็นเทรด Resistance ก็จะกำหนดไว้ด้านบน Resistance หรือถ้าเป็นเทรด Support ก็จะกำหนดไว้ด้านล่าง Support ไม่ห่างมาก หลักการออเดอร์บอกว่า การออกจากตลาดก็เป็น market order ประเภทหนึ่ง และตรงข้ามกับ position ที่ถืออยู่ในตลาด เมื่อราคาเบรคเลข 4 ขึ้นไป ราคาจึงไม่ลงมาอีกเลย ดันขึ้นเป็นหลัก เพราะออเดอร์ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ มาจากการออกที่ออกจากตลาดด้วย และยังมี breakout traders ที่เปิดเทรดตามทางนี้ด้วย

การกำหนด TP ด้วย path of least resistance


จากที่อธิบายมา ราคาก็จะวิ่งไปทางที่ไปง่ายเสมอ หรือมีตัวต้านทานน้อย (least resistance) เลยทำให้ออเดอร์ทาง market price วิ่งไปทางนั้นๆ ด้วยง่ายเพราะโอกาสที่จะเกิดความไม่สมดุลย์ก็จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าราคาไปถึงพื้นที่ที่มีตัวต้านทานมาก เราก็จะกำหนด TP ด้วยการเข้าใจหลักการทำงานออเดอร์แบบนี้ ก็จะกำหนดไว้ก่อนที่พื้นที่มีตัวต้านทานมาก  ข้อดีคือ ความเป็นไปได้สูงที่จะชนทีพี ราคาวิ่งไปทางที่มีตัวต้านทานน้อยเสมอได้ง่าย