กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การเทรด Forex แบบ Swing trading เทรดอย่างไร

  • 0 replies
  • 690 views
การเทรด Forex แบบ Swing trading เทรดอย่างไร
« เมื่อ: 23, มกราคม 2020, 09:02:35 PM »
การเทรด Forex แบบ Swing trading เทรดอย่างไร

การเทรดมีหลายรูปแบบแบ่งตามการถือออเดอร์ที่เปิดเป็นอย่างไร มี Scalp Trading เน้นถือออเดอร์ที่เปิดระยะสั้น Day Trading เป็นการถือออเดอร์ที่เปิดให้จบภายในวัน Swing Trading เป็นการถือออเดอร์ที่เกิดตามจุด Swing เปลี่ยนเทรนถือออเดอร์ที่เปิดและถือรอมากกว่า 1 วัน หรือ Position Trading เทรดถือรอนานอาจเป็นหลายวัน อาทิตย์ หรือเดือน รูปแบบต่างกันออกไปแล้วแต่เทรดเดอร์และการจัดการทุน Swing Trading เป็นกลยุทธ์ที่ขาใหญ่ใช้กันเพราะเป็นการเทรดที่ทำกำไรได้มาก ด้วยความที่เป็นขาใหญ่สามารถปั่นราคาได้ทางที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องดันราคาไปต่อเพื่อให้มากพอที่จะกำไร  เลยทำให้กาเทรดแบบนี้ทำกำไรได้มากสำหรับพวกเขา และราคาไม่ได้เปลี่ยนเทรนง่ายๆ เมื่อวิ่งทางใดทางหนึ่งก็วิ่งไปสักระยะมากพอ ก็หยุดย่อตัวแล้วไปต่อหรือกลับเปลี่ยนเทรน

Swing Trading คืออะไร

นิยามง่ายสุดสำหรับกลยุทธ์ Swing Trading คือ กลยุทธ์การเทรดที่มีการถือออเดอร์ที่เปิดมากกว่า 1 วัน ส่วนมากจะอยู่ที่ 3 วันถึง 3 อาทิตย์ อย่างที่คำว่า Swing บอกความหมาย เทรดเดอร์ก็จะมองหาเงื่อนไขสำหรับเทรดที่น่าจะเกิดการแกว่งขึ้นหรือลง หรือเปลี่ยนขึ้นหรือลง ก็จะเป็นการเทรดที่เห็นว่าเทรนได้จบ การเทรดแบบนี้จะใช้การมองจากชาร์ต D1 เป็นหลัก ก็จะหาเทรนจาก แท่งเทียนตั้งแต่ 3 – 15 แท่งเทียนประมาณนี้ได้เพื่อดูเทรน และกำหนดว่ามีแนวรับ-แนวต้านได้เกิดขึ้นหรือเปล่า  เพื่อดูว่าเป็นเทรนขึ้นหรือเทรนลง จากนั้นก็เริ่มมองหาว่าจะกลับตัวตรงไหน การกลับตัวเป็นไปได้ทั้งแบบย่อตัวแล้วไปต่อหรือ Pullback เปลี่ยนเทรนเลยหรือ Reversal ถ้าเห็นเทรนเปลี่ยนชัดเจน ก็ได้เวลาหาว่าจะเทรดเทรนตรงไหนตามจุด Swing ใหม่ที่เกิดขึ้น จุดประสงค์การเทรดแบบ Swing คือการเข้าเทรด เข้าเทรดตรงที่การเกิดสวนเทรนจะเกิด และเริ่มสวนเทรนจากนั้นก็ถือรอ

ข้อดีของการเทรดแบบ Swing


การเทรดทุกรูปแบบมีข้อดีและข้อเสีย อยู่ที่ว่าเทรดเดอร์เข้าใจว่าจะเทรดแบบนั้นๆ อย่างไรได้หรือเปล่า การเทรดแบบนี้ Swing มีข้อดีหลายอย่างเช่น การเทรดแบบเรื่องของ Risk:Reward จะดีมาก เพราะเป็นการเทรดการเปลี่ยนเทรน ถ้าเทียบสัดส่วนระหว่ง Risk กับ Reward  และเป็นเพราะการเทรดแบบนี้เน้นเทรดชาร์ต D1 เป็นหลักด้วยเพื่อดูความชัดเจนของจุด Swing เลยทำให้ระยะห่าง Risk:Reward มากขึ้นมาด้วย

ข้อดีอีกอย่างของการเทรดแบบ Swing คือ ไม่ต้องมาปวดหัวกับสัญญานหลอกที่เกิดขึ้นใน timeframe ย่อยที่น้อยกว่า D1 ลงมาที่เกิดขึ้นแต่ละวัน การเทรดของท่านจะดีขึ้นป็นแบบเดียวกับขาใหญ่เทรดเพราะเป็นการเทรดจุดเปลี่ยนหลักของเทรน หรือการเทรดแบบนี้ยังช่วยให้ไม่ต้องเฝ้าจอตลอดด้วยเพราะเป็นการเทรดสวิงใหญ่หรือสวิงหลักของเทรน หลังจากที่เห็นว่าเทรนเปลี่ยนและเข้าเทรด ปล่อยให้เป็นเรื่องของเวลาเท่านั้นเอง และอีกอย่างถือว่าเป็นการเทรดที่ใช้อินดิเคเตอร์ช่วยได้ดี เพราะเมื่อเห็นอินดิเคเตอร์ยืนยันที่จุดเปลี่ยนค่อยเปิดเทรด เพราะเรื่องของ Risk:Reward มากพอ

ข้อเสียของการเทรดแบบนี้ก็มีเหมือนการเทรดแบบอื่นๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย อย่างแรกเลยคือเรื่องของ Risk:Rewrd เพราะเป็นการเทรดจุด timeframe ใหญ่เป็นหลัก ระยะห่างของ stop loss ก็จะมากขึ้นด้วย  และการถือออเดอร์ที่เปิดแล้วก็จะหลายวันถึงหลายอาทิตย์ได้ ความอดทนเป็นเรื่องจำเป็นและอดทนรอด้วยความเข้าใจ สิ่งที่ตามมาเมื่อเปิดออเดอร์แล้วถือหลายวันคือเรื่องของค่า swap ข้ามวันก็จะเกิดเป็นต้นทุนได้อีก และยังต้องเจอช่วงช่องว่างของตลาดแต่ละวันอีกที่ขึ้นลง ช่วงราคาทำ swing ย่อยในกรอบที่กำหนดสำหรับเทรด หรือถ้าเทรดโดยไม่ได้รอการยืนยันอาจเจอการตีกลับได้ ทำให้เกิดการสูญเสียได้มากเช่นกันเพราะ trad setup มาจาก timeframe ใหญ่ ดังนั้นควรเทรดเมื่อเห็น price structure ยืนยัน เพราะระยะห่าง Risk:Reward มากพอที่จะทำกำไร

มองชาร์ตเพื่อ Swing Trading อย่างไร


เนื่องจากการเทรด Swing เป็นการเทรดที่จุดเปลี่ยนของเทรนดังนั้น ทูลในการตีความเทรนหรือหลักการอ่าน price chart เช่น swing highs, swing lows เป็นเรื่องจำเป็น เช่นอาจใช้ Bollinger Bands เข้ามาช่วย หรืออาจดู chart patterns ที่บอกเรื่องของ reversal เช่น Head and Shoulders, Flag pattern, Cup and Handdle, Triangle, Double Tops/Bottoms เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการตัดกันกันระหว่างเส้น Moving Average เช่น MA50 กับ MA200 เป็นต้น ได้หมดแล้วแต่วิธีการ technical analysis ที่บอกถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนเทรนหรือ Reversal

อย่างภาพประกอบด้านบนสำหรับการเทรด Swing Trading เปิดชาร์ต D1 ใช้ Bollinger Bands เป็นตัวช่วยกำหนดเทรนและความรู้เรื่องของการพัฒนา Swing ราคาได้ลงมาถึงจุดพื้นที่ Swing ขึ้น และราคาลงมาแต่ตรงส่วน Band ด้านล่างบอกถึง Oversold ตามหลักการเทรดของ Bollinger Bands ขณะเดียวกันราคายังได้ทำ Double Bottoms ที่มี False Break หลอกด้วย ราคากลับขึ้นอย่างเร็วเอาชนะ Lower High ไปทำ Higher High ได้กลายมาเป็นรูปแบบชาร์ตแบบ Head and Shoulders อีก และได้มีการยืนยันด้วย Price Action อีกเพราะ Momentum ได้เอาชนะขึ้นไปเป็นตัวยืนยัน Swing ใหม่ที่น่าจะเกิดขึ้น การเปิดเทรดก็ตามสัดส่วน Risk:Reward
จะเห็นว่าการเทรดแบบ Swing เมื่อมอง price structure จะชัดเจนเพราะเทรดจาก timeframe ใหญ่เป็นหลัก ดังนั้นการกำหนดเรื่องของ stop loss และ take profit เลยมีสัดส่วนมากขึ้นโดยปริยาย ต้องดูว่าสัดส่วนการเทรดไม่ได้โอเวอร์เทรดเพราะช่วงว่างกำหนด stop loss นอกนั้นเป็นเรื่องของเวลาและความอดทน