กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

หลักการใช้ Moving Average ในการเทรด Forex ทำกำไร

  • 0 replies
  • 1,318 views
หลักการใช้ Moving Average ในการเทรด Forex ทำกำไร
« เมื่อ: 07, มกราคม 2020, 10:56:04 PM »
หลักการใช้ Moving Average ในการเทรด Forex ทำกำไร

อินดิเคเตอร์ที่เทรดเดอร์ใช้มากสุดในการช่วยกำหนดเทรน ที่เทรดเดอร์นิยมใช้กันคือ Moving Average หรือเส้น MA บางกลยุทธ์ใช้หลักเส้น MA และดูประกอบหลาย timeframes ด้วย หลักการเบื้องต้น  หรืออาจเป็นการใช้เส้น MA หลายเส้นประกอบกันเช่น MA50 หรือการใช้หลายเส้น MA ประกอบกันเช่น MA 50 + MA 200 หรือ MA 5 + MA10 + MA 20 + MA 50 + MA 100 + MA200 เป็นต้น หลักการทำงาน MA ง่ายๆ เบื้องต้นคือ ถ้าตัวเลขน้อย ยิ่งโต้ตอบราคาเร็ว

หลักการเทรดใช้เส้น MA เพื่อเทรด


เทรดเดอร์จะใช้เส้น MA เพื่อกำหนดเทรนเป็นหลัก ความเร็วผลการโต้ตอบขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำหนดเป็นค่า MA หรือตัวเลขสำหรับค่าราคาเฉลี่ย ยิ่งน้อยยิ่งโต้ตอบเร็ว ดูง่ายๆ ระยะห่างจากแท่งเทียน กรณีที่กำหนดชาร์ตเป็นแบบแท่งเทียน เช่นอย่าง MA 50 ในตัวอย่างด้านบนเลือกเป็น EMA 50 โดยเทรดเดอร์ส่วนมากจะใช้ MA 50 ในการกำหนดเทรนหรือการเทรดตามเทรนเป็นหลัก หลักการเทรดเส้น MA มี 2 อย่างง่ายๆ คือเทรดตอนที่ราคาอยู่ใกล้เส้น เพื่อเทรดตอนที่ราคาดีดตัวออกไป หรือเมื่อราคาได้ห่างจากเส้น MA มากก็หาโอกาสเทรดราคาวิ่งเข้าหาเส้น MA อย่างภาพประกอบเลข 1 และ 3 เป็นโอกาสให้เทรดราคาวิ่งเข้าหาเส้น MA และที่เลข 2 และ 4 ราคาเทสเส้น MA และเทรดตอนราคาวิ่งออกไปจากเส้น การประยุกต์หลักการเทรดแล้วแต่วิธีการที่เทรดเดอร์ใช้ เช่นถ้าเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดเทรนอาจใช้ MA50 ช่วยกำหนดและใช้ Price action บอกเวลาเข้าเทรด

MA50 สำหรับเทรดเทรน


ตัวอย่างแรกในการใช้ MA ช่วยกำหนด trade setup เส้น MA50 ช่วยให้ดูเทรนได้ง่ายหลักการกำหนดเทรนคือ ถ้าราคาเหนือกว่าเส้นถือว่าเป็นเทรนขาขึ้น ให้หาโอกาสเทรดตอนที่ราคากลับมาเทสที่เส้น หรือถ้าราคาต่ำกว่าเส้น ถือว่าเป็นเทรนขาลงให้หาโอกาสตอนราคากลับมาเส้นแล้วเทส วิธีการที่เทรดเดอร์ใช้กำหนด trade setup ประกอบตอนที่ราคามาเทสคือจะดู price action ประกอบ เช่นเห็น pin bar, หรือ engulfing bar ชัดเจน หรือถือว่าตรรกะของการเคลื่อนไหวคือเห็นลักษณะที่บอกว่าราคาเด้งออกอย่างชัดเจนค่อยให้เปิดเทรดตามเทรน แสดงว่าเทรนกำลังจะกลับมาอีกรอบ ในตัวอย่างเป็นการใช้เส้น EMA ค่า 50 ราคาปิด เริ่มที่ราคาตัดเส้น EMA ขึ้นไปบอกว่าเทรนเปลี่ยนเป็นขาขึ้น จุดที่น่าสนใจหรืออาจได้ยินเรียกว่าเป็น เป็น "Potential Area of Value"  ตรงที่วงกลมสีแดง ที่เป็นจุดที่เทรดเดอร์ที่เทรด MA50 เพื่อหาโอกาสเทรดตามเทรน สัญญาณการเปิดเทรดเกิดขึ้นเมื่อเห็นรูปแบบ price action เช่น Hammer, Pin Bar หรือ Engulfing Bar เกิดขึ้นที่บอกว่าราคาได้เด้งออกจากพื้นที่เส้น เป็นสัญญาณที่จะกลับมาทำเทรนอีกรอบ ข้อดีของการเทรดตามเทรนแบบนี้คือสามารถปล่อยให้กำไรยาวได้จนกว่าจะเห็นราคาตัดเส้น MA ลงล่าง การกำหนด stop loss ในที่นี้ยกตัวอย่าง D1 ประกอบ ก็จะหลาย pips แต่ถ้าดูสัดส่วนเรื่อง risk:reward ก็ยังถือว่าน้อย การเปิดเทรดให้เห็นว่าราคาได้ปิดเหนือเส้น MA ให้เห็นในกรณีขาขึ้น ด้วย รูปแบบของ price action ที่ยกมาประกอบค่อยเปิดเทรด หรือให้วิธีการหลาย timeframe เข้ามาประกอบเช่นใช้ MA50 เป็นตัวกรองหรือกำหนดเทรนแล้วใช้ H1 เข้าไปรายละเอียดย่อยเพื่อเข้าเทรด ก็จะเห็นชัดเจนขึ้น

Golden Cross : MA 50 + MA 200

ตัวอย่างที่สอง ที่เป็นกลยุทธ์การเทรดที่เทรดเดอร์ใช้ MA ที่นิยมกันคือการดูการตัดกันระหว่างเส้น MA ประกอบด้วย เช่นกลยุทธ์ที่เรียกว่า Golden Cross เป็นการใช้ 2 ค่า MA คือ 50 และ 200 เพื่อเป็นกำหนดเทรน เพื่อหาโอกาสเทรดทางนั้นๆ ส่วนมากจะเป็นการเทรดตอนราคาย่อตัวกลับมาเทส แล้วเทรดตามเทรน หรือถ้าระยะห่างจากเส้น MA มากพอก็จะหาโอกาสเทรดสวนเทรน อย่างที่กล่าวตอนแรกว่า การเทรดเส้น MA มี 2 แบบ คือเทรดตอนราคาวิ่งออกและเทรดตอนราคาวิ่งเข้าหาเส้น หลักการ Golden Cross คือเมื่อเส้นค่า MA น้อย ในที่นี้คือ 50 ตัดเส้น MA ค่ามากในที่นี้คือ 200 ก็เกิด Golden Cross เป็นตัวกำหนดเทรนเกิดขึ้น และสามารถใช้ได้ทุก timeframe สำหรับหา trade setup แต่ส่วนมากจะใช้กับ timeframe ใหญ่เป็นหลัก เช่น H4 หรือ D1 เพื่อเป็นกลยุทธ์เรื่องของการกำหนดเทรน และใช้ H1 หรือ timeframe ย่อยลงไปเพื่อกำหนด trade setup เพื่อเทรดให้สัมพันธ์กับเทรนที่กำหนดจาก Golden Cross



อย่างภาพด้านบน Golden Cross เกิดขึ้นบอกถึงเรื่องของเทรนที่เกิด โอกาสการเทรด ตามจุดต่างๆ ที่ตีกรอบสีแดง ตอนที่ราคาย่อตัวที่ชาร์ต D1 เป็นเรื่องของการกำหนดเทรนด้วย Golden Cross หลังจากเกิดเป็นตัวกำหนดเทรนใหม่ที่เกิดขึ้น หลายวันต่อมาราคาได้กลับมาทดสอบ ดูอย่างชาร์ตที่ช่วยให้ข้อมูลคือ H4 จะเห็นว่าราคาได้กลับมารูปแบบ Head and Shoulders ที่เกิดขึ้นยิ่งเป็นตัวยืนยันเทรน และสิ่งที่เทรดเดอร์กำลังเทรดโดยเฉพาะขาใหญ่ ชาร์ต H4 หลังจากที่ราคาได้กลับมาเทส Shoulder ด้านขวา ราคายิ่งลงเร็ว จุดอื่นๆ ที่ประกอบในชาร์ต D1 ก็เช่นกัน เมื่อกำหนดเทรนหลักๆ ได้ ก็ง่ายต่อการหา trade setup
จะเห็นว่าการใช้ Moving Average ช่วยในการกำหนดเทรนได้ง่ายว่าทำเทรนหรือวิ่งอยู่ในกรอบ ดูความเอียงของเส้น MA และระยะห่างราคากับเส้น MA ประกอบกันด้วย การเข้าเทรดอย่างที่ยกตัวอย่างมาประกอบ ควรดูเรื่อง price action ที่บอกว่า rejection เป็นตัวยืนยันจะได้รู้ว่าควรเข้าที่ไหนและเวลาไหน และดูเรื่องของการพัฒนาเทรนประกอบด้วย