กองทุน SPDR GOLD SHARES
ถือทองก่อนหน้า
ถือทองล่าสุด
0.00
*หน่วยตัน / ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
สถิติกองทุน SPDR
ราคาทองคำแท่ง 96.5%
ราคาอ้างอิงล่าสุดจากสมาคมค้าทองคำ
ครั้งที่
ราคาก่อนหน้า
ราคาล่าสุด
0
(หน่วย บาท*) / อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 เวลา 13:04 น.
สถิติราคาทองคำ ไทย

เทรดทอง Forex Gold Forex โบรกเกอร์ไหนสเปรดถูกที่สุด เปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆที่นี่

  • 0 replies
  • 1,751 views
เทรดทอง Forex Gold Forex โบรกเกอร์ไหนสเปรดถูกที่สุด เปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆที่นี่

ทองเป็นสินค้าที่เทรดเดอร์นิยมเทรดกันมาก มีเหตุผลหลายๆ อย่างที่ดึงดูงให้เทรดเดอร์อยากเทรดทอง เช่น ค่าตอบแทนต่อ pips (pip value) ก็จะมากกว่าการเทรดคู่เงิน การเคลื่อนไหวขึ้นหรือลงที่มากกว่าทำให้ราคาเคลื่อนทีละหลาย pips  เช่นแท่งเทียนจาก H1 หรือ H4 เมื่อเทียบกันระหว่างของค่าเงินกับทองจะต่างกันเยอะมาก  ทำให้การทำกำไรและการสูญเสียเป็นผลได้เร็ว เช่นเมื่อเปิดเทรดทอง ถ้าราคาวิ่งสวนไม่กี่ pips ก็เจอ stop loss แต่ถ้าวิ่งเข้าทางที่เปิดก็ทำให้ทำกำไรได้เยอะ ทำให้เรื่องของ pips ที่กำหนดต่อ risk:reward มากและเกิดขึ้นได้เร็ว และมีการเรียกใช้มาร์จิ้นพอๆ กับค่าเงินหลัก เลยเอื้อต่อเงื่อนไขในการเทรดมาก เพราะจะได้เรื่องความเร็วและการเคลื่อนที่เร็วกว่าฟอเรกเมื่อเทียบสัดส่วนแท่งเทียน การที่จะรู้ว่าเทรดทองที่โบรกเกอร์ไหนดี ต้องเข้าใจว่าวิธีการที่โบรกเกอร์กำหนดต้นทุนการเทรดมีที่ตรงไหนบ้างก่อน แล้วจะได้เลือกโบรกเกอร์ได้ถูกต้องกับรูปแบบการเทรดของตัวเอง

รู้ว่าต้นทุนเทรดทองอยู่ตรงไหนบ้าง ก่อนที่จะเลือกโบรกเกอร์


ก่อนที่จะบอกว่าเทรดทองโบรกเกอร์ไหนดี ต้องรู้ทันว่าในการเทรดโบรกเกอร์คิดต้นทุนแบบไหนบ้าง เนื่องจากเป็นต้นทุนที่เทรดเดอร์ต้องจ่ายให้โบรกเกอร์เพราะเป็นรายได้ของโบรกเกอร์ ตัวแปรแรกที่ต้องดูคือขนาดเทรดหรือ Contract size หากดูใน Metatrader ท่านจะเห็นว่าเท่ากับ 100 จะดูเทียบกับโบรกเกอร์อื่นที่ contract size เท่ากันสัก 4-5 โบรกเกอร์ ที่จะเป็นตัวกำหนดจำนวนการเทรดหรือล็อตมีผลโดยตรงต่อต้นทุน และต้นทุนการเทรดก็จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบต่อการเทรด หรือ trading transaction (การเปิดเทรด แต่ละออเดอร์ที่เปิดนับเป็น 2 transactions อย่างแรกเปิดหรือเข้าตลาด อย่างที่สองสำหรับออกจากตลาด อาจเป็นการปิดเองหรือ take profit หรือ stop loss ก็ได้ ดังนั้นท่านอาจเห็นประจำที่บางโบรกเกอร์เวลาบอกค่าคอมมิชชั่นการเทรดจะใช้คำว่า ต่อข้างต่อล็อต – per side per lot เช่นถ้าโบรกเกอร์ไหนเขียนบอกว่า ค่าคอมมิชชั่นที่ 3.5$ per side per lot  นั่นคือถ้าเปิดเทรด 1.00 ล็อตหรือ 1000 ดอลลาร์ ต้นทุนการเทรดอยู่ที่ 7 ดอลลาร์) และต้นทุนการเทรดที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างคือค่า SWAP หรือการถือออเดอรที่เปิดข้ามวันแต่ละวัน และยิ่งถ้าเป็นวัน 3-days swap (ส่วนมากก็จะเป็นคืนวันพุธ วิธีการเลี่ยงต้นทุนการเทรดส่วนนี้คือแนะนำให้เปิดเทรดวันพฤหัส ถ้าถือข้ามหลายวันก็ปิดอย่าให้เกิดคืนวันพุธ) ก็จะคูณ 3 เข้าไปอีก ถ้าบัญชีที่เปิดไม่ใช่แบบ SWAP-FREE (บัญชีประเภทนี้สำหรับเทรดเดอร์ที่นับถือศาสนาอิสลาม)  แต่ละโบรกเกอร์ก็จะกำหนดต้นทุน 2 ส่วนนี้ต่างกันออกไป

เช่นอย่างภาพประกอบในการคิดต้นทุนทอง ยกตัวอย่างของ XM บัญชีเทรดแบบ Ulta Low Standard ที่การเทรด 1 ล็อตเท่ากับ 100,000 การเปิดออเดอร์เป็นการเปิดเมื่อวันที่ 20 (2019.11.20) ซึ่งเป็นวันพุธ ท่านจะเห็นว่าในส่วนต้นทุนเกี่ยวกับค่า SWAP ตามที่แสดงประกอบ ถ้าเปิด Long (เปิดเทรด Buy) ล็อต 1.00 ท่านต้องเสียค่า SWAP คืนละ -13.4 ดอลลาร์ แต่ถ้าเปิด Sell หรือ (Short) ท่านก็จะได้กำไรจากส่วนนี้ด้วย 1.37 แต่พอถือข้ามคืนแล้วรุ่งขึ้นเป็นวันพฤหัส ท่านต้องบวกส่วนที่เป็น 3-days swap เข้าไปอีก ท่านก็เอา 13.4*3 = 40.2 พอดี ถ้าท่านเปิดเทรดล็อตน้อยลงไป ก็คำนวณตามสัดส่วนว่าต่างจากล็อต 1.00 มาตรฐานเท่าไร (ต้นทุนที่เกิดจาก 3-days SWAP) ต้องดูให้ดีกับ positions ที่ท่านถือค้างอยู่ เช่นอย่างกรณีท่านเปิดวันพุธ แนะนำให้ท่านรีบปิดก่อนจบวัน ไม่งั้นจะเจอค่า SWAP มากแบบที่ยกตัวอย่างมาประกอบ หลักการก็แบบเดียวกันทุกโบรกเกอร์

ตัวอย่างต้นทุนเทรดทอง


เมื่อท่านเข้าใจว่าเงื่อนไขใดที่ทำให้เกิดต้นทุนการเทรดแล้ว และเข้าใจว่าทำไมเทรดเดอร์จึงนิยมเทรดทองกัน นอกจากเรื่อง swap ถ้าบัญชีที่เปิดไม่ใช่ SWAP-FREE ท่านต้องเปิดดูเงื่อนไขตรงนี้ก่อน เผื่อถ้ามีการถือออเดอร์ที่เปิดหลายวัน ส่วนต้นทุนการเทรดแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ 1. แบบไม่มีค่าคอมมิชชั่น (แบบนี้ต้นทุนการเทรดจะรวมอยู่ที่สเปรดที่เดียว) บัญชีที่ยกตัวอย่างมาประกอบ เป็นแบบต้นทุนการเทรดอยู่ที่สเปรดทั้งหมด มีบัญชี XM Ulta Low, Exness Mini, IC Market Standard และ Pepperstone (ทุกโบรกเกอร์ที่ยกมาสามารถฝากถอนผ่านธนาคารไทยออนไลน์ได้หมด)  ดูตรงส่วนที่ต่างกันที่ลูกศรคือ Margin currency สำหรับเรียกมาร์จิ้น  ในส่วนของ Exness ผมได้เช็คทางกับหน้าเว็บเพราะสังเกตุว่าตัวเลขมากเกินไปจากโบรกเกอร์อื่นก็ได้รายละเอียดดังนี้


จากข้อมูลที่ดูจาก symbol specification ของแต่ละโบรกเกอร์และวิธีการคิดต้นทุน ก็จะมองออกว่าเป็นอย่างไร และตัวแปรอีกอย่างที่ต้องดูประกอบคือสเปรด ถ้าท่านมองกลับไปส่วนที่เป็นสเปรด ทุกโบรกเกอร์ที่ยกตัวอย่างมาประกอบใช้วิธีการเป็นแบบ Floating คือลอยตัว การกำหนดสเปรดแบบนี้จะดูว่าแต่ละโบรกเกอร์เริ่มต้นที่เท่าไร หลักการคือดูหลักทศนิยมที่ราคาทองว่ากี่จุด ท่านจะเห็นว่าที่ Exness อ้างราคาทองเป็น 3 จุด ส่วนโบรกเกอร์อื่นก็จะอ้างราคาทองเป็นแบบ 2 จุด (ก็เอา 10 หารจุดทศนิยมที่อ้าง 3 จุดของ Exness ก็จะได้เท่ากับโบรกเกอร์อื่น) การผันผวนของสเปรดว่าจะถ่างจากจุดเริ่มต้นมากหรือเปล่า ให้ดูจากเรื่องของ volatility เป็นหลัก เช่นช่วงมีข่าวแรงๆ ที่กระทบกับทองดูว่าโบรกเกอร์ไหนถ่างมาก-น้อยกว่ากัน

1.   โบรกเกอร์ XM บัญชีเทรด XM Ulta Low ตามข้อมูลที่เว็บสำหรับทอง (ใช้ชื่อสำหรับเทรดว่า GOLD#) สเปรดต่ำสุดเริ่มที่ 0.2 ถ้าดูเป็น points ในส่วนของ spread ใน Market Watch ก็จะเห็นเริ่มที่ 20 เช่นถ้าเปิดเทรดล็อต 1.00 หรือ 1000 ดอลลาร์ ท่านจะติดลบทันทีเริ่มต้นตั้งแต่ 20 ดอลลาร์

2.   โบรกเกอร์ Exness บัญชีเทรด Exness Mini ตามข้อมูลที่เว็บสเปรดอยู่ที่ 26-28 ถ้าดูเป็น points ในส่วนของ spread ใน Market Watch ก็จะเห็นเป็น 260-280 ถ้าเปิดเทรดล็อต 1.00 หรือ 1000 ดอลลาร์ ท่านจะติดลบทันทีเริ่มต้นตั้งแต่ 26 ดอลลาร์


3.   โบรกเกอร์ IC Markets บัญชีเทรด IC Markets Standard  ตามข้อมูลที่เว็บสเปรดอยู่ที่ 1.0-2.0 ถ้าดูเป็น points ในส่วนของ spread ใน Market Watch ก็จะเห็นเป็น 10-20 ถ้าเปิดเทรดล็อต 1.00 หรือ 1000 ดอลลาร์ ท่านจะติดลบทันทีเริ่มต้นตั้งแต่ 10 ดอลลาร์

4.   โบรกเกอร์ Pepperstone บัญชีเทรด Pepperstone Standard  ตามข้อมูลสเปรดที่เว็บเห็นแต่บัญชีแบบ Razro แต่เมื่อเปิดบัญชีจริงแบบ Standard สเปรดก็จะพอๆ กับทางโบรกเกอร์ IC Markets ดังนั้นถ้าเปิดเทรดล็อต 1.00 หรือ 1000 ดอลลาร์ ท่านจะติดลบทันทีเริ่มต้นตั้งแต่ 10 ดอลลาร์

จะเห็นว่าต้นทุนแบบที่เกิดทุกการเทรดหรือ trading transaction เป็นต้นทุนที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อมีการเปิดเทรด ส่วนต้นทุนที่มาจากเรื่องของ SWAP ถ้าบัญชีที่เปิดไม่ใช้แบบ SWAP-Free และการเปิดเทรดของท่านมีการถือออเดอร์ข้ามวันด้วยก็จะเกิดขึ้นมาอีก แต่เป็นต้นทุนที่ท่านสามารถไม่ให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการอย่าปล่อยออเดอร์ที่เปิดให้ข้ามวัน เพราะต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นทุกวัน และยิ่งเป็นคืนวันพุธถ้าท่านปล่อยออเดอร์ที่เปิดลากข้ามวัน ท่านจะเจอ 3-days SWAP เข้าไปอีกตามที่อธิบายมาด้านบน

นี่คือการคิดต้นทุนการเทรดทอง ซึ่งท่านจะเลือกได้ว่าโบรกเกอร์ไหนที่เทรดทองดี ท่านก็จะรู้ว่าเทรดที่โบรกเกอร์ไหนต้นทุนการเทรดจะถูกกว่ากัน และนำมาประยุกต์เข้ากับรูปแบบการเทรดของท่าน  อย่างที่บอกว่าการเทรดทองมีข้อดีหลายๆอย่าง พูดแบบที่ง่ายสุดคือ pip value มากกว่าผลการเทรดค่าเงินและ pips ที่เกิดต่อการเคลื่อนไหวเยอะและเร็ว สัดส่วนของ risk:reward มีตัวคูณหลายเท่ากว่าการเทรดค่าเงิน เทรดเดอร์หลายๆ ท่านที่เทรดแนวโอเวอร์เทรดก็จะเห็นโอกาสนี้ และใช้ leverage ในการเข้าเทรด แต่การสูญเสียเท่าที่กำหนดไว้ เพราะการเทรดทองคิดสัดส่วนเรื่อง leverage แบบเดียวกันกับค่าเงิน ไม่ได้กระทบเหมือนท่านไปเทรดพวกดรรชี หรือเทรดพวกหุ้น (เพราะสินค้าประเภทนี้จะมีการเรียก leverage สูง) ที่จะมีการปรับ leverage ของท่านแบบอัตโนมัติเมื่อท่านเทรดสินค้าพวกดรรชนีหรือหุ้น