กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

trading pressure คืออะไร มาทำความรู้จัก Selling pressure และ buying pressure ที่แท่งเทียนกัน

  • 0 replies
  • 1,246 views
trading pressure คืออะไร มาทำความรู้จัก Selling pressure และ buying pressure ที่แท่งเทียนกัน

แท่งเทียนเป็นส่วนสำคัญของการอ่าน price action ที่เกิดขึ้น อ่านบาร์ต่อบาร์แล้วอ่านเป็นภาพใหญ่ขึ้นเป็น price structure แล้วก็อ่านที่เปิดเผยตรงจุดต่างๆ ที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อกำหนดสำหรับ trade setup เข้าเทรดตอนราคากลับมาหา แนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand การอ่านความหมายโดยเฉพาะเรื่องของ trading pressure หรือความกดดันการเทรดจากฝ่ายไหน ที่แท่งเทียนเปิดเผยออกมามีผลต่อการกำหนดความเป็นไปได้สูงแต่ละ trade setup

Trading pressure ต่างจากแท่งเทียน Bullish หรือ Bearish


ส่วนประกอบหลักของแต่ละแท่งเทียนคือ ราคาเปิด ราคาสูง ราคาต่ำ และราคาปิด (Open High Low Close = OHLC) โดยหลักการทั่วๆ ไปก็จะบอกว่า แท่งเทียนบอกถึงการสู้กันระหว่าง Sellers และ Buyers ในช่วงเวลาแต่ละแท่งเทียนที่กำหนด เช่น M30 H1 หรือ H4  ที่บอกว่าข้างไหนชนะตอนจบ ข้างไหนแพ้ ด้วยการเปรียบเทียบเบื้องต้นแค่ราคาเปิดและราคาปิด โดยส่วนความยาวของ Body แท่งเทียน (Body ของแท่งเทียนคือ ระยะห่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด) และส่วนหางของแท่งเทียนหรือ shadow หรือ wick ที่บอกถึง traidng pressure ว่าเป็น selling pressure หรือ buying pressure ว่าอยู่ข้างไหนของแท่งเทียน  ดังนั้นการตีความหมายเรื่อง tradng pressure สำคัญกว่าแค่บอกว่าเป็น Bullish candlestick หรือ Bearish candlestick เพราะราคาบอกว่าตลาดกำลังบอกอะไรอยู่ เพราะราคาไม่รู้จักแท่งเทียน ดังนั้นต้องอ่านแท่งเทียนด้วยการอ่าน trading pressure ประกอบ โดยเฉพาะอ่านต่อเนื่องกัน ก็จะบอกปริบทที่เกิดขึ้นว่าเป็นแบบที่ต้องการเห็นสำหรับ trade setup หรือการเข้าเทรดหรือเปล่า ดังนั้น แท่งเทียนที่เป็น Bullish candlestick มีความหมายเป็น Bearish ได้ หรือในทางกลับกัน แท่งเทียน Bearish candlestick มีความหมายเป็น Bullish ได้

ส่วนสำคัญ trading pressure

ส่วนสำคัญที่บอกถึง trading pressure มาจากขนาดความยาวของแท่งเทียน และส่วนของหางแท่งเทียน เช่นอย่างที่แท่งเทียนเลข 1 เมื่อดูที่แท่งเทียนจะเห็นว่าเป็น Bullish candlestick เพราะราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด แต่ท่านจะว่าขนาดของแท่งเทียนจะยาว แต่ส่วนของ Body คือระยะห่างราคาเปิดและราคาปิดน้อยมาก และยังมีหางบาร์หรือ wick ยาวด้วย แท่งเทียนที่เปิดขึ้นบอกถึงช่วงระยะที่มีการเทรดเกิดขึ้น ท่านจะเห็นว่าแม้ว่าแท่งเทียนนี้เป็น Bullish candlestick แต่พอราคาขึ้นไปทำ High ราคาเจอ resistance และดันราคาลงมามาก เมื่อเทียบสัดส่วนของแท่งเทียน ส่วนของ Body และหาง หางบาร์บอกว่าฝ่ายไหน dominant หรือมีบทบาทสำคัญมากกว่ากัน ดังนั้น Bullish candlestick นี้เมื่อตีความหมายถือว่าเป็นสัญญาณ หรือให้ข้อมูลว่าเป็น Bearish นั่นคือวิธีการบอกถึง trading pressure ที่เกิดขึ้นแต่และแท่งเทียน ดังนั้นการตีความตามตรรกะที่อธิบายมาก็จะเป็นดังนี้

แท่งเทียนเลข 1 – มีหางแท่งเทียนด้านบนยาว บอกว่ามี selling pressure มาก แท่งเทียนนี้หมายความว่า ราคาเปิดและดันขึ้นไปสูง ขึ้นไปได้ด้วย buyers  แต่จากนั้นพอราคาสูงสุดมี sellers เข้ามาและดันราคากลับลงมา

แท่งเทียนเลข 2 – มีหางบาร์ด้านล่างยาว บอกว่ามี buying pressure มาก แท่งเทียนนี้หมายความว่า ฝ่าย sellers ดันราคาลงมา แต่แล้ว buyers เข้ามาและสามารถดันราคากลับขึ้นมาได้

แท่งเทียนที่ 3 ดูข้างที่มีหางสั้นหรือน้อยบ้าง แท่งเทียนนี้บอกถึงมี buying pressure น้อยมาก เมื่อเทียบกับอีกข้าง

แท่งเทียนที่ 4 จะเห็นว่ามีหางบาร์น้อยทางด้านบน บอกถึง selling pressure น้อยมากเช่นกัน


ส่วนความยาวของ Body หรือระยะห่างระหว่างราคาเปิดและราคาปิด ถ้ายิ่งยาวมาก ยิ่งบอกถึง momentum หรือการเทรดทางใดทางหนึ่งทางที่ราคาปิดได้ ส่วนขนาด Body ที่สั้นบอกถึงการเคลื่อนไหวราคาไม่ห่างกันมาก เลยบอกถึง buying หรือ selling pressure ที่น้อยกว่า บอกถึง momentum ที่ลดลง

การใช้ trading pressure กับการเทรด

จากที่อธิบายมาเป็นการมองจากแท่งเทียนเดียวเป็นหลัก แต่การอ่านหลายๆ บาร์ประกอบกันสำคัญกว่า เพราะบอกถึงว่าการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็น bullish หรือ bearish แข็งหรืออ่อนขนาดไหน มากพอที่จะดันทางทางนั้นๆ หรือเปล่า เพราะการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการอ่านแท่งเทียนต่อเนื่องกัน บอกถึงว่า Bull หรือ Bear เป็นอย่างไร  หรือบอกถึง Momentum ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรนั่นเอง อย่างแรกที่เห็นการใช้ traidng pressure ในการเทรดคือการเทรดที่จุดแนวรับ-แนวต้าน หรือ supply/demand เมื่อราคากลับมาหลังบอกว่าราคาเกิด trading pressure ทางที่เป็น key level นั้นๆ หรือเปล่า ยิ่ง trading pressure มากยิ่งเป็นสัญญาณที่สนับสนุนในการเปิดเทรด


อย่างภาพประกอบจะเห็นว่าราคาวิ่งเข้าหา resistance ด้านบน ดูตรงที่ลูกศรสีแดง ขนาดแท่งเทียนสั้น บอกถึง momentum ที่ลดลงไปเพราะราคาวิ่งเข้าหาแนวต้านที่บอกว่ามีการกำหนด sell limit orders ไว้ตามขั้นตอนเพื่อหยุด หรือชะลอ momentum ที่เกิดขึ้น อาจเห็นแท่งเทียนยาวๆ ที่เบรคขึ้นไปหา resistance เป็นเรื่องของการเร่งราคาขึ้นไปเพื่อ liquidiy ที่ต้องการเข้าเทรดด้านบน หลักการพื้นๆ ถ้ามองจากรูปแบบในการเทรด พวกแนวรับ-แนวต้านเมื่อเห็นราคาเด้งออกจากแรงๆ จากพื้นที่พวกนั้นบอกว่า trading pressure เกิดขึ้นสัมพันธ์กับแนวรับ-แนวต้าน เช่นอย่างด้านบนราคาวิ่งไปหา แนวต้าน ราคาเด้งที่เห็นจุดๆ ที่สะท้อน selling pressure ชัดเจน 2 แท่งเทียนที่พื้นที่เดียวกัน หลังจากที่ราคาขึ้นไปบอก momentum ทางด้าน buy ลดลงด้วย จะเห็นว่าพอราคาได้เบรคลงมาที่เอาชนะแนวรับใกล้ เลยเกิดสัญญาณในการเปิดเทรด sell ที่ชัดเจนทันที จะเห็นว่าการอ่านแท่งเทียนหา trading pressure เพื่อประกอบการเทรด อย่างกรณีที่ยกมา ต้องดูโครงสร้างและปริบทประกอบ ค่อยจะตีความหมายของการเคลื่อนไหวของราคาได้แม่น ไม่ใช่แค่อ่านความหมายจากแท่งเทียนเดียว  เพราะการอ่านแท่งเทียนอย่างเดียว อาจตีความหมายผิดได้ นำไปสู่การเทรดผิดทางได้ เพราะ trading pressure ที่เกิดตรงส่วนที่หางแท่งเทียนหรือ wick ต้องไม่ลืมว่านอกจาก trading pressure ที่เกิดขึ้น ยังเป็นการลด Limit orders ที่พื้นที่ที่เกิดหางแท่งเทียนหรือ trading pressure ด้วย เลยต้องใช้ trading pressure ให้เป็นว่าตีความเป็น trading pressure เพื่อเทรดกับการ Key levels  หรือการซึมซับออเดอร์ แล้วไปต่อทางที่เกิดหางแท่งเทียนได้ง่าย


ตัวอย่าง ดูจุดแรก ถ้าตีความจากแท่งเทียนอย่างเดียวว่าเป็น selling pressure จะพลาดได้ ดูแท่งเทียนต่อมา ไม่ได้สนับสนุนการเคลื่อนไหว แม้ว่าตรงส่วนของ Body แท่งเทียนก่อนเกิดจะสั้นและต่อเนื่องกัน บอกถึง Momentum ที่ลดลงไป แต่ขณะเดียวกัน บอกว่า sellers ไม่สามารถดันลงมาได้ด้วยบอกถึง weakness ของฝ่ายนั้น
นี่คือการการตีความ trading pressure จากแท่งเทียนสำคัญต่อการเทรดอย่างไร สำคัญต้องอ่านปริบทหรือแท่งเทียนต่อเนื่องกัน และให้เข้ากับโครงสร้างที่ต้องการเปิดเทรด เพราะการอ่านต่อเนื่องกันบอกถึงการเคลื่อนไหวของฝ่าย sellers หรือฝ่าย buyers เป็นอย่างไร บอกถึง momentum ที่เกิดขึ้นว่ามากหรือลดลง เมื่อเกิด trading pressure ที่จุดที่คาด เช่น แนวรับ-แนวต้าน ว่าสัมพันธ์กันหมดหรือเปล่า