กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

การดูแลค่าเงิน บาท และการแทรกแทรง ค่าเงิน THB ของ Bank ชาติ THB ธนาคารแห่งประเทศไทย Bank Of Thailand

  • 0 replies
  • 3,735 views
*

admin

  • 80,404
การดูแลค่าเงิน บาท และการแทรกแทรง ค่าเงิน THB ของ Bank ชาติ THB ธนาคารแห่งประเทศไทย Bank Of Thailand




                     ปัญหาค่าเงินบาท ต้องแก้ไขให้ตรงจุด และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://bit.ly/2NE0NGL


เช่นเดียวกับผักหรือผลไม้ ราคาของเงินบาทถูกกำหนดด้วยกลไกตลาด ซึ่งประกอบด้วยความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน)


คนต้องการเงินบาทเพื่ออะไร?

เหตุผลใหญ่คือ ชาวต่างชาติต้องใช้เงินบาทในการซื้อของที่ผลิตในประเทศไทย ท่องเที่ยวในเมืองไทย หรือลงทุนในเมืองไทย เพราะพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยขายของเป็นเงินบาทนั่นเอง* นอกจากนี้อาจมีเหตุผลอื่น เช่น การลงทุนในหุ้นหรือพันธบัตรในเมืองไทย การเก็งกำไรค่าเงิน เป็นต้น

* อาจจะมีผู้ส่งออกบางท่านขายของเป็นเงินสกุลต่างประเทศ แต่เมื่อรับเงินสกุลต่างประเทศมาแล้ว ก็ต้องมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ทั้งแรงงาน วัตถุดิบ ภาษี เป็นต้น



เมื่อชาวต่างชาติต้องการซื้อสินค้าไทยน้อยลง มาท่องเที่ยวน้อยลง หรือไม่ต้องการลงทุนในเมืองไทย ความต้องการเงินบาทก็ลดลงไปด้วย

ทั้งนี้ ความต้องการขายเงินบาท (เพื่อซื้อเงินสกุลต่างประเทศ) เช่น การไปลงทุนในต่างประเทศโดยคนไทย หรือการที่ชาวต่างชาตินำเงินที่มาลงทุนกลับประเทศ ก็ทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้เช่นกัน



ความผันผวนของค่าเงิน ทำให้ผู้ประกอบการทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออก วางแผนการดำเนินงานได้ยาก การดูแลค่าเงิน จึงเป็นหนึ่งในหน้าที่ของแบงก์ชาติ ไม่ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวรวดเร็วเกินกว่าที่ควรจะเป็น




แบงก์ชาติเข้ามาดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป ด้วยการเข้ามาขายเงินบาทเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการซื้อ
(อุปสงค์) ที่เพิ่มขึ้น คล้าย ๆ กับการพิมพ์เงินบาทเพิ่ม โดยเงินสกุลต่างประเทศที่ได้มาจากการขายเงินบาท แบงก์ชาติก็จะเก็บไว้ในกล่องที่เรียกว่า "เงินสำรองระหว่างประเทศ"



แบงก์ชาติเข้ามาดูแลค่าเงินไม่ให้อ่อนค่าเร็วเกินไป ด้วยการเข้ามาซื้อเงินบาทเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการขาย (อุปทาน) ที่เพิ่มขึ้น โดยเงินดอลลาร์ที่นำมาซื้อเงินบาท ก็คือเงินตราต่างประเทศที่อยู่ในกล่อง "เงินสำรองระหว่างประเทศ" นี่เอง

นั่นหมายความว่า ถ้าเงินสำรองระหว่างประเทศเราหมดไป แบงก์ชาติก็ไม่มีเงินที่จะเข้าไปดูแลค่าเงิน (หรือที่เรียกกันว่า "พยุงค่าเงิน") ไม่ให้อ่อนได้อีก ค่าเงินก็จะอ่อนลงอย่างรวดเร็ว ดังที่เกิดในวิกฤตปี 2540 ในทางกลับกัน ถ้าเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ก็ทำให้มั่นใจได้ว่าเหตุการณ์ที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจะเกิดขึ้นได้ยาก


เงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นตัวบ่งชี้ได้ค่อนข้างดีว่าแบงก์ชาติเข้าไปดูแลค่าเงินบาทมากน้อยแค่ไหน

เงินสำรองระหว่างประเทศจะเพิ่มได้ ก็ต่อเมื่อแบงก์ชาติเข้าไปขายเงินบาท และเงินสำรองระหว่างประเทศจะลดได้ ก็ต่อเมื่อแบงก์ชาติเข้าไปซื้อเงินบาท*

ที่ผ่านมา จะเห็นว่าปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง หมายถึงว่า แบงก์ชาติเข้าไปดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไปอย่างใกล้ชิด

*ในความเป็นจริง แบงก์ชาติมีการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ โดยการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น พันธบัตร ทองคำ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของเงินสำรองระหว่างประเทศส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า และผลตอบแทนจากสินทรัพย์เหล่านี้ด้วย


นอกจากการดูแลค่าเงินโดยตรงแล้ว แบงก์ชาติยังทำมาตรการอื่น ๆ เพื่อลดการแข็งค่าของเงิน เช่น การอำนวยความสะดวกให้คนมาขายเงินบาทได้มากขึ้น (เอื้อให้เงินไหลออก) และการลดช่องทางการซื้อเงินบาท (จำกัดการไหลเข้าของเงิน)

มาตรการเอื้อเงินทุนไหลออกคือหนึ่งในมาตรการที่แบงก์ชาติใช้ดูแลค่าเงิน เพื่อชะลอการแข็งค่าซึ่งประกอบด้วย

1) ยกเว้นการนำรายได้จากการส่งออกกลับประเทศ
2) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนโอนเงินออกนอกประเทศได้ง่ายขึ้น
3) ผ่อนเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง
4) สามารถซื้อขายทองคำด้วยสกุลเงินต่างประเทศได้



ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก : Bank of Thailand
https://www.facebook.com/bankofthailandofficial/?tn-str=k*F

"เอาชนะใจตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะไปเอาชนะตลาด"